วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีสากลนั้นสามารถแบ่งประเภทหลักได้ 4 ประเภท ดังนี้

1. เครื่องสาย
- เครื่องดีด
- เครื่องสี

2. เครื่องสี

3. เครื่องเป่า
-เครื่องเป่าลมไม้
-เครื่องเป่าโลหะ

4. เครื่องดนตรีประเภทตี
-เครื่องดนตรีมีระดับเสียงแน่นอน
-เครื่องดนตรีมีระดับเสียงไม่แน่นอน

ประเภทของเสียง


ประเภทของเครื่องดนตรีไทย


ประเภทเครื่องดนตรีสากล










วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สัญญาณอันตรายบ่งบอกโรคไต

ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานตลอดเวลา การที่ปัสสาวะได้ตามปกติไม่ได้หมายความว่าไตทำงานดีเสมอไป เพราะไตยังมีหน้าที่อื่น ๆ อีกนอกเหนือไปจากการขับน้ำ ซึ่งการตรวจร่างกายประจำปีเท่านั้นจึงจะรู้ได้ว่าไตผิดปกติหรือไม่

ผู้ป่วยโรคไตระยะต้น ๆ นั้นมักจะไม่มีอาการ แต่จะทราบก็ต่อเมื่อตรวจเลือดหรือปัสสาวะ ดังนั้น จึงควรพบหมอเพื่อตรวจร่างกายประจำปี แต่สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไตควรได้รับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ ตามคำแนะนำของหมอที่ดูแล

โรคไตเรื้อรังจะเริ่มแสดงอาการเมื่อมีของเสียคั่งในเลือดมากแล้วซึ่งแสดงว่าไตทำงานผิดปกติมากพอควร จึงควรไปรับการตรวจรักษาแต่เนิ่น ๆ เพราะโรคไตบางโรคบางโรคอาจรักษาให้หายขาดหรือทำให้ไตทำงานคงที่ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งการล้างไตได้ แต่แน่นอน ถ้าเป็นโรคไตรุนแรงแล้ว การรักษาจะชะลอการเสื่อมของไตได้เท่านั้น มีบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมาตรวจเมื่อไตหยุดทำงานแล้ว ทั้งที่มีอาการมานานแล้วจึงน่าเสียดายที่จะต้องรักษาด้วยการล้างไตเท่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ดังนั้น ควรระแวดระวังและไปตรวจเพิ่มเติมเมื่อมีอาการบางอย่างที่บ่งบอกถึงโรคไต แต่ก่อนอื่นต้องทราบเบื้องต้นว่าอาการแต่ละอย่างไม่ได้จำเพาะต่อโรคไตโรคหนึ่งและในทางกลับกันโรคหนึ่งโรคก็มีอาการได้หลายอย่าง ดังนั้น อาการที่จะกล่าวถึงต่อไปเป็นเพียงสิ่งที่บอกว่าอาจมีโรคไตและจำเป็นต้องมาตรวจเพิ่มเติมเสมอเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การติดต่อของโรควัณโรค

สามารถแพร่กระจายจากปอดของผู้ป่วยวัณโรค ทางละอองเสมหะเมื่อ ไอ จาม โดยไม่ใช้ผ้าปิดปาก

วัณโรค คือ

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ มัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส Mycobacterium tuberculosis หรือ ทีบี (TB)

วันโรคเป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เช่น ปอด ลำไส้ ไต กระดูก ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง และเยื้อหุ้มสมอง

วัณโรคที่พบบ่อย และเป็นปัญหา คือ วัณโรคปอด

วัณโรคสามารถรักษาหายได้ โดยการกินยาทุกวันอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 - 8 เดือน

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เอชไอวีหรือเอดส์ คืออะไร?


  • เอช ไอ วี เป็นโรคติดต่อที่สำคัญยิ่งในประเทศของเรา

  • เอช ไอ วี เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัส คนที่ติดเชื้อเอช ไอ วี ในช่วงปีแรกยังมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย แต่คนที่ติดเชื้อนานหลายปีจะเริ่มมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีเชื้อราในปาก มีไข้ ท้องเสีย ตุ่มคันบริเวณผิวหนัง เป็นต้น เมื่อเขาเจ็บป่วยมาก ๆ เราจะเรียกคนที่ติดเชื้อเอช ไอ วี ว่า เอดส์ "เอดส์" หมายถึง คนที่ติดเชื้อเอช ไว วี ที่มีอาการรุนแรงมาก
  • คนติดเชื้อเอช ไอ วี ได้โดยการร่วมเพศกับคนที่ไม่รู้ว่าติดเอช ไอ วี หรือไม่ หรือมีการร่วมเพศโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
  • การติดยาเสพติดชนิดฉีดเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้คนติดเชื้อเอช ไอ วี เพราะใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • เด็กได้รับเชื้อเอช ไอ วี จากแม่ได้ โดยแม่จะแพร่เชื้อไวรัสให้ลูกขณะท้อง โดยเฉพาะในช่วงคลอดลูก หรือในช่วงให้นมแม่แก่ลูก

วัณโรค คืออะไร?

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า และติดต่อกันได้โดยการหายใจเอาหยดฝอยเสมหะขนาดเล็ก ที่พาเอาเชื้อวัณโรคออกมาโดยการไอ จาม พูดดัง ๆ หรือร้องเพลงของผู้ป่วยที่มีแผลวัณโรคปอด โดยหยดฝอยเสมหะที่มีเชื้อวัณโรคนี้ เมื่อแห้งจะลอยอยู่ในอากาศได้นานเป็นชั่วโมง ทั้งนี้เนื่องจากตัวเชื้อโรคเคลื่อนไหวด้วยตัวเองไม่ได้ และไม่ออกมากับลมหายใจผู้ป่วยที่หายใจตามปกติอยู่ได้

คนที่ป่วยเป็นโรควัณโรคส่วนใหญ่มีอาการเหล่านี้
  • ไอ ติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์
  • มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน
  • มีไข้
  • ไอเลือดออก
  • เบื่ออาหาร (น้ำหนักลด)
  • อ่อนเพลีย

หากมีอาการไอนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรรีบหาหมอเพื่อรักษา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก

ถ้าคนที่เจ็บป่วยด้วยวัณโรคกินยาให้ครบถ้วนสม่ำเสมอ จึงจะหายจากวัณโรค

ดังนั้น การมาหาหมอเพื่อรักษาเร็วเท่าไร ยิ่งทำให้ผลการรักษาดีขึ้น

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง

  1. ลดอาหารเค็ม ของหมักดอง
  2. ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) โดยการรับประทานผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น งดของหวาน มัน ของทอด แป้ง
  3. งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา
  4. ทำให้จิตใจให้เบิกบานแจ่มใสอยู่เสมอ
  5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  6. ออกกำลังกายเป็นประจำ
  7. รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  8. หมั่นสังเกตอาการตนเอง วัดความดันโลหิตเป็นประจำ และมาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง
  9. เมื่อมีอาการผิดปกติ ควรมาพบแพทย์

อันตรายของโรคความดันโลหิตสูง

หลอดเลือดแดง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ สมอง ไต โดยทำให้ผนังด้านในหนา แข็งตัว ขาดความยืดหยุ่น ขรุขระ ผนังหลอดเลือดไม่แข็งแรงโปร่งแตกง่าย

หัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้เกิดโรคหัวใจโต

สมอง ความดันโลหิตสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดหนา ขรุขระ ตีบแคบ เลือดผ่านไม่สะดวกเกิดภาวะหลอดเลือดแดงอุดตันหรือหลอดเลือดแดงในสมองแตก ซึ่งทำให้เป็นโรคอัมพาต อัมพาตแบบชั่วคราว, อัมพาตแบบถาวร หรือถึงแก่ความตายได้

ไต ผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตจะหนาแข็ง รูบตีบแคบ ขรุขระ เลือดเลี้ยงไตไม่พอ ทำให้โตมีขนาดเล็กลง หรือฝ่อลงเสื่อมสมรรถภาพการทำงาน จนเกิดภาวะไตวาย

จอตา เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงตา ทำให้สายตาเสียหรือตาบอด

การป้องกันความดันโลหิดสูง

โรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ แต่ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดโรค เป็นวิธีที่เราสามารถป้องกันได้ ดังนี้
  • ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน
  • ไม่รับประทานอาหารเค็มจัด
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนไห้เพียงพอ
  • ลดความเครียดความกังวลทำให้จิตใจแจ่มใส
  • งดสูบบุหรี่ งดการดื่มสุรา

ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้หรือผู้ที่มีอายุ 40 ขึ้นไป ควรได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 3 เดือนครั้ง

ผู้ใดบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง

  1. ผู้ที่มีประวัติความดันโลหิตสูงในครอบครัว เช่น บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น
  2. ผู้ที่อ้วน, น้ำหนักตัวมาก
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิดมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เช่น โรคเบาหวาน, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคไต
  4. ผู้ที่เครียดมาก คิดมากก็อาจจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงในระยะต่อมา
  5. ผู้ที่สูบบุหรี่

ความดันโลหิตสูง

ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่ หัวใจบีบตัวเป็นจังหวะ เพื่อให้เลือดที่อยู่ในหัวใจและหลอดเลือด ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

แรงดันที่เกิดขึ้น เมื่อหัวใจบีบตัวจะเป็นแรงดันอันหนึ่งเป็นค่าสูง และเมื่อหัวใจคลายตัวจะได้แรงดันอีกอันหนึ่งเป็นค่าต่ำ

ความดันโลหิตของคนปกติ จะไม่เกิน 140/90 มม.ปรอท ถ้าสูงกว่านี้จะถือว่าเป็นความดันโลหิตสูง

วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553

น้ำเขียวทำง่ายเลี้ยงปลาได้โตไว

น้ำเขียวหาได้ที่ไหน

น้ำเขียวหาได้ 2 วิธีคือ
  1. หาได้จากบ่อธรรมชาติที่เลี้ยงสัตว์ทั่วไป เช่น บ่อเลี้ยงหมู บ่อเลี้ยงไก่
  2. ติดต่อได้ที่สถานีประมงทั่วไป พร้อมทั้งคำแนะนำต่าง ๆ

น้ำเขียวทำง่ายเลี้ยงปลาได้โตไว

น้ำเขียวเกิดขึ้นได้อย่างไร

แสงแดด แร่ธาตุ ปุ๋ยที่ใส่ลงในบ่อน้ำจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีละลายในน้ำ แพลงก์ตอนพืชจะนำเอาอาหารเหล่านี้ไปใช้โดยเฉพาะพวกพืชที่มีสีเขียว จะสร้างอาหารได้เองโดยขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งมีปฏิกริยาผลิตออกซิเจนออกมา ส่วนแพลงก์ตอนสัตว์ ต้องอาศัยอาหารจากแพลงก์ตอนพืช ทำให้ในบ่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์ สภาพแวดล้อมดีขึ้น ปลาเติบโตได้ดี

น้ำเขียวทำง่ายเลี้ยงปลาได้โตไว

น้ำเขียว

น้ำเขียว คือ น้ำที่ประกอบด้วยพืชสีเขียวขนาดเล็ก หรือแพลงก์ตอนพืช เป็นอาหารธรรมชาติเบื้องต้นที่จำเป็นของแพลงก์ตอนสัตว์ ซึ่งเป็นอาหารของลูกปลาวัยอ่อน น้ำเขียวช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ทำให้ลูกปลาได้รับออกซิเจนเพียงพอ ลดปัญหาปลาเป็นโรค ทำให้ปลาโตเร็วประหยัดต้นทุนในการเลี้ยงปลา

อาหารกับการควบคุมเบาหวาน

การควบคุมเบาหวานถึงแม้จะมีการรักษาด้วยยาแล้วก็ตาม ยังจำเป็นต้องควบคุมอาหารร่วมด้วย การควบคุมอาหาร คือ การที่รู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนอย่างสมดุล จะช่วยป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาภายหลังได้
  1. อาหารที่รับประทานได้โดยไม่จำกัด ได้แก่ ผัก ประเภทที่มีใยมาก เช่น ผักกาดขาว ผักบุ้งไทย ผักขม แตงกวา บวบ ตำลึง สายบัว กะหล่ำปลี
  2. อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องจำกัดปริมาณ ได้แก่ อาหารประเภทข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว อาหารที่มีไขมันมาก เนื้อสัตว์ติดมัน
  3. อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรงด ได้แก่ น้ำตาลทุกชนิด น้ำหวาน น้ำอัดลม นมปรุงแต่งรส แยม ผลไม้บรรจุกระป๋อง ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน ขนมหวานทุกชนิด เครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์

อาการสำคัญที่พบบ่อยในโรคเบาหวาน

  • ปัสสาวะบ่อย และมีปริมาณน้ำปัสสาวะมาก ถ้าตั้งทิ้งไว้อาจมีมดขึ้น
  • คอแห้ง กระหายน้ำ และดื่มน้ำมาก เป็นผลจากการที่ร่างกายเสียน้ำไปจากการปัสสาวะบ่อยและมาก ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำจึงต้องชดเชยด้วยการดื่มน้ำบ่อย ๆ
  • หิวน้ำบ่อยและรับประทานจุ เนื่องจากร่างกายขาดพลังงาน จึงทำให้รู้สึกหิวบ่อย และรับประทานจุ
  • น้ำหนักลด ผอมลง อ่อนเพลีย
  • คันตามผิวหนังและอวัยวะสืบพันธุ์

ผู้ที่มีอาการบางอย่างดังกล่าว ควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดให้แน่ใจว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ สำหรับบุคคลทั่วไปก็ควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกปี

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

สาเหตุและโอกาสที่ทำให้เป็นเบาหวาน

เบาหวาน สามารถสืบทอดทางกรรมพันธุ์ได้ นอกจากนี้ ยังพบว่า มีอีกหลายปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดเบาหวานได้หลายประการ เช่น


  • ความอ้วน เนื่องจากในคนอ้วน เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย มีการตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินลดน้อยลง อินซูลินจึงไม่สามารถพาน้ำตาลเข้าไปในเนื้อเยื่อได้ดีเช่นเดิม จึงมีน้ำตาลส่วนเกินอยู่ในกระแสเลือด
  • สูงอายุ ตับอ่อนจะสังเคราะห์และหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลง ในขณะที่ได้รับน้ำตาลเท่าเดิม จึงมีน้ำตาลส่วนเกินในกระแสเลือด
  • ตับอ่อนได้รับความกระทบกระเทือน เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจากการดื่มสุรามากเกินไป หรือ ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจากการดื่มสุราเกินไป หรือ ตับอ่อนบอบช้ำจากการประสบอุบัติเหตุ ซึ่งมีความจำเป็นต้องผ่าตัดเอาตับอ่อนบางส่วนออก สำหรับคนที่มีความโน้มเอียงที่จะเป็นเบาหวานอยู่แล้ว ปัจจัยดังกล่าวนี้จะกล่าวนี้จะเป็นตัวชักนำให้อาการของเบาหวานแสดงออกเร็วขึ้น
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น คางทูมและหัดเยอรมัน เป็นต้น
  • ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนหลายชนิดที่รกสังเคราะห์ขึ้น มีผลยับยั้งการทำงานของอินซูลิน

