วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

มรรค

มรรคมีองค์ 8

1. สัมมาทิฏฐิ การเห็นแจ้งในอริยสัจทั้ง 4 คือ
1) เห็นแจ้งใน ทุกขสัจจะ คือ ความจริงที่เป็นทุกข์
2) เห็นแจ้งใน สมุทยสัจจะ คือ รู้ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
3) เห็นแจ้งใน นิโรธสัจจะ คือ รู้ธรรมที่เป็นเครื่องดับทุกข์
4) เห็นแจ้งใน มรรคสัจจะ คือ รู้ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์
2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบเกี่ยวกับ
1) ความดำริที่ออกจากกามคุณ มีรูป, รส, กลิ่น, เสียง โผฎฐัพพรมณ์
2) ความดำริที่ประกอบด้วยเมตตา
3) ความดำริที่ประกอบด้วยกรุณา เหล่านี้ ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ
3. สัมมาวาจา การเว้นจาก วจีทุจริต 4 ที่ไม่เกี่ยวกับอาชีพ ชื่อว่า สัมมาวาจา อาทิเช่น ไม่พูดโกหก, ไม่พูดส่อเสียด, ไม่พูดหยาบคาย, ไม่พูด เพ้อเจ้อ
4. สัมมากัมมันตะ การเว้นจากกายทุจริตทั้ง 3 คือ การฆ่าสัตว์, การลักทรัพย์, การประพฤติผิดในกาม ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ
5. สัมมาอาชีวะ การเว้นจากวจีทุจริต 4 และกายทุจริต 3 ที่เกี่ยวกับอาชีพ อาทิเช่น ไม่ค้ามนุษย์, ไม่ค้าอาวุธ, ไม่สัตว์มีชีวิต, ไม่ค้ายาพิษ, ไม่ค้าน้ำเมา
6. สัมมาวายมะ ความเพียรชอบ
7. สัมมาสติ ความระลึกที่ดำเนินไปตามสติปัฏฐานทั้ง 4 ชื่อว่า สัมมาสติ
8. สัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นในอารมณ์วิปัสสนากรรมฐาน ชื่อว่า สัมมาสมาธิ

แนวคิดในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันทั้งในด้านร่างกาย ความคิด และสติปัญญา อันเป็นผลทำให้ความสามารถต่าง ๆ ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันด้วย โดยเหตุนี้ ในด้านการเรียนการสอนก็เช่นเดียวกัน ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน
ดังนั้น การที่จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามสติปัญญาและความสามารถของตน ย่อมเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนนั้นเรียนได้ตามความสามารถ โดยการใช้สื่อและรูปแบบการเรียนชนิดต่าง ๆ เพื่อความเหมาะสมและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
การจัดการเรียนการสอนรายบุคคล มุ่งสอนผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้สอนจะต้องวางแผนการสอน โดยกำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการสอน การจัดเตรียมเนื้อหาวิชา วิธีการเรียน และสื่อการเรียนให้เหมาะสม
ปัจจุบันมีการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ที่สำคัญและน่าจะนำมาประยุกต์ทางด้านการศึกษาก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบสื่อประสม (Multimedia) เป็นระบบที่คอมพิวเตอร์ประมวลและแสดงได้ทั้งข้อความ ภาพกราฟฟิค ภาพเคลื่อนไหว และเสียงได้พร้อมกัน สำหรับงานการศึกษานั้น มัลติมีเดียช่วยให้การจัดทำโปรแกรมบทเรียนน่าสนุกขึ้น เพลิดเพลินขึ้น นักเรียนสามารถเรียนได้ตามความต้องการไม่มีใครบังคับ จะเรียนช้าเรียนเร็วขึ้นอยู่กับความรู้พื้นฐานและความสามารถของผู้เรียนเอง
สมศรี (2536 : 113) ได้กล่าวถึงแนวความคิดการจัดการศึกษายุคใหม่ว่า
1. การศึกษายุคใหม่เน้นการเรียนมากกว่าการสอน เน้นอุปกรณ์การเรียนมากกว่าการสอน ความรู้ที่สอนในบทบาทเดิมต้องเปลี่ยนและต้องอาศัยนวัตกรรมเข้ามาช่วยเสริม
2. ต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. การเรียนการสอนต้องอาศัยเทคโนโลยี การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4. การศึกษาจะต้องช่วยให้คนรับรู้ได้ถูกต้อง และสามารถให้เยาวชนและคนไทยรู้จักปรับตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม และรู้จักประมาณตนเอง
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน เรียกว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI พัฒนามาจากบทเรียนโปรแกรมของ B.F. Skinner ตามวิวัฒนาการของเทคโนโลยี โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์นำเสนอบทเรียน โดยมีพื้นฐานอยู่ที่ความสัมพันธ์ของการกระตุ้นและการตอบสนอง ตามหลักการ ดังนี้
1. ให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียน เช่น เนื้อหา ข้อความ หรือโจทย์
2. ให้การชี้แนะ หรือให้แนวทางผู้เรียนในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น ให้ตอบคำถาม หรือ ให้เลือกคำตอบที่กำหนดให้
3. ให้แรงเสริมทันทีที่ผู้เรียนตอบถูก เช่น ดีมาก เก่งจริง เสียงปรบมือ หรือ ให้เป็นคะแนน
ลักษณะของการนำเสนอบทเรียน CAI นั้น เป็นการนำเสนอบทเรียนไปทีละกรอบเนื้อหา โดยผู้สร้างบทเรียนจะนำผู้เรียนไปสู่การตอบสนองที่ถูกต้อง หรือตามที่คาดหวัง และเมื่อผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง ผู้เรียนจะได้รับทราบว่าตนเอง ตอบถูกต้อง จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่า ตนเองประสบความสำเร็จ และส่งผลให้ผู้เรียนเพิ่มโอกาสในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