โรคเบาหวาน

คืออะไร

โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากขาดฮอร์โมนเรียกว่า อินซูลิน ทำให้การเผาผลาญอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลในร่างกายมีน้อยจึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่าง ๆ เมื่อมีน้ำตาลคั่งในเลือดมาก ๆ ก็เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา

อินซูลิน เป็นสารที่สร้างจากตับอ่อน ทำหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติแม้หลังรับประทานอาหาร

มะเร็งเต้านม

เมื่อใดสงสัยเป็นมะเร็ง
  • มะเร็งระยะเริ่มต้น ไม่เจ็บ
  • พบก้อนที่เต้านม
  • ขนาด รูปร่าง และผิวหนังเต้านมเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ มีสะเก็ด หัวนมหดตัว คันแดงผิดปกติ
  • มีเลือด/น้ำออกจากหัวนม
  • รักแร้บวม คลำได้ก้อนต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งเต้านม

ป้องกันอย่างไร
  • เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เคลื่อนไหวออกแรงเป็นประจำ
  • ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา กินอาหารจากไขมันพืช
  • ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใส

มะเร็งเต้านม

ใครเสี่ยง
  • หญิงทุกคน
  • หญิงที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม มีโอกาสเป็นซ้ำ
  • หญิงที่ญาติใกล้ชิด เช่น แม่ พี่สาว เป็นมะเร็งเต้านม
  • หญิงที่กินฮอร์โมนเพศหญิง
  • หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดนาน ๆ

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

โรคตาแดง

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส เกิดขึ้นได้บ่อยโดยเฉพาะในเด็กเล็ก และเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น ก็อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้ตาพิการได้



โรคตาแดงติดต่อกันได้อย่างไร

โรคมักระบาดในกลุ่มคนที่อยู่รวมกันอย่างแออัดโดยอาจแพร่ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับน้ำตา ขี้ตาของผู้ป่วย ส่วนมากมักติดกันทางอ้อมโดย




  • ใช้มือสกปรกที่มีเชื้อโรคขยี้ตา

  • ใช้สิ่งของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา ขันน้ำ และของใช้อื่น ๆ ร่วมกับผู้ที่เป็นโรค

  • แมลงหวี่หรือแมลงวันตอมตา

อาการของโรคตาแดงเป็นอย่างไร


หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าตา ประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง จะมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา มีน้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวจะอักเสบ แดง ซึ่งอาจเริ่มที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน หรือเป็นทั้ง 2 ข้างพร้อมกันก็ได้ อาจมีไข้ต่ำ ๆ หรือครั่นเนื้อครั่นตัว หรืออาการปวดเสียวที่แขนขาด้วย ผู้ป่วยมักจะหายได้เอง ภายใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน


เมื่อเป็นโรคตาแดงควรปฎิบัติตัวอย่างไร

  • เมื่อมีอาการตามที่กล่าวมา ควรรีบไปพบแพทย์ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะชนิดหยอดหรือป้ายตา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย ป้ายตาติดต่อกันประมาณ 7 วัน สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีไข้ ปวดศีรษะก็ใช้ยาลดไข้แก้ปวดตาอาการ ถ้ามีอาการรุนแรงขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์อีกครั้ง
  • ควรพักสายตา ไม่ใช้สายตามากนัก
  • ควรหยุดเรียนหรือหยุดงานประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือจนกว่าอาการตาแดงจะหายเป็นปกติ และไม่ควรไปในที่ชุมชน เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เพราะอาจนำโรคไปแพร่ติดต่อให้ผู้อื่นได้
  • แยกของใช้ส่วนตัวของผู้ป่วย อย่าให้ผู้อื่นใช้รวมด้วย
  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากถูกต้องตาและหมั่นล้างมือบ่อย ๆ

มีวิธีการป้องกันไม่ให้ติดโรคตาแดงไหม

โรคนี้ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่

  • หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ใช่มือที่ไม่ได้ล้างให้สะอาดขยี้ตา
  • เมื่อฝุ่นละอองหรือผงเข้าตา ไม่ขยี้ตาให้ล้างด้วยน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว
  • ไม่ใช้สิ่งของ เช่น แว่นตา ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดมือ หรือถ้วยล้างตา ร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะเมื่อมีโรคตาแดงระบาด ต้องระวังให้มากยิ่งขึ้น
  • ซักเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ฯลฯ ผึ่งแดดให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ในสถานที่ที่คนอยู่ร่วมกันอย่างแออัด ควรจัดหาน้ำสะอาดให้เพียงพอสำหรับการล้างมือ ล้างหน้า และใช้อาบ


วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง



ตรวจทุกเดิอน หลังประจำเดือนหมด 3 - 7 วัน ในสตรีอายุ 20 ปีขึ้นไป




ยืนหน้ากระจก

  • ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย เปรียบเทียบเต้านมทั้งสองว่า มีการบิดเบี้ยวของหัวนม หรือมีสิ่งผิดปกติหรือไม่ และดูว่ามีของเหลวไหลออกมาหรือไม่
  • ยกมือสองข้างเหนือศีรษะ มองด้านหน้าและด้านข้างเต้านม ดูความสมดุลของรูปทรง มองหารอยบุ๋มรอยนูนบนเต้านม
  • วางมือที่เอว เกร็งอก มองหาก้อน ผิวหนังผิดปกติ ดึงรั้ง ก้มมาข้างหน้า ดูตำแหน่งหัวนม ความสมดุลของรูปทรง ดูเต้านมทั้งสองข้างห้อยลงเหมือนที่เคยเห็นหรือไม่

นอนราบ

  • นอนสบาย ๆ ตรวจเต้านมขวา ให้สอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ขวา
  • ยกแขนขวาเหนือศีรษะให้เต้านมแผ่ราบ จะคลำหาก้อนเนื้องอกได้ง่ายขึ้น
  • ใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางมือซ้ายคลำเต้านมขวา ให้วนสามนิ้วมือเป็นวงกลมก้นหอย ไม่ยกนิ้วมือขึ้น คลำเต้านมทั้งหมดจนถึงรักแร้ไหปลาร้า ที่สำคัญไม่ควรบีบหรือขยำเต้านม เพราะอาจเข้าใจผิดว่าเป็นก้อนเนื้องอก
  • ตรวจเต้านมซ้าย ด้วยวิธีเดียวกัน

ท่าขณะอาบน้ำ

  • ถ้าเต้านมเล็ก วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ตรวจบนศีรษะ ใช้ 3 นิ้วมืออีกข้างคลำเต้านม คลำวนเป็นวงกลมก้นหอยเหมือนท่านอนราบ
  • ถ้าเต้านมใหญ่ วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่จะตรวจ ประคอง และตรวจจากด้านล่าง ใช้สามนิ้วมืออีกข้างตรวจคลำจากด้านบน

สามสัมผัส

  1. กดเบาให้รู้สึกบริเวณใต้ผิวหนัง
  2. กดปานกลาง ให้รู้สึกถึงกึ่งกลางเนื้อนม
  3. กดหนัก ให้รู้สึกถึงส่วนลึกเนื้อนมใกล้กระดุกหน้าอก

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีรุ่นใหม่ชนิดเพาะเลี้ยงในเซลล์ดีอย่างไร?

วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อตายมีประสิทธิภาพดีแต่ทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนมีโอกาสเกิดปฏิกิริยาข้างเคียงทางสมองได้หากฉีดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เพราะเป็นวัคซีนที่ผลิตได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสในสมองลูกหนู

ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดใหม่ โดยเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นแต่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง และมีการเพาะเลี้ยงไวรัสในเซลล์แทนการเพาะเลี้ยงในสมองหนู วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์นี้มีความปลอดภัยสูงและมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้สูง โดยการให้วัคซีนเพียง 1 - 2 เข็มเท่านนั้น

ในระยะเวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ได้มีการใช้วัคซีนชนิดเชื้ออ่อนฤทธิ์ไปแล้วมากกว่า 300 ล้านโด๊สในหลายประเทศที่มีการระบาดของโรคอย่างมากเช่น จีน เกาหลี เนปาล อินเดีย พบว่ามีประสิทธิภาพดีถึง 95 - 100% และมีความปลอดภัยสูง

วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์

  • มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ดี
  • มีความปลอดภัยสูง
  • สะดวกในการรับวัคซีน โดยมีตารางการฉีดเพียง 1 - 2 เข็ม

บุคคลที่ควรได้รับวัคซีนและอายุที่ควรรับวัคซีนโรคไข้สมองอักเสบเจอี

  • เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนนี้โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 1 เข็ม ในเด็กอายุตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไป และฉีดกระตุ้นอีก 1 เข็มหลังจากฉีดเข็มแรกไปแล้ว 3 เดือน ถึง 1 ปี

  • นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้สมองอักเสบเจอี และอาศัยนานกว่า 2 สัปดาห์ โดยให้ฉีดก่อนเดินทาง 1 เข็ม และอาจจะฉีดกระตุ้นอีก 1 เข็มห่างจากเข็มแรก 1 ปี

วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

เราจะป้องกันการเกิดโรคไข้สมองอักเสบเจอีได้อย่างไร?

วิธีป้องกันโรคนี้ให้ได้ผลคือการให้วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีในคน ในประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี มีการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีอย่างกว้างขวางนานหลายสิบปี ทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคไข้สมองอักเสบเจอีลดลงอย่างมาก

สำหรับประเทศไทยเริ่มมีการฉีดวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยเป็นวัคซีนที่ผลิตได้จาการเพาะเลี้ยงไวรัสในสมองหนู แล้วนำสมองหนูมาบดแล้วฆ่าเชื้อด้วยฟอร์มาลิน แยกเชื้อที่ได้มาทำเป็นวัคซีนใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังรวม 3 - 4 ครั้ง

ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีรุ่นใหม่ โดยเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์เพาะเลี้ยงไวรัสในเซลล์แทนการเพาะเลี้ยงในสมองหนู วัคซีนรุ่นใหม่นี้เป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูงและมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันโรค

การับวัคซีนเพียง 1 - 2 เข็ม ก็สามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ถึงร้อยละ 95 - 100 ของผู้ที่ได้รับวัคซีนทั้งหมด

ในขณะนี้ประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีให้เลือกใช้ 2 ชนิด
1. วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อตาย (ผลิตได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสในสมองหนู)
2. วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (ผลิตได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสในเซลล์)

โรคไข้สมองอักเสบเจอีสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่?

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาหรือวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง เนื่องจากยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้ในร่างกายคน การรักษาจึงมุ่งไปที่การดูแลรักษาตามอาการและรักษาแบบประคับประคอง เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนในระยะที่มีอาการทางสมอง

โรคไข้สมองอักเสบเจอีมีอาการอย่างไร?

ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ บางรายอาจมีเพียงไข้สูง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ส่วนผู้ที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการคอแข็ง กระตุก สั่น ชัก พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ซึม และเป็นอัมพาต

แหล่งที่มาการระบาดของโรคไข้สมองอักเสบเจอี

โรคนี้มีรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2468 จากประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันพบโรคนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ ในประเทศไทยพบโรคนี้ได้ทั่วประเทศโดยเฉพาะในบริเวณที่มีการทำนาร่วมกับการเลี้ยงหมู

โรคไข้สมองอักเสบเจอีเป็นอย่างไร?

โรคไข้สมองอักเสบเจอี เป็นโรคที่มีความสำคัญและรุนแรงที่สุดโรคหนึ่งในบรรดาโรคไข้สมองอักเสบที่เกิดขึ้นในแถบทวีปเอเชียมียุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคจากสัตว์ (เช่น หมูและนกป่า) ที่มีเชื้อไวรัสโรคไข้สมองอักเสบเจอีมาสู่คน โรคนี้นับว่าเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศโรคหนึ่ง เพราะนอกจากว่า มีอัตราการตายสูงถึง 10 - 35% และประมาณ 2 ใน 3 ของผู้รอดชีวิตจะมีความพิการทางสมองตามมา

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

เบาหวานขึ้นจอประสาทตา

เบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็นสาเหตุของตาบอดอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย หากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือแม้แต่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีแต่เป็นโรคเบาหวานอยู่นานก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังเส้นเลือดในจอประสาทตาได้ การมีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในระยะแรก ๆ จะไม่มีผลต่อการมองเห็น แต่อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้สายตามีการเปลี่ยนแปลงมีสายตาสั้นได้ ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่าแว่นที่ใช้อยู่มองเห็นไม่ชัด บางคนอาจไปวัดสายตาเปลี่ยนแว่นซึ่งมักบ่นว่าเปลี่ยนแว่นมาหลายอันแต่มองเห็นไม่ชัดสักอัน หากผู้ป่วยรอจนมีการมองเห็นที่ผิดปกติแล้วจึงมาพบจักษุแพทย์อาจมีความผิดปกติของผนังเส้นเลือดมากแล้ว ซึ่งอาจทำให้การรักษาซับซ้อนมากขึ้น และผลการรักษาอาจไม่ดีเท่าที่ควร หรือในบางกรณีถ้าเป็นมาก ๆ อาจเลยระยะที่สามารถรักษาได้ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีซึ่งในปัจจุบันจะรวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปีซึ่งในปัจจุบันจะรวมถึงการตรวจสุขภาพตาร่วมด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้มีคุณภาพชีวิตและคุณภาพการมองเห็นที่ดีอยู่เสมอไปพร้อม ๆ กัน

การตรวจเช็คสุขภาพตาประจำปี

จักษุแพทย์ตรวจอะไรบ้าง

1. ตรวจโครงสร้างของลูกตาทางด้านหน้า ได้แก่ เยื่อบุตา
2. ตรวจการมองเห็นที่ไกล
3. ตรวจวัดความดันภายในลูกตา
4. ตรวจขั้วประสาทตา
5. ตรวจตาบอดสี

กรณีผู้ป่วยเบาหวานต้องการตรวจเช็คสุขภาพตา

การตรวจจะมีการหยอดขยายม่านตา สำหรับตรวจจอประสาทตาซึ่งจักษุแพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่ามีการเปลี่ยนแปลงของผนังเลือดมากน้อยเพียงใด คือมีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาหรือไม่ หากมีเบาหวานขึ้นจอประสาทตามีที่ระยะใดของโรค ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ระยะคือ

1. Non - proliferative Diabetic Retinopathy (NPD)

เบาหวานขึ้นจอประสาทตาในระยะเวลาเริ่มมีการโป่งพองของผนังเลือดมีโปรตีนรั่วจะผนังเส้นเลือด ซึ่งอาจต้องการหรืออาจไม่ต้องการการรักษาด้วยเลเซอร์ก็ได้ต้องพิจารณาตามความรุนแรงของโรค หากมีการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดในจอประสาทตามากขึ้น Severe NPDR (พิจารณาจากการตรวจพบของจักษุแพทย์) จักษุแพทย์จะพิจารณายิงเลเซอร์จอประสาทตา

2. Proliferative Diabetic Retinopathy (PDR)

เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงของผนังเส้นเลือด มีการโป่งพองของผนังเส้นเลือด มีการโป่งพอของผนังเส้นเลือดและมีโปรตีนจากผนังเส้นเลือด เส้นเลือดมีการโป่งพองมากขึ้น เลือดออกนอกจอประสาทตาและในน้ำวุ้นตา ซึ่งในผู้ป่วยรายหากทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาอาจมีพังผืดยึดจอประสาทตา และมีจอประสาทตาหลุดลอกก็ได้ ในระยะนี้ต้องได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์หรือต้องผ่าตัดรักษา

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยเบาหวานทุกรายต้องได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์แล้ว หากคุมน้ำตาลได้ไม่ดี ก็อาจทำให้การเปลี่ยนแปลงของผนังเส้นเลือดอีก และอาจต้องรับการรักษาด้วยเลเซอร์ ผู้ป่วยที่ยังไม่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างน้อยปีละครั้งหรือตรวจบ่อยขึ้น ตามการนัดจากอายุรแพทย์และจักษุแพทย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย ส่วนผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาหรือได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์หรือการผ่าตัดแล้วต้องได้รับการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอตามการนัดของจักษุแพทย์

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

การปลูกตำลึง

ตำลึง



เป็นผักพื้นบ้านที่คนทั่วไปรู้จักกันมานานเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการมาก สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น แกงจืด ต้มจิ้มน้ำพริก ใส่ก๋วยเตี๋ยวและต้มเลือดหมูเป็นต้น ในอดีตนั้นเราไม่จำเป็น ต้องปลูกตำลึงเอาไว้รับประทานเอง เนื่องจากตำลึงมักพบเห็นทั่วไปตามเถาไม้เลื้อยอื่น ตามพุ่มไม้เตี้ยหรือพุ่มไม้ แห้งตายรวมทั้งขึ้นตามริมรั้วบ้าน จนมีคำกล่าวถึง "ตำลึงริมรั้ว" อยู่เสมอ


แต่ในปัจจุบันเราไม่ค่อยพบตำลึงตามริมรั้วอีกแล้ว จะเห็นก็เฉพาะในที่รกร้างว่างเปล่าหรือไม่ก็ตามสวนที่ปลูกตำลึงไว้เพื่อการค้า ซึ่งสามารถทำรายได้อย่างงามแก่ผู้ปลูกตำลึงขายเป็นอย่างดี




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์



ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อย เถาตำลึงมีลักษณะกลมสีแยกเพศกันอยู่คนละต้น ปลายดอกแยกออกเป็น 5 แฉก โคนติดกันเป็นกรวย ผลมีรูปร่างกลมรีคล้ายแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลอ่อนมีสีเขียวลายขาวเมื่อแก่กลายเป็นสีแดง




คุณค่าทางอาหาร



ตำลึงเป็นผักใบเขียวเข้ม มีคุณค่าทางอาหารสูงมีทั้งเบต้า - แคโรทีน ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด ทั้งให้แคลเซียมและสารอาหารอื่น ๆ ที่พร้อมกันมาช่วยให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนี้ยังพบว่า ตำลึงยังประกอบได้ด้วยเส้นใย ที่มีความสามารถในการจับไนไตรทได้ดีที่สุด เมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นนี่เป็นคุณลักษณะพิเศษของตำลึง ที่มีเส้นใยคอยจับไนไตรทเพราะเป็นการลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้

ตารางแสดงคุณค่าอาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม






ที่มา กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตารางแสดงคุณค่าอาหารทางโภชนาการของไทย (2535)
* วิเคราะห์โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
RE ไมโครกรัมเทียบหน่วยเรตินัล

การปลูกและการขยายพันธุ์

ตำลึงมีการปลูกและขยายพันธุ์ได้ 2 วิธีคือ
* เพาะเมล็ด
* ปักชำด้วยเถา

การเพาะเมล็ด

มีวิธีการง่ายดังนี้

เตรียมดินเหมือนปลูกผักทั่วไปผสมปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยคอกก็ได้ นำผลตำลึงแก่สีแดง แกะเอาเมล็ดออกมาโรยบนดินที่เตรียมไว้ โรยดินกลบหรือใช้ใบไม้แห้งกลบบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตำลึงชอบดินชุ่มแต่อย่าให้แฉะเพราะจะเกิดโรคโคนเน่าได้เมื่อต้นงอกขึ้นมาสักประมาณ 5 ซ.ม. เริ่มมีมือเกาะให้ทำค้าง (เนื่องจากตำลึงไต่ขึ้นสู่ที่สูงเพื่อรับแดด) เหมาะที่สุดคือ ความสูงระดับ 1 เมตรขึ้นไปแต่ไม่ควรสูงเกิน 3 เมตร เพราะไม่สะดวกในการเก็บยอดตำลึง โดยใช้ไม้ไผ่ต้นเล็ก 3 ต้นปักเป็น 3 เส้า รอบปลายเชือกเข้าไว้ด้วยกัน ผูกด้วยเชือกกล้วยหรือเชือกปอ ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเพื่อช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง หรือหากมีรั้วไม้ระแนงก็ถือโอกาสใช้ประโยชน์โดยโรยเมล็ดไปตามริมรั้วเลยทีเดียว


ตำลึงต้องได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ลมโกรกผ่านได้ ตำลึงจะสังเคราะห์แสงแดดคายไอน้ำได้เต็มที่ ควรปล่อยให้มดแดงขึ้น เพราะจะช่วยกินเพลี้ยและแมลงที่จะมากัดกินตำลึง

ปักชำด้วยเถา

การปลูกตำลึงเพื่อการค้านั้นนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้เนื่องจากตำลึงจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการเพาะด้วยเมล็ด

วิธีการปักชำ

ให้นำเถาที่แก่พอสมควรมาตัดให้ยาว 15 - 20 ซม. ปักชำในหลุมปลูกที่ได้เตรียมไว้แล้ว (ลักษณะขั้นตอนการปลูกเหมือนกับหัวข้อการเพาะเมล็ด) พอเจริญเติบโตเต็มที่ประมาณ 1 เดือนก็สามารถเก็บยอดมาปรุงอาหารได้

ทั้งนี้ เพื่อให้ตำลึงแตกยอดใหม่ทยอยออกมาตลอดปี ต้องหมั่นเก็บมาบริโภคอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันให้ใส่ปุ๋ยคอก ช่วยเพิ่มเติมอาหารในดินประมาณเดือนละครั้ง ต้องหมั่นรดน้ำสม่ำเสมอในหน้าแล้งและหน้าหนาวส่วนหน้าฝนจะเว้นได้บ้างแต่ต้องช่วยรดน้ำในขณะที่ฝนทิ้งช่วง



จังหวัดและประเทศที่อยู่ติดกับจังหวัดตาก

ทิศเหนือ จดจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง
ทิศตะวันออก จดจังหวัดสุโขทัย
ทิศตะวันตก จดประเทศสหภาพพม่า โดยมีแม่น้ำเมยและทิวเขาตะนาวศรี เป็นเส้นกั้นพรมแดน
ทิศใต้ จดจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี นครสวรรค์และกำแพงเพชร

จังหวัดตาก

จากหลักฐานศิลปะมอญปรากฎอยู่ ทำให้ทราบว่าที่เมืองตากนี้เคยมีชาวมอญอยู่มาก่อน ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตากสร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ต่อมาเมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองตากจึงมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านตะวันตกที่สำคัญ ในสมัยกรุงรัตโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดให้ย้ายตัวเมืองตากจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงมายัฝั่งตะวันออกจนกระทั่งทุกวันนี้ สภาพภูมิประเทศของจังหวัดตากนี้โดยทั่วไปเป็นป่าไม้ และภูเขามีเนื้อที่ประมาณ 16,406 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผาง อำเภอพบพระ และอำเภอวังเจ้า

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

ธงประจำจังหวัด


ตราประจำจังหวัด


รูปพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงช้างเหนือครุฑหลั่งน้ำทักษิโณฑก
หมายถึง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกกองทัพไปช่วยพระเจ้าหงสาวดีรบอังวะนั้น พระมหาอุปราชเมืองพม่า สั่งให้ทหารคู่ใจคอยตี ขนาบ และปลงพระชนม์เสียให้ได้ ความแตกรู้ถึงพระกรรณสมเด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง จึงทรงประชุมชาวเมือง และบรรดาแม่ทัพนายกอง เมื่อเดือน 2 ปีวอก พ.ศ. 2127 ทรงหลั่งน้ำทักษิโณฑกเหนือแผ่นดิน ประกาศอิสระภาพไม่ยอมขึ้นกับเมืองอังวะ อีกต่อไป จังหวัดตากเป็นด่านแรก ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง ยกกองทัพกลับเข้ามาถึงราชอาณาจักรไทย เช่นเดียวกับที่เมืองนี้เคยเป็นทางผ่าน ที่ชาวอินเดียเดินทางเข้าเมืองไทยในสมัยโบราณ

คำขวัญจังหวัดตาก

ธรรมชาติน่ายล
ภูมิพลเขื่อนใหญ่
พระเจ้าตากเกรียงไกร
เมืองไม้และป่างาม

ประวัติเมืองตาก

เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการ อพยพ ของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้าน อำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”
ผู้นำกลุ่มคนไทยที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองตากในยุค นั้น ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อเนื่อง กันมาจนถึงปี พ.ศ. 560 รัชสมัยพระเจ้าสักดำ ซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองตากที่ยิ่งใหญ่มาก มีอาณาเขตที่อยู่ในอำนาจแผ่ไปจนจรดทะเลอันดามันดังมีบันทึกในพงศาวดารเหนือกล่าวว่าในรัชสมัยพระเจ้าสักดำนั้นเมืองตากมีการค้าขายกับเมืองอินเดียด้วย
เมืองตากคงจะเสื่อมลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิสผู้เป็นกษัตริย์เมืองตากที่อพยพมาจาก ตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ได้โยกย้ายไปสร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองละโว้ทางตอนใต้ของเมืองตากลงไปอีก
มีบางยุคเมืองตากถูกทอดทิ้ง กลายเป็นเมืองร้างดังในพงศาวดารเหนือได้ กล่าวถึงการเสด็จทางชลมารคของพระนางจามเทวี พระราชธิดากษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) เพื่อไปปกครองแคว้นหริภุญไชย (ลำพูน) ในราว พ.ศ. 1176 โดยทาง ลำน้ำปิง พระนางจามเทวีขึ้นไปสำรวจบนฝั่งแม่น้ำพบร่องรอยกำแพงเมืองเก่าๆ ถูกทิ้งร้าง จึงโปรดให้สร้างเป็นบ้านเมืองใหม่ชื่อว่า “เมืองตาก”
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 1805 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพ มาประชิดเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงจัดกองทัพออกไปรบ โดยมีพระราชโอรสองค์เล็กซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 พรรษา ติดตามไปด้วย กองทัพ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่บริเวณเชิงดอยนอกเมืองตากประมาณกิโลเมตรเศษ ราชโอรสองค์เล็กได้ทรงชนช้าง กับขุนสามชนกระทำยุทธหัตถีกัน ขุนสามชนสู้ไม่ได้แตกพ่ายไป ต่อมาภายหลังทรงพระนามว่า “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” และได้โปรดสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นที่ระลึกถึงชัยชนะในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้น องค์หนึ่งเป็นศิลปแบบสุโขทัย ซึ่งเจดีย์ยุทธหัตถีนี้อยู่ที่วัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก ห่างจากตัวเมืองไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงราว 31 กิโลเมตร
ต่อมาในแผ่นดินมหาธรรมราชา ได้ย้ายเมืองตากลงมาทางตอนใต้ตามลำน้ำปิง ไปตั้งอยู่ที่ป่ามะม่วง ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำปิง ซึ่งอยู่ในเขตตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตากในปัจจุบัน
เมืองตากที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้มิใช่เมืองหน้าด่าน สำหรับป้องกันกองทัพพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่กองทัพไทยใช้เป็นที่ชุมนุมพลในเวลา ที่จะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกด้วย ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้ทุกพระองค์
โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชสมบัตินั้น พระองค์ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร ให้เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ ไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือและต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ปลัดเมืองตาก พระยาวชิรปราการแล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยลำดับ
กล่าวโดยสรุป จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ ควรค่าแก่การสนใจ เป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้แล้วถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง และทรงยกทัพกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้สร้างวัดพระนารายณ์ที่เชิงสะพานกิตติขจรปัจจุบัน และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก และเป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่า ครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

พระวีรมหากษัตราธิราชเจ้า

อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
แด่ศาสนา สมถะ พระพุทธโคดม

ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
สมถะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นมชม
ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา

คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พระพุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือที่เรียกกันสั้นว่า "ศาลตากสินฯ" เป็นศาลาจัตุรมุข หน้าศาลแขวนโคมจีนสีแดง ภายในมีภาพพระราชประวัติพระเจ้าตาก ด้านหลังศาลมีรูปปั้น และตุ๊กตาม้าศึก ช้างศึกจำนวนมากที่ผู้คนนำมาถวาย ตั้งอยู่ที่สี่แยก ถนนตากสินดัดกับถนนมหาดไทยบำรุง ใกล้สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยใกล้ศาลากลางจังหวัดตาก

ภายในประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศาลนี้แต่เดิมอยู่บนวัดดอยข่อยเขาแก้ว ฝั่งตรงข้ามกับตัวเอง ต่อมาปี 2490 ชาวเมืองเห็นว่าศาลไม่สมพระเกียรติ จึงช่วยกันสร้างขึ้นใหม่ พร้อมกับให้กรมศิลปกรหล่อ พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริงเล็กน้อย ในพระอิริยาบถที่กำลังประทับอยู่บนราชอาสน์ มีพระแสงดาบพาดอยู่ที่พระเพลา ที่ฐานพระบรม ที่ฐานพระบรมรูปมีคำจารึกว่า "พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชสมภพ เมื่อ 2277 สวรรคต 2325 รวม 42 พรรษา" เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป และทุกปีระหว่างสิ้นปีและวันปีใหม่จะมีงานฉลองเป็นประเพณี จัดขึ้นบริเวณศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพิธีบวงสรวจพระวิญญาณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีการจัดขบวนแห่ เครื่องเซ่นสังเวย การออกร้านและการแสดงมหรสพต่าง ๆ