คอมพิวเตอร์เป็นผลิตผลของการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านอิเลคทรอนิกส์ ที่สามารถนำมาใช้งานตามความประสงค์ของผู้ใช้ และยังทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการสอนได้อีกด้วย ความสามารถของคอมพิวเตอร์ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและโต้ตอบได้ เพียงกดปุ่มลงบน Keyboard หรือใช้ Mouse Click ที่สัญลักษณ์บนจอภาพก็ได้ ช่องทางของการมีปฎิสัมพันธ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์นับวันจะเพิ่มมากขึ้น คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ทางด้านการเรียนการสอน เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Computer – Assisted Instruction หรือเป็นที่นิยมเรียกตัวย่อของคำแรกว่า CAI
คำว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer – Assisted Instruction: CAI) นั้น ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายความหมาย ดังนี้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI หมายถึง บทเรียนที่ได้จัดกระทำไว้อย่างเป็นระบบเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์โดยนำเสนอเนื้อหาที่ต้องการสอนกับผู้เรียนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ (Interactive) โดยตรงตามความสามารถ (กฤษมันต์, 2536 : 136)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นโปรแกรมในการเรียนการสอนโดยที่เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด และการทดสอบจะถูกพัฒนาขึ้นในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมักเรียกว่า Courseware ผู้เรียนจะเรียนบทเรียนจากคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์จะสามารถเสนอเนื้อหาวิชา ซึ่งอาจจะเป็นทั้งในรูปตัวหนังสือและกราฟฟิค มีการตั้งคำถาม รับคำตอบจากผู้เรียน ตรวจคำตอบ และให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียน (ขณิษฐา, 2532 : 6)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน การทบทวน การทำแบบฝึกหัด หรือการวัดผล โดยมีการโต้ตอบกันตลอดเวลาระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ (ทักษิณา, 2530: 206)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำเนื้อหาและลำดับวิธีการสอนมาบันทึกไว้ คอมพิวเตอร์จะช่วยนำบทเรียนที่เตรียมไว้อย่างเป็นระบบมาเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนแต่ละคน (ยืน, 2531 : 121)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องช่วยครูในการเรียนการสอน โปรแกรมการเรียนการสอนมักบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับที่ครูจะมาสอน แต่แทนที่ครูจะสอนเนื้อหาวิชาเอง ครูก็บรรจุเนื้อหาเหล่านั้นไว้ในโปรแกรม และนักเรียนสามารถเรียน สามารถฝึกด้วยตนเอง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาแทนครู (ผดุง, 2547 : 41)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง วิธีการเรียนซึ่งใข้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเสนอเนื้อหาด้วยบทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่างเหมาะสม เป็นการเรียนโดยตรงและเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับคอมพิวเตอร์ (วีระ, 2531 : 8)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ กระบวนการสอนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเสนอบทเรียนระบบโต้ตอบ (Interaction Mode) เพื่อก่อให้เกิดการเรียนแบบเอกัตบุคคลสำหรับผู้เรียนแต่ละคน ได้แก่ การฝึกทักษะ การสอนแบบตัวต่อตัว สถานการณ์จำลอง เกมส์ และการแก้ปัญหา (Splittgerber, 1979 : 20)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การประยุกต์คอมพิวเตอร์ ซึ่งได้ถูกนำมาช่วยในการเรียนของนักเรียน การประยุกต์นี้เป็นการโต้ตอบระหว่างนักเรียน และขั้นตอนคำสั่งของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะสามารถบอกที่บกพร่องของนักเรียนได้เมื่อกระทำผิดพลาด (Sipplo, 1981 : 77)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการสอนที่ประกอบด้วยการเสนอเนื้อหา การให้คำแนะนำแก่ผู้เรียน การให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝน และมีการประเมินผลการเรียนของผู้เรียน การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการผสมผสานของกิจกรรม (Alessi and Trollip, 1985)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นกระบวนการเรียนการสอนส่วนบุคคล โดยให้ลำดับขั้นตอนของการเรียนการสอนแก่นักเรียน ภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์ อัตราความก้าวหน้าในการเรียนรู้นั้นขึ้นอยู่กับตัวของนักเรียนเอง คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนสามารถตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลของนักเรียนแต่ละคนได้ (Donald D. Spencer, 1977 : 50)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นคอมพิวเตอร์ที่ช่วยทำให้นักเรียนรู้วิชาไปทีละขั้นตอน โดยในขณะที่มีการเรียนการสอนที่ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของนักเรียนนั้น คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่ถามคำถามได้ คอมพิวเตอร์สามารถย้อนกลับไปสู่รายละเอียดที่ผ่านมาแล้วได้ หรือสามารถให้การฝึกฝนซ้ำให้แก่นักเรียนได้ (John Prenis, 1977 : 20)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์แสดงการฝึกฝน ฝึกหัด และทบทวนลำดับบทเรียนให้แก่นักเรียน และบางทีก็ช่วยนักเรียนในด้านการโต้ตอบเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนการสอน (K. L Zinn, 1976 : 268)
จากความหมายต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถแสดงองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ คือ
1. เป็นการเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์
2. บทเรียนได้ถูกสร้างและเตรียมไว้แล้วก่อนมีการเรียนเกิดขึ้น
3. ผู้เรียนมีปฎิสัมพันธ์กับบทเรียนผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์
4. ยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล
กล่าวโดยสรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การนำคอมพิวเตอร์มาเป็นโปรแกรมในการเรียนการสอน ที่นักเรียนสามารถค้นคว้าหาคำตอบและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยที่บทเรียนได้ถูกสร้างขึ้นแล้วในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม และคอมพิวเตอร์จะนำเสนอบทเรียนที่เตรียมไว้แล้วอย่างเป็นระบบนั้นโดยตรงไปยังผู้เรียน ผ่านทางจอภาพ ซี่งผู้เรียนสามารถปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้แป้นพิมพ์ และเมาส์