ประวัติย่อพระสยามเทวาธิราช

ปูชนียวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ทรงคุ้มครองชาวไทยให้รอดพ้นจากผองภัยพิบัติทั้งปวงตลอดมา

เป็นเทวรูปที่หล่อด้วยทองคำทั้งองค์ สูง 20 ซม. ทรงเครื่องต้นแบบพระมหากษัตริย์ พระหัตถ์ขวาทรงถือพระขรรค์ และพระหัตถ์ซ้ายทรงยกขึ้นจิบเสมอพระอุระประดิษฐานอยู่ในพระวิมานไม้จันทน์ ภายในพระวิมานมีคำจารึกเป็นอักษรจึน แปลได้ความว่า "สถิตแห่งพระสยามเทวาธิราช" แม้เทวรูปจะมีขนาดเล็กแต่ได้สัดส่วนงดงาม เน้นรายละเอียดลวดลายของเครื่องทรงได้อย่างคมชัด สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีหม่อมเจ้า ประดิษฐ์วรการ เป็นช่างเอกในนาม "กรมสิบหมู่"

พระราชอาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแผ่ไพศาลมากที่สุด

ทิศเหนือ ได้ดินแดนเวียงจันทน์ หลวงพระบาง

ทิศใต้ ได้ดินแดนกะลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี

ทิศตะวันออก ได้ลาว เขมร ทางฝั่งแม่น้ำโขงจรดอาณาเขตญวน

ทิศตะวันตก จรดดินแดนเมาะตะมะ ทะวาย มะริด และตะนาวศรี

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

สดุดีพระวีรมหากษัตราธิราชเจ้า

พระทรงดาบ รบรุก ทรงบุกบัน
ทรงประจัญ ศึกเสือ ทั้งเหนือใต้
เอาเลือดเนื้อ และชีวิต พิชิตชัย
กู้ให้ไทย คืนไทย ทุกวันมา
เมืองสยาม ยับแยก เคยแตกย่อย
พระประสาน รวมรอย เป็นหนึ่งหล้า
ให้ลูกหลาน ทุกรุ่น อุ่นอุรา
ได้ภูมิใจ ในคุณค่า ของแผ่นดิน
พระทรงดาบ รบรุก ไปทุกทิศ
ประกาศิต จากฟ้า ว่า "ตากสิน"
รำลึกองค์ พระผู้ กู้ธรณินทร์
ถวายชีวิน ไว้บูชา ทั่วฟ้าเอยฯ

พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า "สิน" ทรงพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ปีขาล เดือน 7 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1096 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นบุตรของ "นายไหฮอง" และ "นางนกเอี้ยง" ซึ่งพระยาจักรีได้ขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ยังเยาว์เมื่ออายุได้ 9 ปี พระยาจักรีได้นำไปฝากเรียนกับพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส (วัดคลัง) โดยเรียนหนังสือขอมและหนังสือไทยจนจบบริบูรณ์ แล้วจีงเรียนพระไตรปิฏกจนแตกฉาน เมื่ออายุ ครบ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำตัวเด็กชายสิน ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระธรรมราชาธิราชที่ 3 (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) พระองค์ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำราชการกับหลวงศักดิ์นายเวร ซี่งเป็นบุตรของพระยาจักรี เมื่อมีเวลาว่างจะไปเรียนภาษาจีน ภาษาญวนและภาษาแขก จนสามารถพูดภาษาทั้งสามได้อย่างคล่องแคล่ว





เมื่ออายุครบ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดโกษาวาส พระภิกษุสินอยู่ในสมณเพศได้ 3 พรรษา ก็ลาสิกขาและกลับเข้ารับราชการตามเดิม ด้วยความฉลาด รอบรู้ ขนบธรรมเนียม ภารกิจต่าง ๆ เป็นอย่างดี จนสามารถทำงานต่างพระเนตรพระกรรณได้ จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็กรายงานราชการทั้งหลายในกรมมหาดได้และกรมวังศาลหลวง



สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต้องทรงทำสงครามตลอดรัชกาล





ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในนายสินเป็นหลวงยกกระบัตร เมืองตากและเป็นพระยาตากปกครองเมืองตาก ในเวลาต่อมา พ.ศ. 2308 พระยาตากซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ามาช่วยราชการ สงครามต่อสู้กับพม่าในกรุงศรีอยุธยา





มีความดีความชอบมากได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการสำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร แต่ยังหาได้ปกครองเมืองกำแพงเพชรไม่ เพราะต้องต่อสู้กับข้าศึกเพื่อป้องกันพระนคร พระยาตากได้นำไพร่พลมาป้องกันกรุงศรีอยุธยา และก่อนเสียกรุงแก่ทัพหน้า พระยาตากได้นำกำลังคนทั้งไทยก็สามารถขับไล่กองทัพพม่าออกไปจากแผ่นดินไทยได้ในเวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น และทรงปราบดาภิเษกเสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ทรงผนวช เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2324





สมเด็จพระราชตากสิน ทรงสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สิริพระชนมายุได้ 48 พรรษา ทรงครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี ประชาราษฎร์ผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงยกย่องถวายพระเกียรติพระองค์ท่านว่า "มหาราช"

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต้องทรงทำสงครามตลอดรัชกาล เพราะแม้ว่าจะทรงกอบกู้ชาติได้อิสรภาพ แต่ความระส่ำระสายยังแผ่คลุมทั่วแดนไทย ฉะนั้นนับแต่เสวยราชย์เป็นต้นมา พระองค์ต้องต่อสู้แก้ปัญหาความยากจนข้นแค้นซึ่งคุกคามประชาราษฎร์ของพระองค์ด้วยความอดทน ทรงถึงกับเปล่งพระสัจจะวาจาว่า "มาตรแม้นว่ามีเทพยดาองค์ใดสามารถบันดาลให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหารแก่พสกนิกรของพระองค์อย่างอุดมสมบูรณ์เห็นทันแก่พระเนตรแล้ว แม้จะต้องการเครื่องบวงสรวงด้วยการให้ตัดพระกรของพระองค์เป็นเครื่องสักการะก็จะทรงตัดถวายให้โดยพลัน" นั่นเป็นความรักที่พระองค์มีต่อพสกนิกร นอกจากนี้พระองค์ยังต้องปราบปรามผู้ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่ไม่คิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ชุมนุมต่าง ๆ ถึง 6 ชุมนุมที่เข็มแข็ง ทั้งยังต้องปราบด้านเขมร ลาว ญวน จนพระองค์เองจะหาเวลาประทับภายในเศวตฉัตรไม่ได้เลย แต่ก็ทรงบากบันอดทนมิได้เห็นแก่ความสุขส่วนพระองค์เลย พระราชกรณียกิจขณะทรงดำรงตำแหน่งกษัตราธิราชนั้น นอกเหนือจากการทำศึกสงครามแล้ว พระองค์ยังมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน และยังทรงฟื้นฟูสร้างวรรณกรรมนาฏศิลป์ ทรงพระราชนิพนธ์ตำราพิชัยสงคราม คือยุทธศาสตร์ตำราในการใช้อาวุธ พระราชกฎหมายด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ยังทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ละครคาบูกิ

6. ละครคาบูกิในญี่ปุ่นปัจจุบันนี้





การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ละครของโลกปรากฏว่าศิลปละครโบราณนั้น ทันทีที่รูปแบบศิลปนั้น ๆ มั่นคงในระดับที่เกือบสมบูรณ์ที่สุด ก็จะสามารถผ่านการพิสูจน์ของกาลเวลา แม้ว่าเนื้อเรื่องจะมิอยู่ในสมัยนิยมก็ตาม





ความจริงข้อนี้ได้พิสูจน์ออกมาแล้วด้วยละคร คาบูกิ ในปัจจุบัน ว่าเป็นศิลปการแสดงที่มิใช่สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตปัจจุบันของญี่ปุ่นอันเป็นประเทศที่พลเมืองทุกวันนี้ใช้ชีวิตความเป็นอยู่แบบชาวญี่ปุ่นอันเป็นประเทศที่พลเมืองทุกวันนี้ใช้ชีวิตความเป็นอยู่แบบชาวตะวันตกกันเป็นส่วนใหญ่ และแม้กระนั้นละคร คาบูกิ ก็ยังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมาตลอดเวลาเหตุผลสำคัญก็มาจากข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ว่า ละครคาบูกิ คือศิลปที่ได้ผ่านการเจียรนัยอย่างดี ดังนั้นละครคาบูกิ จึงได้เป็นและจะเป็นความภาคภูมิใจและความหวงแหนของประชาชนญี่ปุ่นต่อไป



วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ละครคาบูกิ

5. ตัวละคร



ลักษณะเด่นที่สุดของ คาบูกิ ในฐานะที่เป็นนาฎศิลป์ เมื่อเทียบกับละครประเภทต่าง ๆ แล้ว อาจจะคือการที่ ละครคาบูกิ ยกความสำคัญให้ตัวละครนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ บทละครขั้นอมตะของ "คาบูกิ" ส่วนใหญ่จึงต้องให้ นักเขียนบทที่ทำงานสังกัดโรงละครคาบูกิ สร้างบทให้โดยเฉพาะ นักเขียนประเภทนี้จึงต้องพิถีพิถันในการศึกษา จุดเด่นและจุดอ่อนของผู้แสดงแต่ละคน เท่า ๆ กับการศึกษาค้นคว้าให้เข้าถึงเรื่องที่จะเขียนบทออกมา และนักเขียนเหล่านี้มักจะต้องประสบกับยากลำบากนานัปการในการสร้างบทออกมาให้เหมาะสมกับอัจฉริยะพิเศษในตัวนักแสดงเหล่านี้ บ่อยครั้งที่นักแสดงเห็นว่าการแสดงเป็นเพียงหนทางเพื่อการนำแสดงของตน จึงได้เปลี่ยนบทเจรจาและ พล้อตเรื่องตามอารมณ์ของตน

กระนั้น จากการวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย ความยิ่งใหญ่ของละครคาบูกิมาจากนักแสดง การพิจารณาคัดเลือกตัวละครคาบูกิก็ยึดหลักเที่ยงตรงที่สุด นับแต่นาฏศิลป์ คาบูกิ ได้อุบัติขึ้นบนรากฐานที่เป็นแบบแผนของตัวเองโดยเฉพาะมาก่อนแล้วทุก ๆ คน วิธีการนี้ได้กลายเป็นกฎตายตัวขึ้นมาเองว่าใครก็ตามที่ใฝ่ฝันใคร่จะเป็นดาราละครคาบูกิจะต้องเริ่มต้นฝึกตั้งแต่เด็ก ๆ เป็นต้นมาเสียก่อนจึงจะมีโอกาส "เข้าถึง" ศิลปการแสดงนี้ได้อย่างแท้จริง เขาจะต้องทำการฝึกฝนนาฎศิลป์สาขาต่าง ๆ ให้มีความรู้ ด้วยเหตุที่คาบูกิคือละครรำประเภทหนึ่ง ดังนั้นการฝึกฟ้อนรำแบบญี่ปุ่นและดนตรีญี่ปุ่นจึงเป็นส่วนสำคัญของการฝึกฝนอบรมดังกล่าว

พึงตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า เทคนิคสำคัญในการแสดงละครคาบูกินั้นมิได้อยู่ที่ดาราในขณะนั้นคิดขึ้นมาด้วยตนเอง แต่เป็นผลิตผลความสามารถต่าง ๆ ที่ได้จากดารารุ่นก่อนนั้น ๆ สร้างไว้ และตกทอดกันมาเรื่อย ๆ หลายชั่วอายุคนและมักเป็นสมบัติตกทอดกันมาเป็นตระกูล ๆ ฉะนั้นปัจจุบันนี้ยังมีตระกูลดาราละครคาบูกิที่สืบวิชากันมาถึง 17 ชั่วอายุคนอยู่หลายตระกูล ในสังคมระบอบฟิวดัลยุค "เอโด" นั้น กฎหมายควบคุมสิทธิการสืบเชื้อสายเกือบมิจำเป็นต้องบัญญัติขึ้น อีกประการหนึ่งคุณลักษณะของศิลปะละครคาบูกิ จำเป็นต้องพึ่งผู้ฝึกและผู้ชำนาญในศิลปการแสดงทางนี้โดยเฉพาะ ดังนั้นระบบภายในครอบครัวจึงเหมาะสมอย่างยิ่ง แม้ทุกวันนี้วงการละครคาบูกิ ก็ยังต้องยึดวิธีการดังกล่าวกันอยู่และยังถือว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าจะไปหาตัวผู้สันทัดกรณีด้านนี้จากวงการอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป เพราะการได้ตัวผู้สันทัดจากตระกูลละครเก่าจะช่วยทำนุบำรุงรักษาศิลป บูกิ ให้คงความยิ่งใหญ่ไว้ได้อย่างแท้จริงต่อไป




มีอยู่ยุคหนึ่งที่ถือกันเป็นประเพณีว่าตัวละครแต่ละคนจะต้องเล่นแต่บทที่ตนมีความสามารถเป็นพิเศษเท่านั้น ประเพณีนี้ทำให้ต้องศึกษาคุณสมบัติลักษณะของชายหญิงประเภทต่าง ๆ ด้วยความพิถีพิถันเป็นพิเศษ การเลือกเฟ้นลักษณะประจำตัวของนักแสดงทำนองนี้ได้ลดความเข้มงวดกันแล้ว นักแสดงคาบูกิ สมัยนี้ส่วนมากล้วนมีความสามารถในการแสดงคนละหลาย ๆ อย่างทั้งนั้น ยกเว้นเฉพาะ "อนนะงาตะ" หรือการแสดงเป็นผู้หญิงในเรื่องนั่นเอง เคล็ดลับความงามของ อนนะงาตะ ที่แสดงออกบนเวทีนั้น ขึ้นอยู่กับการอวดความงามอันละเมียดละไมของอิสตรีที่สร้างขึ้นเทียมความงามตามธรรมชาติ แต่มิใช่ธรรมชาติโดยสายตาของชายที่มองดูอุปนิสัยและจิตวิทยาของเพศตรงข้าม


ในยุคระบอบฟิวดัลนั้น นักแสดงคาบูกิ ถึงแม้จะมีชื่อเสียงโด่งดังในหมู่ประชาชนทั่วไปก็ตามแต่กลับมีสภาพชีวิตอยู่ในฐานะอันต่ำต้อยมาก ทุกวันนี้ฐานะความเป็นอยู่ของนักแสดงคาบูกิได้เขยิบสูงขึ้นมาก ซึ่งดาราเด่น ๆ บางคนได้รับพิจารณาคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกศิลปบัณฑิตยสภาญี่ปุ่น อันเป็นเกียรติสูงสุดสำหรับศิลปิน


นักแสดงละคร คาบูกิ ทุกคนต่างก็มีสร้อยชื่อประจำสำนักโดยเฉพาะต่อท้ายชื่อตัวทุก ๆ คนเรียกว่า "ยาโก" (yago) ตัวอย่างเช่น ดาราชื่อ คันซาบุโร นาคามูระ, โซโรกุ โอโนเอะ และ อูตาเอะมอน นาคามูระ ต่างก็มีสร้อยชื่อต่อท้ายแสดงสำนักไว้ด้วย เช่น "นาคามูระยะ" (nakamuraya), "โอโตวายะ" (otowaya) และ "นาริโกะมายะ" (narikomaya) ธรรมเนียมการใช้สร้อยชื่อเฉพาะนี้ยังมีเป็นการพิเศษประการหนึ่ง คือแฟนละครจะร้องเชียร์สร้อยชื่อประจำสำนักของดารานักแสดงที่เขาติดใจขณะปรากฏตัวออกมาสู่เวที หรือตอนออกโรงแสดงบนเวที


ในการแสดงละคร คาบูกิ นั้น จะมีคนที่มิใช่นักแสดงออกมาปรากฏตัวหน้าเวทีอยู่ตอนหนึ่งโดยเฉพาะในตอนแรกเริ่มทันทีที่เปิดฉาก ผู้ชมจะสังเกตเห็นว่ามีคนแต่งเสื้อคลุมสีดำคลุมตลอดถึงศีรษะออกมาปรากฎตัวทันทีอยู่หลังนักแสดง คนเหล่านี้เรียกว่า "คูโรโกะ" (kurogo) (มนุษย์เงาดำ) มีหน้าที่ออกมาจัดที่ทางให้เข้ากับฉากในขณะที่มีการเปิดม่านออก และทำหน้าที่เป็นผู้บอกบทไปด้วยโดยไม่ได้เข้าร่วมแสดง และคนดูก็ไม่ได้ให้ความสนใจ








ละครคาบูกิ

4. โรงละครเวที

ปัจจุบันนี้โดยไม่มีการยกเว้นโรงละคร คาบูกิ ถูกสร้างขึ้นในแบบตะวันตกมิว่าจะเป็นลักษณะของโรงและเวทีตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ แม้กระนั้นโรงละคร คาบูกิ ก็ยังรักษาจารีตประเพณีของโรงละครเพื่อ "คาบูกิ" ไว้เป็นอย่างดี เช่น แบบ "ฮานามิจิ" (hanamichi) และ "มาวาริ - บูไท" (mawari - butai) เป็นต้น

1) เวทีแบบ "ฮานามิจิ" หรือ "ทางลาดดอกไม้"

เวทีละครแบบนี้สร้างเป็นทางเดินเชื่อมด้านซ้ายของเวทีกับด้านหลังของโรงผ่านที่นั่งของคนดูในระดับศีรษะพอดี มีช่องทางสำหรับให้ตัวละครเข้าออกได้ทางหนึ่ง เป็นช่องทางแยกต่างหากจากทางเดินเข้าออกที่ปีกซ้ายขวาของเวที เวทีแบบนี้ไม่แต่จะมีทางเดินผ่านได้เท่านั้น แต่ยังสร้างทางเดินนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของเวทีอีกด้วย ระหว่างที่ปรากฏตัวออกมาจากทางเข้าออกของตนผ่านทางลาดดอกไม้นี้ ตัวละครจึงมักจะต้องแสดงบทบาทลักษณะเด่นที่สุดของตนไปด้วยเสมอ

2) เวทีแบบ "มาวาริ - บูไท" หรือเวทีหมุน

เวทีละครแบบนี้ประดิษฐ์ใช้กันเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อเกือบ 300 ปีมาแล้ว ต่อมาจึงได้มีผู้นำระบบเวทีหมุนนี้ไปเผยแพร่ยังต่างประเทศ เป็นเวทีที่สามารถเปลี่ยนฉากได้อย่างฉับพลันโดยไม่ทำให้การแสดงขาดตอนเลย

3) คุณลักษณะอื่น ๆ

เวทีหน้าฉากของละคร คาบูกิ มีระดับต่ำกว่าและกว้างกว่าเวทีของโรงละครของอเมริกันและยุโรป ตัวเวทีต้องเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาว แทนที่จะให้มีขนาดเกือบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่นเวทีละครที่ใด ๆ ในโลก

ม่านโรงละคร คาบูกิ เป็นผ้าฝ้ายลายทางสีน้ำตาลแดง, ดำ และเขียว ไม่นิยมใช้วิธีเลิกม่านขึ้นเหมือนละครตะวักตก แต่ให้รูดไปข้าง ๆ เวลาเปิดม่านการแสดง

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ละครคาบูกิ

3. ธาตุแท้ทางหลักแห่งความงาม














1) แบบแผนการแสดง









โดยเหตุที่ความงามตามแบบแผนคือศิลปพื้นฐานของหลักแห่งความงามที่สำคัญประการหนึ่งของละคร "คาบูกิ" ดังนั้น จึงต้องแสดงออกมาทางบทบาทมากที่สุด - จึงจะถือเห็นหัวใจสำคัญของละคร "คาบูกิ" ที่จะรับบทในเรื่องที่เป็นอมตะจึงจำเป็นต้องมีการค้นคว้าศึกษาแบบแผนการแสดงที่สมบูรณ์แบบจากนักแสดงรุ่นก่อน ๆ ไว้ด้วยตั้งแต่แรก แบบของแนวการแสดงดังกล่าวนี้ ถึงแม้ในแรกเริ่มกำหนดไว้สำหรับการแสดงละครแนวสัจจะนิยาย ก็ยังถือเป็นแบบแผนชั้นสูงและยอมรับนับถือว่าเป็นสัญญลักษณ์ของการพัฒนาละครคาบูกิ อย่างหนึ่ง แม้แต่ในละครสัจจะ นิยายคาบูกิ เอง ข้อสังเกตเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มักจะพบบ่อย ๆ ก็คือเน้นการแสดงบท "ฟ้อนรำ" ไว้มากกว่า "บทบาท"การออกท่าออกทางทุกอิริยาบถตามบทบาทของตัวละครนั้นอาศัยประกอบด้วยทั้งสิ้น มีหลายกรณีที่สัญญลักขณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องแสดงให้เห็นความขัดแย้งกัน ดังนั้น แบบแผนของบทบาทตัวละครจึงไม่ให้แสดงกันนานนักเพื่อมิให้ขัดกับบทบาทในท้องเรื่องจนเห็นได้ชัด







เทคนิคเฉพาะในละคร "คาบูกิ" อย่าง "มิเอะ" (Mie) เกือบจะถือเป็นเครื่องรักษาแบบแผนหลักทางความงามของละครนี้ "มิเอะ" นี้ถูกจัดไว้ในตอนที่สำคัญของเรื่องโดยเฉพาะ หรือในตอนใกล้จบการแสดงเรื่อง อะตมโดยดาราเอกที่ทางการละครนำภาพบทบาทของเขาออกโฆษณา บทบาทเช่นนี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง ละครคาบูกิ นิยมจัดขึ้นเพื่อแสดงถึงขึดความสำคัญทางความงามของการแสดง







แบบแผนนี้ยังแสดงลักษณะประจำตัวทางความสามารถในบทเจรจาของตัวละครคาบูกิ อีกด้วย แม้ในการแสดงเรื่องประเภทสัจจะนิยายพื้นบ้าน บทเจรจาก็หาได้กำหนดให้พูดกันตามธรรมดาในท้องเรื่องไม่ แต่เป็นบทพูดแบบนิยายโดยเฉพาะ บทเจรจาใน "คาบูกิ" เฉพาะอย่างยิ่งบทเจรจายาว ๆ มักเป็นบทร้อยกรองกึ่งร้องกึ่งเจรจาที่มีศิลปการกวีผสมผสานอย่างน่าประทับใจอยู่ด้วย ยิ่งกว่านี้ยังมีอยู่บ่อย ๆ ที่ละครคาบูกิประเภทนี้มีดนตรีบรรเลงประกอบบทเจรจาเดี่ยวของตัวละครไปด้วย ซึ่งปรากฎว่าได้รับความนิยม ทำให้การแสดงบนเวทีมีลักษณะกลมกลืนเป็นลีลาตามบทกลอนได้อย่างสนิทโดยอาศัยบทบาทการเคลื่อนไหว การออกท่าออกทางให้เข้าจังหวะกับบทเจรจากึ่งเพลงผสมดนตรีที่แสดงออกในรูปแบบของการฟ้อนรำอีกแนวหนึ่ง











2) หลักการเล่นสี








รูปแบบแห่งความงามในการแสดงออกซึ่งลักษณะพื้นฐานเฉพาะของละคร "คาบูกิ" ยังมีอีกหลายอย่าง ได้แก่ ฉาก เครื่องแต่งตัว และการแต่งหน้าของตัวละคร "คาบูกิ" เป็นที่ยอมรับจากผู้ชมโดยทั่ว ๆ ไปว่าเป็นการตกแต่งที่สิ้นเปลืองและโอ่อ่าหรูหราที่สุดในโลก อาจกล่าวได้ว่าความมีชื่อเสียงโด่งดังของ "คาบูกิ" ทุกวันนี้ขึ้นอยู่กับการแสดงออกทางภาพแห่งความงามเหล่านี้เป็นใหญ่ ทั้งนี้เพราะได้อาศัยการเล่นสีสวยสดประกอบภาพน่าทัศนาที่ชวนให้ทึ่งอย่างมโหฬารนี้เอง ที่สามารถตรึงความสนใจของผู้ดูอย่างเต็มที่ แม้ว่าไม่ชื่นชมกับความสนุกสนานของท้องเรื่อง



3) หลักการให้เสียงประกอบ



ดังได้กล่าวไว้แต่ต้นแล้วว่า ดนตรีก็เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในศิลปการละคร "คาบูกิ" แม้จะใช้เครื่องดนตรีหลายชนิดบรรเลง แต่ก็จะต้องให้ได้จังหวะเหมาะสมกับบทร้องและแสดงเอกลักษณะของมันไปในตัวด้วย เครื่องดนตรีหลักชนิดหนึ่งได้แก่ซอสามสาย เครื่องดนตรีคล้านพิณบาลาไลก้าที่ต้องดีดด้วยงาช้างหรือแผ่นโลหะที่เรียกกันพื้น ๆ ว่า "ชามิเซน" (Shamisen) สรุปแล้ววงดนตรีที่ใช้เล่นประกอบละคร คาบูกิ เรียกันว่า ดนตรีชามิเซน

ตามแบบละครประวัติศาสตร์หรือตามแบบละครพื้นบ้านนั้น ขณะที่เปิดม่านเผยให้เห็นฉาก ๆ หนึ่งนั้น ดนตรีก็จะเริ่มบรรเลงไปด้วยทันที เพื่อเร้าให้ผู้ชมเกิดความทึ่งในบรรยากาศบนเวทีตั้งแต่แรกเมื่อยังไม่มีตัวละครใด ๆ ปรากฏตัวกันเลยทีเดียว จะมีการจัดให้นักดนตรีนั่งอยู่ในหลืบฉากมุมซ้ายของเวทีไม่ให้คนดูเห็น เพลงที่เล่นเป็นเพลงโหมโรงสำหรับเรื่องนั่น ๆ ไปด้วย ในกรณีที่เป็นละครรำ เขาจะจัดที่ตั้งวงดนตรีออกโชว์ฝีมือให้คนดูเห็นกันทั่ว ๆ บนเวทีด้วย และการบรรเลงก็ต้องให้สอดคล้องกับลีลาการแสดงยิ่งขึ้น

ดนตรี "คาบูกิ" กอปรไปด้วยเพลงแบบต่าง ๆ ราว ๆ สิบกว่าประเภท ซึ่งต่างครูก็ต่างหลักกันที่นิยมเล่นกันมากที่สุดในปัจจุบันได้แก่ เพลง "นางาอุตะ" (nagauta), "โตกิวาซึ" (tokiwazu), "คิโยโมโต" (kiyomoto) และ "กิดายุ" (gidayu) เพลงหลังนี้มักนิยมใช้เล่นในละครที่ปรับปรุงมาจากหุ่นกระบอก

นอกจากความสำคัญของดนตรีแล้ว ละคร "คาบูกิ" ยังมีคุณลักษณะพิเศษด้านความละเมียดละไมในการจัดระดับเสียงอีกหลายชนิดนับไม่ถ้วนด้วย ที่สำคัญและเป็นจุดเด่นที่สุดคือเสียง "กลับ" ที่ใช้เป็นจังหวะบอกสัญญาณการเปิดและปิดฉาก ซึ่งกำหนดให้ดังเป็นจังหวะซ้ำ ๆ ขาดเป็นห้วง ๆ กลับไม้นี้ยังใช้เป็นสัญญาณเสียงบอกจังหวะประกอบลีลาการแสดงด้วย


วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ละครคาบูกิ

บทการแสดง







มีการแสดงในละคร "คาบูกิ" อยู่ราว ๆ 300 บท ในจำนวนนี้มีบทแสดงใหม่ ๆ กำลังได้รับการปรับปรุงผนวกเข้าไว้ด้วยในปัจจุบัน โดยความเรียกร้องจากบุคคลผู้สันทัดที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับวงการละคร "คาบูกิ" มาเมื่อเร็ว ๆ นี้ บทการแสดง "คาบูกิ" มักเขียนขึ้นโดยนักเขียนบทละครของคณะละคร "คาบูกิ" เองทั้งสิ้น




มีกลุ่มละครแบบ "โชซา - โกโต" (Shosa - goto) อยู่อีกประเภทหนึ่ง หรือที่เรียกว่ากลุ่ม "ละครรำ" อันเป็นการฟ้อนรำแบบฉบับโดยเฉพาะอีกประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น ในบทละครรำชนิดนี้ตัวละครต้องแสดงบทบาทการรำตามบทร้องและดนตรีตลอดเรื่อง มีละครรำชนิดนี้ตัวละครต้องแสดงบทบาทการรำตามบทร้องและดนตรีตลอดเรื่อง มีละครรำอยู่หลายเรื่องบรรยายเนื้อเรื่องจนจบขณะที่อีกหลายเรื่องคือการแสดงรำเป็นตอน ๆ ละครประเภทนี้ส่วนมากมีต้นแบบการแสดงมาจาก "โนห์" และ "เกียวเงน" ดังเช่นละครรำเรื่อง "ดันจิโช" (Kanjincho) (วิหารบวงสรวง), "มูซึเมะ โดโจจิ" (Musume Dojoji) (วิหารสาวพรหมจารีย์แห่งโดโจจิ), "มิงาวาริ ซาเซน" (Migawari Zazen) (ตัวแทน) และ "ทากาสึกะ" (Takatsuka) (รำสวมเกือกไม้) เป็นต้น




นอกจากนั้น บทละคร "คาบูกิ" ยังอาจแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ จากจุดยืนของเรื่องและต้วแสดงเฉพาะบท




1. ละครประวัติศาสตร์ (Jidai-mono)



ละครประเภทนี้อาศัยข้อเท็จจริงในประวัดิศาสตร์เป็นหลัก หรือถือเอาเรื่องราวเกี่ยวกับนักรบหรือหรือขุนน้ำขุนนางเป็นต้น โดยหลายเรื่องเป็นเรื่องโศกนาฏกรรมหนัก ๆ แทรกบทตลกขบขันไว้บ้าง เพื่อผ่อนคลายความหนักอึ้งของเรื่อง เนื้อเรื่องที่ดัดแปลงมาจากละครหุ่นกระบอกก็มีมาก และมักจะกำหนดให้ตัวเอกของเรื่องทำการเสียสละสูงสุด เช่นเรื่อง "ชูชินงุระ" (Chushingura) ซึ่งเป็นละคร "คาบูกิ" ที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องหนึ่งที่ดัดแปลงมากจาก "บุนระกุ" เป็นเรื่องแสดงถึงเกียรติคุณของอัศวินขาดเจ้า 47 คนที่ช่วยกันวางแผนเป็นเวลาหลายปีเพื่อต่อสู้แก้แค้นแทนเจ้านายของตนผู้ถูกบังคับให้สละตำแหน่ง ตามบทบาทในท้องเรื่องนี้คนทั้ง 47 ถึงกับยอมฆ่าตัวตาย





2. ละครพื้นบ้าน (Sewe - mono)



ละครประเภทนี้แสดงให้เห็นสภาพชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ของสามัญชนคนธรรมดา ตัวอย่างของเรื่องทำนองนี้ที่เด่นมี อาทิเช่นเรื่อง "คาโงทสีรูเบะ" (The Courtesan) และ "ทสีโบซากา - เดระ" (Miracle at Tsubosaka) ละครพื้นบ้านนั้นถือเอาสัจจะนิยายเป็นพื้น จึงมักไม่ใคร่มีบทบาทให้ตัวละครแสดงความเก่งกล้าสามารถเกินมนุษย์ ความสำคัญของละครประเภทนี้จึงขึ้นอยู่กับบทบาทการเจรจาและสีสันของตัวละคร มากกว่าจะเน้นหนักไปในด้านการแสดงกำลังภายในของตัวละคร ที่หมายถึงความเก่งกล้าสามารถตามท้องเรื่อง





ละครคาบูกิ ตามหลักต้นตำรานั้นอาจแยกออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้


1) บทละครที่ปรับปรุงมาจากละคร "โนห์" และ "เกียวเงน"

มีการปรับปรุงแบบอย่างการฟ้อนรำตลกจากละครเกียวเงนเข้ามารวมอยู่ด้วย เช่น บทละครรำเรื่อง "มิงาวาริ ซาเซน" (Migawari Zazen) ละครรำที่มีลักษณะจริงจังมากกว่า เช่น "คันจินโซ" (Kanjincho) และ "มุซึเมะ โดโจจิ" ก็ปรับปรุงมาจากละคร โนห์ คุณลักษณะเหล่านี้ได้รับการแก้ไขปรับปรุงขึ้นมาใหม่ให้มีลักษณะงดงามอ่อนช้อยและโอ่อ่าสะท้อนให้เห็นบรรยากาศอันภูมิฐานของต้นตำรับได้เป็นอย่างดี ฉากของละครจำพวกนี้หลายเรื่องได้รับการปรับปรุงมาจากฉากละคร โนห์ โดยตรง กอปรไปด้วยแผ่นภาพเป็นภูมิหลังเพียงแผ่นเดียวเป็นภาพต้นสนเก่าแก่ต้นหนึ่ง กับฉากด้านข้างสองด้านเป็นรูปกอไผ่เท่านั้น

2) บทละครที่ปรับปรุงมาจากละครหุ่นกระบอก

บทละครประเภทนี้ส่วนใหญ่ลอกแบบมาจากต้นตำหรับแทบทั้งดุ้น เพื่อรักษาแบบฉบับละครหุ่นกระบอกไว้ กล่าวคิอให้นักร้องกับผู้ช่วยเป็นผู้ร้องคำบรรยายเรื่องโดยจะนั่งบนยกพื้นด้านขวาเวที แบบเดียวกับละครหุ่นกระบอก แต่บทเจรจานั้นตัวละครจะกล่าวเองโดยมอบการพรรณาเรื่องให้เป็นหน้าที่ของคนร้อง ละครจำพวกนี้ก็มีอาทิเช่นเรื่อง "ชูชินกูระ" (Chushingura) และ "ทสึโบซากา - เดระ" (Tsubosaka - Dera) เป็นต้น

3) บทละคร "คาบูกิ" โดยเฉพาะ

บทละครจำพวกนี้เขียนขึ้นมาสำหรับ "คาบูกิ" โดยเฉพาะ ผลงานชั้นเยี่ยมในบรรดาละครแบบนี้มีอยู่จำนวนหนึ่งที่ยอมรับนับถือกันมาก เช่นเรื่อง "คาโงทสึรูเบ"






วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ละครคาบูกิ

ประวัติเดิม









"คาบูกิ" เป็นนาฎศิลป์ประจำชาติอีกชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น มีประวัติย้อนหลังไปถึงสมัยปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งได้มีการปรับปรุงและวิวัฒนาการเรื่อยมาจนกระทั่งกลายเป็นนาฎศิลป์อันวิจิตรของประเทศอย่างสมบูรณ์ในปัจจุบัน ถึงแม้จะไม่ขึ้นหน้าขึ้นตาเหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต แต่ทุกวันนี้ละคร คาบูกิ ยังคงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนชาวญี่ปุ่น และแม้ในปัจจุบันนี้การแสดงคงยังดึงดูดผู้ชมเป็นจำนวนมากเสมอ




ระหว่างที่ละครนี้เคยเฟื่องฟู เช่น ในยุค "เอโด" (Yedo) อันเป็นสมัยที่ละคร คาบูกิ ได้รับการปรับปรุงกันอย่างขนานใหญ่ ตรงกับสมัยที่ชนชั้นนักรบกับสามัญชนมีการแบ่งแยกชั้นกันอย่างเข้มงวดยิ่งกว่าสมัยใด ๆ ในประวัติศาสตร์ชาติญี่ปุ่น ศิลปการละคร "คาบูกิ" กลับกลายเป็นเครื่องมืออำนวยประโยชน์ให้แก่พ่อค้าวานิชน์อย่างเป็นกอบเป็นกำในยุคโน้น ซึ่งนับวันก็ยิ่งมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังคงถูกจัดชั้นเข้าในระดับสามัญชนอยู่นั่นเอง "คาบูกิ" สำหรับชนชั้นพ่อค้าดูจะกลายเป็นศิลปสัญญลักขณ์เด่นที่สุดที่ส่อให้เห็นจินตนาการของพ่อค้าในยุคดังกล่าว การแสดงละครในยุคนั้นจึงยึงคติส่อถึงความขัดแย้งระหว่างมนุษยธรรมกับระบอบฟิวดัล จากผลของศิลปการแสดงในด้านมนุษยธรรมนี้เอง ที่ช่วยให้ละคร "คาบูกิ" ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปในยุคนั้นตราบกระทั่งมาถึงปัจจุบัน



หลักสำคัญที่เป็นศิลป "คาบูกิ" ซึ่งน่าจะถือเป็นสัญญลักขณ์อันแท้จริงที่แสดงถึงแก่นแท้แห่งวิญญาณนาฏศิลป์นี้ก็คือ ไม่มีการใช้ผู้หญิงแสดงเลย บทบาทของตัวละครหญิงในเรื่องทุกเรื่องของ "คาบูกิ" แสดงโดยผู้ชายผู้มีฝีมือในด้านนี้โดยเฉพาะ เรียกกันว่า "อนนะงาตะ " (onnagata) ตัวละคร "คาบูกิ" ในยุคเริ่มแรกนั้นส่วนใหญ่ใช้ผู้หญิงแสดง ต่อมาเมื่อมีผู้นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นักแสดงผู้หญิงก็เริ่มมีผู้ชายที่หลงใหลในบทบาทของเธอเข้ามาพัวพันในชีวิตส่วนตัวเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทางการวิตกว่าสภาพการณ์ดังกล่าวนี้หากปล่อยทิ้งไว้ต่อไป วงการนาฏศิลป์ คาบูกิ อาจจะเสื่อมความนิยมจากประชาชนไปก็ได้ ในปี พ.ศ. 2172 จึงได้มีการประกาศห้ามมิให้ใช้ผู้หญิงแสดงในละครชนิดนี้โดยเด็ดขาด



แต่ละ คาบูกิ ในรูปของนาฏศิลป์ได้เป็นที่ยอมรับแก่สาธารณชนอยู่แล้ว แม้ผู้ชายจะเข้ามาแสดง "คาบูกิ" แทนผู้หญิงโดยทันที ประชาชนก็ยังคงนิยมละครคาบูกิแสดงโดยผู้ชายตลอดมาจนปัจจุบันนี้ การห้ามผู้หญิงเข้าแสดงในละครชนิดนี้มีผลมาราว ๆ 250 ปี ขณะเดียวกันนั้นเอง "คาบูกิ" ก็มีการปรับปรุงวิวัฒนาการมาสู่นาฏศิลป์ "อนนะงาตะ" โดยสมบูรณ์ กลายเป็นศิลปการแสดงที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้าร่วมแสดงด้วยอีกเลย แม้เมื่อได้มีการยกเลิกคำสั่งนี้ห้ามนี้ไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นศิลป "อนนะงาตะ" ได้กลายเป็นองค์ประกอบอันสมบูรณ์ของละคร "คาบูกิ" ซึ่งหากตัดศิลปนี้ออกไปเสียคุณลักษณะประจำของ "คาบูกิ" ก็จะหมดไปโดยสิ้นเชิงทีเดียว



ลักษณะประจำที่สำคัญของละคร "คาบูกิ" อีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นละครที่ผสมผสานเอาการเล่นต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เป็นแบบเฉพาะอย่างหนึ่ง นับแต่มีการริเริ่มขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ละคร "คาบูกิ" ได้ถือกำเนิดขึ้นมาด้วยการผสมผสานเอาการแสดงในรูปแบบต่าง ๆ ของญี่ปุ่นในสมัยก่อน ๆ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในบรรดานาฎศิลป์ประจำชาติที่ละคร "คาบูกิ" ได้รวบรวมเอาเทคนิคการแสดงและการกำกับมาใช้ ก็ได้ละคร "โนห์" (Noh) และการเล่นที่เรียกว่า "เกียวเงน" (Kyogen) หรือการเล่นตลกสลับฉากระหว่างการแสดงละคร "โนห์" ทุกวันนี้จำนวนชาวญี่ปุ่นที่มองเห็นคุณค่าของละคร "โนห์" อันแท้จริงนับวันก็จะลดน้อยลงไปกว่าจำนวนผู้ที่โปรดปรานการแสดง "คาบูกิ" ไปทุกขณะ แต่การแสดง "คาบูกิ" ที่ปรับปรุงหรือนำเอารูปแบบของละคร "โนห์" เข้ามารวมไว้ด้วยกลับได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และกลายเป็นรูปแบบการแสดงอย่างหนึ่งที่จะขาดไปจากคุณลักษณะทั้งหมดของ "คาบูกิ" เสียมิได้

การเล่นอีกชนิดหนึ่งที่กลมกลืนอยู่ในนาฎศิลป์ "คาบูกิ" ก็คือหุ่นกระบอก หรือที่เรียกกันว่า "บุนระกุ" (Bunraka) เป็นการเล่นที่เกิดขึ้นไล่ ๆ กับละคร "คาบูกิ" ในระยะแรก ๆ นั้นเอง การแสดงละคร "คาบูกิ" นั้น ถือเอาตัวละครเป็นหลักสำคัญมากกว่าหลักอื่นใด เช่น คุณค่าทางบทละครที่นำมาเล่น เป็นต้น ระหว่างต้น ๆ ศตวรรษที่ 17 มีนักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่บางท่านรวมทั้งมอนซาเอมอน ชิคามัตสุ ผู้ได้รับฉายาว่า "เชคสเปรียร์แห่งญี่ปุ่น" ได้วางมือจากการแต่งบทละครคาบูกิที่ยึดให้ตัวแสดงเป็นเอก หันมาแต่งบทละครหุ่นกระบอกซึ่งไม่เข้มงวดนักในด้านการเน้นบทบาทของตัวแสดงเอกเหมือน "คาบูกิ" ด้วยเหตุนี้ จึงมีอยู่ยุคหนึ่งที่การเล่นหุ่นกระบอกกลายเป็นการแสดงที่บดบังความสามารถของนักแสดงละครไประยะหนึ่ง และเป็นยุคที่หุ่นกระบอกได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายยิ่งกว่าละคร "คาบูกิ" เพื่อเอาชนะการเล่นชนิดนี้ จึงได้มีการปรับปรุงละคร "คาบูกิ" โดยรับเอาการเล่นแบบหุ่นกระบอกเข้ามารวมไว้ด้วยทั้งหมด ฉะนั้น ทุกวันนี้ละคร "คาบูกิ" ที่แสดงอยู่มากกว่าครึ่งยกเว้นกลุ่มละครรำรวมจึงกำหนดให้มีการแสดงนาฏศิลป์ต้นแบบ "บุนระกุ" เข้าไว้ด้วย ตัวอย่างอันสมบูรณ์จากการแสดงผสมผสานต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็น "คาบูกิ" ในบั้นปลายได้มีขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งรวบรวมเอาจินตนิยายเข้ามาผสมจนกลายเป็นศิลปการแสดงของละครชนิดนี้ขึ้นด้วย

ประชาชนญี่ปุ่นยังไม่เคยได้ชมละครชนิดใดที่จะแสดงทั้งสีสันอันวิจิตรตระการตา งามโอ่อ่าตื่นเต้นประทับใจครบทุกรส เหมือนการชมละคร "คาบูกิ" มาก่อนเลย โดยคุณลักษณะเหล่านี้ อาจกล่าวได้ว่า คงไม่มีละครแบบใด ๆ ในโลกที่จะอาจเทียบได้กับละคร "คาบูกิ" ของญี่ปุ่น






วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

มรรค

มรรคมีองค์ 8

1. สัมมาทิฏฐิ การเห็นแจ้งในอริยสัจทั้ง 4 คือ
1) เห็นแจ้งใน ทุกขสัจจะ คือ ความจริงที่เป็นทุกข์
2) เห็นแจ้งใน สมุทยสัจจะ คือ รู้ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
3) เห็นแจ้งใน นิโรธสัจจะ คือ รู้ธรรมที่เป็นเครื่องดับทุกข์
4) เห็นแจ้งใน มรรคสัจจะ คือ รู้ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์
2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบเกี่ยวกับ
1) ความดำริที่ออกจากกามคุณ มีรูป, รส, กลิ่น, เสียง โผฎฐัพพรมณ์
2) ความดำริที่ประกอบด้วยเมตตา
3) ความดำริที่ประกอบด้วยกรุณา เหล่านี้ ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ
3. สัมมาวาจา การเว้นจาก วจีทุจริต 4 ที่ไม่เกี่ยวกับอาชีพ ชื่อว่า สัมมาวาจา อาทิเช่น ไม่พูดโกหก, ไม่พูดส่อเสียด, ไม่พูดหยาบคาย, ไม่พูด เพ้อเจ้อ
4. สัมมากัมมันตะ การเว้นจากกายทุจริตทั้ง 3 คือ การฆ่าสัตว์, การลักทรัพย์, การประพฤติผิดในกาม ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ
5. สัมมาอาชีวะ การเว้นจากวจีทุจริต 4 และกายทุจริต 3 ที่เกี่ยวกับอาชีพ อาทิเช่น ไม่ค้ามนุษย์, ไม่ค้าอาวุธ, ไม่สัตว์มีชีวิต, ไม่ค้ายาพิษ, ไม่ค้าน้ำเมา
6. สัมมาวายมะ ความเพียรชอบ
7. สัมมาสติ ความระลึกที่ดำเนินไปตามสติปัฏฐานทั้ง 4 ชื่อว่า สัมมาสติ
8. สัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นในอารมณ์วิปัสสนากรรมฐาน ชื่อว่า สัมมาสมาธิ

แนวคิดในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันทั้งในด้านร่างกาย ความคิด และสติปัญญา อันเป็นผลทำให้ความสามารถต่าง ๆ ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันด้วย โดยเหตุนี้ ในด้านการเรียนการสอนก็เช่นเดียวกัน ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน
ดังนั้น การที่จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามสติปัญญาและความสามารถของตน ย่อมเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนนั้นเรียนได้ตามความสามารถ โดยการใช้สื่อและรูปแบบการเรียนชนิดต่าง ๆ เพื่อความเหมาะสมและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
การจัดการเรียนการสอนรายบุคคล มุ่งสอนผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้สอนจะต้องวางแผนการสอน โดยกำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการสอน การจัดเตรียมเนื้อหาวิชา วิธีการเรียน และสื่อการเรียนให้เหมาะสม
ปัจจุบันมีการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ที่สำคัญและน่าจะนำมาประยุกต์ทางด้านการศึกษาก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบสื่อประสม (Multimedia) เป็นระบบที่คอมพิวเตอร์ประมวลและแสดงได้ทั้งข้อความ ภาพกราฟฟิค ภาพเคลื่อนไหว และเสียงได้พร้อมกัน สำหรับงานการศึกษานั้น มัลติมีเดียช่วยให้การจัดทำโปรแกรมบทเรียนน่าสนุกขึ้น เพลิดเพลินขึ้น นักเรียนสามารถเรียนได้ตามความต้องการไม่มีใครบังคับ จะเรียนช้าเรียนเร็วขึ้นอยู่กับความรู้พื้นฐานและความสามารถของผู้เรียนเอง
สมศรี (2536 : 113) ได้กล่าวถึงแนวความคิดการจัดการศึกษายุคใหม่ว่า
1. การศึกษายุคใหม่เน้นการเรียนมากกว่าการสอน เน้นอุปกรณ์การเรียนมากกว่าการสอน ความรู้ที่สอนในบทบาทเดิมต้องเปลี่ยนและต้องอาศัยนวัตกรรมเข้ามาช่วยเสริม
2. ต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. การเรียนการสอนต้องอาศัยเทคโนโลยี การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4. การศึกษาจะต้องช่วยให้คนรับรู้ได้ถูกต้อง และสามารถให้เยาวชนและคนไทยรู้จักปรับตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม และรู้จักประมาณตนเอง
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน เรียกว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI พัฒนามาจากบทเรียนโปรแกรมของ B.F. Skinner ตามวิวัฒนาการของเทคโนโลยี โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์นำเสนอบทเรียน โดยมีพื้นฐานอยู่ที่ความสัมพันธ์ของการกระตุ้นและการตอบสนอง ตามหลักการ ดังนี้
1. ให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียน เช่น เนื้อหา ข้อความ หรือโจทย์
2. ให้การชี้แนะ หรือให้แนวทางผู้เรียนในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น ให้ตอบคำถาม หรือ ให้เลือกคำตอบที่กำหนดให้
3. ให้แรงเสริมทันทีที่ผู้เรียนตอบถูก เช่น ดีมาก เก่งจริง เสียงปรบมือ หรือ ให้เป็นคะแนน
ลักษณะของการนำเสนอบทเรียน CAI นั้น เป็นการนำเสนอบทเรียนไปทีละกรอบเนื้อหา โดยผู้สร้างบทเรียนจะนำผู้เรียนไปสู่การตอบสนองที่ถูกต้อง หรือตามที่คาดหวัง และเมื่อผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง ผู้เรียนจะได้รับทราบว่าตนเอง ตอบถูกต้อง จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่า ตนเองประสบความสำเร็จ และส่งผลให้ผู้เรียนเพิ่มโอกาสในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

คอมพิวเตอร์เป็นผลิตผลของการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านอิเลคทรอนิกส์ ที่สามารถนำมาใช้งานตามความประสงค์ของผู้ใช้ และยังทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการสอนได้อีกด้วย ความสามารถของคอมพิวเตอร์ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและโต้ตอบได้ เพียงกดปุ่มลงบน Keyboard หรือใช้ Mouse Click ที่สัญลักษณ์บนจอภาพก็ได้ ช่องทางของการมีปฎิสัมพันธ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์นับวันจะเพิ่มมากขึ้น คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ทางด้านการเรียนการสอน เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Computer – Assisted Instruction หรือเป็นที่นิยมเรียกตัวย่อของคำแรกว่า CAI
คำว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer – Assisted Instruction: CAI) นั้น ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายความหมาย ดังนี้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI หมายถึง บทเรียนที่ได้จัดกระทำไว้อย่างเป็นระบบเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์โดยนำเสนอเนื้อหาที่ต้องการสอนกับผู้เรียนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ (Interactive) โดยตรงตามความสามารถ (กฤษมันต์, 2536 : 136)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นโปรแกรมในการเรียนการสอนโดยที่เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด และการทดสอบจะถูกพัฒนาขึ้นในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมักเรียกว่า Courseware ผู้เรียนจะเรียนบทเรียนจากคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์จะสามารถเสนอเนื้อหาวิชา ซึ่งอาจจะเป็นทั้งในรูปตัวหนังสือและกราฟฟิค มีการตั้งคำถาม รับคำตอบจากผู้เรียน ตรวจคำตอบ และให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียน (ขณิษฐา, 2532 : 6)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน การทบทวน การทำแบบฝึกหัด หรือการวัดผล โดยมีการโต้ตอบกันตลอดเวลาระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ (ทักษิณา, 2530: 206)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำเนื้อหาและลำดับวิธีการสอนมาบันทึกไว้ คอมพิวเตอร์จะช่วยนำบทเรียนที่เตรียมไว้อย่างเป็นระบบมาเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนแต่ละคน (ยืน, 2531 : 121)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องช่วยครูในการเรียนการสอน โปรแกรมการเรียนการสอนมักบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับที่ครูจะมาสอน แต่แทนที่ครูจะสอนเนื้อหาวิชาเอง ครูก็บรรจุเนื้อหาเหล่านั้นไว้ในโปรแกรม และนักเรียนสามารถเรียน สามารถฝึกด้วยตนเอง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาแทนครู (ผดุง, 2547 : 41)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง วิธีการเรียนซึ่งใข้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเสนอเนื้อหาด้วยบทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่างเหมาะสม เป็นการเรียนโดยตรงและเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับคอมพิวเตอร์ (วีระ, 2531 : 8)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ กระบวนการสอนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเสนอบทเรียนระบบโต้ตอบ (Interaction Mode) เพื่อก่อให้เกิดการเรียนแบบเอกัตบุคคลสำหรับผู้เรียนแต่ละคน ได้แก่ การฝึกทักษะ การสอนแบบตัวต่อตัว สถานการณ์จำลอง เกมส์ และการแก้ปัญหา (Splittgerber, 1979 : 20)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การประยุกต์คอมพิวเตอร์ ซึ่งได้ถูกนำมาช่วยในการเรียนของนักเรียน การประยุกต์นี้เป็นการโต้ตอบระหว่างนักเรียน และขั้นตอนคำสั่งของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะสามารถบอกที่บกพร่องของนักเรียนได้เมื่อกระทำผิดพลาด (Sipplo, 1981 : 77)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการสอนที่ประกอบด้วยการเสนอเนื้อหา การให้คำแนะนำแก่ผู้เรียน การให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝน และมีการประเมินผลการเรียนของผู้เรียน การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการผสมผสานของกิจกรรม (Alessi and Trollip, 1985)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นกระบวนการเรียนการสอนส่วนบุคคล โดยให้ลำดับขั้นตอนของการเรียนการสอนแก่นักเรียน ภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์ อัตราความก้าวหน้าในการเรียนรู้นั้นขึ้นอยู่กับตัวของนักเรียนเอง คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนสามารถตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลของนักเรียนแต่ละคนได้ (Donald D. Spencer, 1977 : 50)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นคอมพิวเตอร์ที่ช่วยทำให้นักเรียนรู้วิชาไปทีละขั้นตอน โดยในขณะที่มีการเรียนการสอนที่ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของนักเรียนนั้น คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่ถามคำถามได้ คอมพิวเตอร์สามารถย้อนกลับไปสู่รายละเอียดที่ผ่านมาแล้วได้ หรือสามารถให้การฝึกฝนซ้ำให้แก่นักเรียนได้ (John Prenis, 1977 : 20)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์แสดงการฝึกฝน ฝึกหัด และทบทวนลำดับบทเรียนให้แก่นักเรียน และบางทีก็ช่วยนักเรียนในด้านการโต้ตอบเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนการสอน (K. L Zinn, 1976 : 268)
จากความหมายต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถแสดงองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ คือ
1. เป็นการเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์
2. บทเรียนได้ถูกสร้างและเตรียมไว้แล้วก่อนมีการเรียนเกิดขึ้น
3. ผู้เรียนมีปฎิสัมพันธ์กับบทเรียนผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์
4. ยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล
กล่าวโดยสรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การนำคอมพิวเตอร์มาเป็นโปรแกรมในการเรียนการสอน ที่นักเรียนสามารถค้นคว้าหาคำตอบและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยที่บทเรียนได้ถูกสร้างขึ้นแล้วในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม และคอมพิวเตอร์จะนำเสนอบทเรียนที่เตรียมไว้แล้วอย่างเป็นระบบนั้นโดยตรงไปยังผู้เรียน ผ่านทางจอภาพ ซี่งผู้เรียนสามารถปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้แป้นพิมพ์ และเมาส์

ข้อจำกัดของการเรียนการสอนแบบ E - Learning

แม้ว่าประเด็นเกี่ยวกับคุณประโยชน์และข้อดีของ E – Learnging จะมีการศึกษาและยอมรับกัน โดยทั่วไปก็ตาม แต่ก็มิใช่ว่าการเรียนในระบบนี้จะปราศจากข้อเสียหรือข้อจำกัดไปเสียเลย ได้มีการศึกษาไว้ว่าการเรียนการสอนผ่านเว๊บนั้น ยังคงมีข้อจำกัดบางประการอันได้แก่ (University of North Carolina., 2531)
1. ข้อด้อยของรูปแบบมัลติมีเดีย (Format Weakness)
แม้ว่าเว๊บสามารถนำเสนอมัลติมีเดียรูปแบบต่าง ๆ ได้มากมาย แต่รูปแบบสื่อแต่ละชนิดยังเป็นปัญหาอยู่บ้าง การนำเสนอด้วยตัวอักษรทำให้ผู้เรียนสามารถอ่านและพิมพ์ออกมาได้ง่ายในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ในขณะที่วีดีโอบนเว๊บเคลื่อนไหวช้ากว่าวีดีทัศน์ หรือโทรทัศน์ธรรมดา นอกจากนี้การติดต่อสื่อสาร ณ เวลาจริง (Real – Time Communication) ยังไม่สามารถให้ความรู้สึกได้เหมือนจริง และด้วยข้อจำกัดเรื่อง bandwidth ทำให้การดาวน์โหลดข้อมูลมัลติมีเดียกินเวลานานและน่าเบื่อหน่ายสำหรับผู้เรียน

2. ปํญหาและเส้นทางการเข้าสู้เนื้อหา (Navigational Problems)
แม้ hypertext จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงออกสู่เนื้อหาภายนอกต่อไปได้ก็ตาม แต่ถ้าการออกแบบบทเรียนไม่ดีพอแล้ว ผู้เรียนอาจหลงทางและหลงประเด็นไปได้ ทำให้การเรียนมีปัญหาและไม่ได้ผลตามเป้าหมาย (Hall, Brandon., 2540)

3. การขาดการติดต่อระหว่างบุคคล (Lock of Human Contact)
ในการเรียนผ่านเว๊บ ครูจะไม่มีโอกาสได้เห็นว่านักเรียนเกิดความสงสัยหรือไม่เข้าใจ และนักเรียนบางคน ก็มีความพึงพอใจกับความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนแบบดั้งเดิมมากกว่า อย่างไรก็ตามมีความพยายามแก้ไขปัญหา โดยการทดแทนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วยการใช้ E – mail หรือการจัดให้มี discussion forum เพื่อที่ผู้เรียนจะสามารถมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ ได้บ้าง

4. แรงจูงใจ (Motivation)
นักเรียนในชั้นเรียนที่มีการสอนผ่านเว๊บต้องมีแรงจูงใจส่วนตัว และมีการจัดระบบการเรียนการขาดการวางแผนการศึกษาจะทำให้นักเรียนไม่ประสบความสำเร็จกับการเรียนและอาจสอบไม่ผ่านในหลักสูตรนั้น ๆ ได้

5. เนื้อหาที่ไม่มีข้อยุติ (Open – Ended Content)
เนื้อหาของการเรียนการสอนผ่านเว๊บที่เสนอให้กับผู้เรียนนั้นบางครั้ง ผู้เรียนจะไม่รู้ขอบเขตของเนื้อหาสิ้นสุดที่ใด และอาจเป็นเหตุให้ผู้เรียนเกิดความสับสนได้

ข้อดีของการเรียนการสอนแบบ E - Learning

ข้อดีของการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เห็นได้ชัด คือ ช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะทางระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เช่น การสอนทางไกลโดยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และอาจใช้เทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ช่วยแก้ปัญหากรณีผู้เรียนและผู้สอนว่างไม่ตรงกัน ซึ่งนับเป็นการช่วยลดช่องว่างทางการศึกษาได้ทางหนึ่ง สำหรับข้อดีของการเรียนการสอนผ่านเว๊บนั้น ซึ่งถือเป็นแกนหลักของ E - Learning ในความหมายปัจจุบันเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบเดิม ๆ แล้วสามารถอธิบายได้หลายประเด็น ดังนี้ (University of North Carolina., 2351)
1. ความยืดหยุ่นและความสะดวก (Flexibility and Convenience)
ผู้เรียน E – Learning สามารถเข้าถึงเนื้อหาหลักสูตร ณ เวลาและสถานที่ใดก็ได้ตามแต่ความสะดวก ซึ่งเป็นการขจัดข้อจำกัดทางกายภาพที่เกิดจากการเรียนในห้องเรียนแบบเดิม การเรียนผ่านทางเว๊บสามารถเรียนได้จากที่บ้าน ที่ทำงาน หรือสถานศึกษาตามความสะดวกของผู้เรียน เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายในการใช้ห้องเรียน (Hall, Brandon., 2540)

2. เรียนได้ทันใจตามความต้องการ (Just in time Learning)
นักเรียนสามารถเรียนผ่านเว๊บได้ทุกขณะที่ต้องการ การเรียนผ่าน E - Learning จึงสามารถชักจูงใจและทำให้ผู้เรียนเรียนได้เป็นเวลานานโดยไม่เบื่อ ผู้เรียนสามารถค้นหาและเข้าถึงความรู้ใหม่ ๆ ได้ทันเวลาและความต้องการ นอกจากนี้เนื้อหาที่เรียนผ่านทางเว๊บที่ถูกปรับปรุงใหม่ทุกขณะ ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และนำไปใช้ได้อย่างทันการณ์ (Kahn, badrul., 2540)

3. ผู้เรียนเป็นฝ่ายควบคุม (Learner control)
ในสภาพการเรียนการสอนผ่านเว๊บ ผู้เรียนจะมีเสรีภาพในการค้นคว้าและเรียนรู้สิ่งที่ตนสนใจซึ่งบางครั้งอาจเป็นสิ่งที่นอกเหนือความคาดหวังของผู้สอนผู้เรียนสามารถตัดสินใจเรื่องจังหวะการเรียนและประเด็นสำคัญของเนื้อหาการเรียน จึงทำให้เส้นทางของการเรียนแบบ E – Learning ของนักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันตามความต้องการของตนเอง ถ้าผู้เรียนมีวินัยในตนเอง มีเป้าหมาย และความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของการเรียนการสอนผ่านเว๊บ จึงทำให้ผู้เรียนควบคุมการเรียนผ่านเว๊บได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Ellis, Risk., 2540)

4. รูปแบบมัลติมีเดีย (Multimedia Format)
เวิลด์ ไวด์ เว๊บ ช่วยให้การนำเสนอเนื้อหามีรูปแบบที่หลากหลาย รวมทั้งตัวอักษร เสียง วีดีทัศน์ และการติดต่อสื่อสาร ณ เวลาจริง คุณสมบัตินี้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกรูปแบบการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพต่อการเรียนของคนมากที่สุด และครูผู้สอนก็สามารถเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับหลักสูตรมากที่สุดได้ (Kahn, badrul., 2540)

5. แหล่งทรัพยากรข้อมูล (Information Resource)
มีปัจจัย 2 ประการที่ทำให้เว๊บเป็นแหล่งทรัพยากรทางข้อมูลที่สำคัญ ประการแรกคือทุกวันนี้ข้อมูลที่หลากหลายจำนวนมหาศาลอยู่บนเว๊บ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากแหล่งการศึกษา ธุรกิจหรือจากแหล่งการศึกษา ธุรกิจหรือจากภาครัฐทั่วโลก (McManus, T.F. 2539) ปัจจัยประการที่ 2 คือ รูปแบบ “hypertext” ของเวิลด์ ไวด์ เว๊บ ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคลิกเชื่อมไปสู่เว๊บอื่นได้ นักเรียนจึงสามารถก้าวผ่านห้องเรียนออกไปสู่แหล่งข้อมูลภายนอกได้ง่ายดาย โดยการเรียนผ่านเว๊บนี้เอง

6. ความทันสมัย (Currency)
เนื้อหาที่ใช้ในการเรียนบนเว๊บนั้นสามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่ายเมื่อเปรียบเทียบกับหนังสือเรียน จึงทำให้ครูสามารถนำเสนอข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดเท่าที่มีอยู่ให้แก่ผู้เรียน (Kahn, badrul., 2540)

7. ช่วยเผยแพร่ผลงาน (Publishing Capabilities)
นักเรียนที่ส่งงานไว้บนเว๊บ ถือว่าเป็นโอกาสที่จะได้เผยแพร่ผลงานของตนเองออกสู่สาธารณะเว๊บเป็นแหล่งประกาศผลงานที่ดีเลิศ เพราะคนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยไม่มีข้อมูลจำกัดด้านเวลาและสถานที่และผู้เรียนก็มีโอกาสได้เห็นผลงานของผู้อื่นบนเว๊บด้วยเช่นกัน (Hunnum, W., 2541)

8. เพิ่มทักษะทางเทคโนโลยี (Increase Technology Skills)
การเรียนผ่านทางเว๊บทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและเพิ่มพูนความสามารถในการใช้เทคโนโลยียิ่งขึ้นโดยลำดับ เพราะนักเรียนจะได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ และฝึกฝนทักษะได้จากเทคโนโลยีอันหลากหลาย (hunnum,W., 2541)

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

โรคตาแดง

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส เกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น ก็อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้ตาพิการได้
โรคตาแดงเป็นโรคระบาดในกลุ่มคนที่อยู่รวมกันอย่างแออัด โดยอาจแพร่ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับน้ำตา ขี้ตาของผู้ป่วย
· ใช้มือสกปรกที่มีเชื้อโรคขยี้ตา
· ใช้สิ่งของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา ขันน้ำ และของใช้อื่น ๆ ร่วมกับผู้ที่เป็นโรค
· แมลงวันหรือแมลงหวี่ตอมตา
อาการ
หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าตาประมาณ 24 – 28 ชั่วโมง จะมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา มีน้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวจะอักเสบ แดง ซึ่งอาจเริ่มที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน หรือเป็นทั้ง 2 ข้างพร้อมกันก็ได้ อาจมีไข้ต่ำ ๆ หรือครั่นเนื้อครั่นตัว หรืออาการปวดเสียวที่แขนขาด้วย ผู้ป่วยมักจะหายได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ ถ้าไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
เมื่อเป็นโรคตาแดงควรปฏิบัติ ดังนี้
· เมื่อมีอาการตามที่กล่าวมา ควรรีบไปพบแพทย์ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะชนิดหยอดหรือป้ายตา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย ป้ายตาติดต่อกันประมาณ 7 วัน สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีไข้ ปวดศีรษะ ก็ใช้ยาลดไข้แก้ปวดตามอาการถ้ามีอาการรุนแรงขึ้นต้องรีบไปพบแพทย์อีกครั้ง
· ควรพักสายตา ไม่ใช้สายตามากนัก
· ควรหยุดเรียนหรือหยุดงานประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าอาการตาแดงจะหายเป็นปกติ และไม่ควรไปในที่ชุมชน เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เพราะอาจนำโรคไปแพร่ติดต่อให้ผู้อื่นได้
· แยกของใช้ส่วนตัวของผู้ป่วย อย่าให้ผู้อื่นใช้ร่วมด้วย
· ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากถูกต้องตาม และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ
วิธีป้องกันไม่ให้ติดโรคตาแดง
โรคนี้ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่
· หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ใช้มือที่ไม่ได้ล้างให้สะอาดขยี้ตา
· เมื่อฝุ่นละอองเข้าตา ไม่ขยี้ตาให้ล้างด้วยน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว
. ไม่ใช้สิ่งของ เช่น แว่นตา ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดมือ หรือถ้วยล้างตา ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อมีโรคตาแดงระบาดต้องระวังให้มากยิ่งขึ้น
. ซักเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ฯลฯ ผึ่งแดดให้สะอาดอยู่เสมอ
. ในสถานที่ที่คนอยู่รวมกันอย่างแออัดควรจัดหาน้ำสะอาดให้เพียงพอสำหรับการล้างมือล้างหน้า และใช้อาบ

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

สำนวนไทย

มี 3 ชนิดคือ
· ประเภทพูดคล้องจองกัน
· สำนวนไทยประเภทพูดเปรียบเทียบ
· สำนวนไทยประเภทคำซ้ำ

ลักษณนามใช้เพื่อบอกอาการ

กลุ่ม ของที่ทำเป็นกลุ่ม ด้าย ไหม สายสิญจน์
กำ ของที่เป็นกำ เช่น ดอกไม้ ดอกบัว ผักบุ้ง
ขด ของที่ใช้เป็นขด เช่น ลวด สายไฟ
จีบ ของที่จับจีบ เช่น พลู
จับ ของที่เป็นจับ เช่น ขนมจีน
พับ ของที่พับไว้ เช่น ผ้าไหม ผ้า
ฟ่อน ของที่ทำเป็นฟ่อน เช่น หญ้า ฟาง
มวน บุหรี่
มัด ของที่ทำเป็นมัด เช่น ฟืน ข้าวต้มมัด
ห่อ ของที่ทำเป็นห่อ เช่น แหนม ขนม ห่อหมก
ตั้ง ของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น กระดาษ สมุด

ลักษณนามใช้เพื่อบอกสัณฐาน

ก้อน กรวด หิน ดิน ถ่าน
กระบอก ปืน ไม้ไผ่ ข้าวหลาม พลุ ไฟฉาย
ก้าน ไม้ขีด ธูป ก้านพูล
กลีบ ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ
กอ ไม้ไผ่ ผักตบชวา
คัน เบ็ด ร่ม กระบวย ฉัตร ธนู ขอ ไถ รถ ของที่มีส่วนสำหรับถือหรือลาก เป็นรูปยาว ๆ
ซี่ รอยด่าง ตรา เกลื้อน ตะวัน ดาว จิต วิญญาณ ตราไปรษณียากร ของที่เป็นรอยกลม ๆ ของที่มีแสงสว่างเป็นดวงกลม ๆ
ต้น ต้นไม้ เสา ซุง
แถบ ของที่มีลักษณะแบน บาง และแคบ เช่น ผ้าแถบ
แท่ง ของที่ทึบหนามีรูปยาว ๆ
บาน ของที่เป็นแผ่นที่มีกรอบ
ปาก เครื่องดักสัตว์ที่มีรูปเป็นปากกว้าง
ปื้น ของที่มีลักษณะแบน กว้างติดกันเป็นพืช เช่น เลื่อย
ผืน ผ้า เสื่อ พรม
แผ่น ของที่มีลักษณะแบนบาง
ลำ ของกลม ยาวเป็นปล้อง เช่น ไม้ไผ่ อ้อย เรือ
วง ของที่มีลักษณะเป็นวง เช่น แหวน กำไล

ลักษณนามที่ใช้เพื่อบอกชนิดที่เป็นหมวดหมู่

กอง ขยะ ไฟ ฟาง ทัพ อิฐ
กลุ่ม คน ด้าย ไหม สายสิญจน์
โขลง ช้าง
คณะ กรรมการ ลิเก
ตับ จาก พลุ ลูกปืน ปลาย่าง ประทัด
นิกาย ศาสนา
ผูก หนังสือโบราณ ใบลาน
ฝูง ปลา นก
พวก เหล่า นักเลง นักเรียน สัตว์
พรรค พรรคการเมือง
โรง ละคร ลิเก โขน
วง ตะกร้อ ดุริยางค์ แตรวง มโหรี ดนตรี
หมู่ คน สัตว์ สิ่งของที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

ลักษณนามที่ใช้เพื่อบอกชนิดของ

ขนาน ยา
ฉบับ กฎหมาย แถลงการณ์ คำร้อง ฉลาก โฉนด เช็ค โทรเลข จดหมาย หนังสือพิมพ์
เชือก ช้าง
ตน ยักษ์ ภูตผีปิศาจ ฤษี วิทยาธร
ตัว สัตว์ต่าง ๆ เช่น แมว สุนัข หนู สิ่งของบางชนิด เช่น เครื่องเรือน เสื้อ กางเกง กระโปรง
เถา ไม้เลื้อย เช่น เถาวัลย์
บท กาพย์ กลอน คาถา ทฤษฎี บทความ
ใบ ภาชนะต่าง ๆ เช่น กระถาง กระจาด แจกัน ตะกร้อ
เครื่องดนตรี เช่น กลอง ตะโพน
เครื่องแต่งกาย เช่น หมวก
เครื่องใช้ เช่น นามบัตร สลากกินแบ่ง เซียมซี
ราย ลูกหนี้ เจ้าหนี้ คนใช้ เจ้าภาพ อุบัติเหตุ
รูป พระภิกษุ ชี สามเณร รูปวาด รูปถ่าย
เรื่อง คดี เรื่องราว ข้อความ ข่าว
เล่ม กรรไกร เกวียน เข็ม หนังสือ เทียน มีด สิ่ว พาย
เลา ปี่ ขลุ่ย
อัน กรวย กระชอน กล้อง เข็มกลัด เขียง ซิป ตะหลิว ฝาชี

ลักษณนามที่พระยาอุปกิตศิลปะสารได้รวบรวมไว้

มี 4 ประเภท คือ
· ลักษณนามที่ใช้เพื่อบอกชนิดของ
· ลักษณนามที่ใช้เพื่อบอกชนิดที่เป็นหมวดหมู่
· ลักษณนามใช้เพื่อบอกสัณฐาน
· ลักษณนามใช้เพื่อบอกอาการ

ลักษณนาม

ลักษณนาม
ภาษาไทยมีลักษณะนามใช้ การใช้ภาษาไทยโดยลักษณะนามถือเป็นข้อบกพร่อง คำลักษณนาม หมายถึง คำที่บอกลักษณนามทั้งหลาย เพื่อให้รู้ว่านามนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร ลักษณะนามมีที่ใช้ดังนี้
1. ใช้ตามหลังคำนาม เพื่อบอกจำนวนนับ
· บ้าน 1 หลัง
· รถ 10 คัน
· ช้าง 2 เชือก

2. ใช้ตามหลังคำนาม เมื่อต้องการจะเน้นข้อความ
· วิทยุเครื่องนี้เสียงชัดดี
· บ้านหลังนี้ใหญ่มาก
· แก้วใบนั้นแม่ทำแตก