ข้อจำกัดของการเรียนการสอนแบบ E - Learning

แม้ว่าประเด็นเกี่ยวกับคุณประโยชน์และข้อดีของ E – Learnging จะมีการศึกษาและยอมรับกัน โดยทั่วไปก็ตาม แต่ก็มิใช่ว่าการเรียนในระบบนี้จะปราศจากข้อเสียหรือข้อจำกัดไปเสียเลย ได้มีการศึกษาไว้ว่าการเรียนการสอนผ่านเว๊บนั้น ยังคงมีข้อจำกัดบางประการอันได้แก่ (University of North Carolina., 2531)
1. ข้อด้อยของรูปแบบมัลติมีเดีย (Format Weakness)
แม้ว่าเว๊บสามารถนำเสนอมัลติมีเดียรูปแบบต่าง ๆ ได้มากมาย แต่รูปแบบสื่อแต่ละชนิดยังเป็นปัญหาอยู่บ้าง การนำเสนอด้วยตัวอักษรทำให้ผู้เรียนสามารถอ่านและพิมพ์ออกมาได้ง่ายในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ในขณะที่วีดีโอบนเว๊บเคลื่อนไหวช้ากว่าวีดีทัศน์ หรือโทรทัศน์ธรรมดา นอกจากนี้การติดต่อสื่อสาร ณ เวลาจริง (Real – Time Communication) ยังไม่สามารถให้ความรู้สึกได้เหมือนจริง และด้วยข้อจำกัดเรื่อง bandwidth ทำให้การดาวน์โหลดข้อมูลมัลติมีเดียกินเวลานานและน่าเบื่อหน่ายสำหรับผู้เรียน

2. ปํญหาและเส้นทางการเข้าสู้เนื้อหา (Navigational Problems)
แม้ hypertext จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงออกสู่เนื้อหาภายนอกต่อไปได้ก็ตาม แต่ถ้าการออกแบบบทเรียนไม่ดีพอแล้ว ผู้เรียนอาจหลงทางและหลงประเด็นไปได้ ทำให้การเรียนมีปัญหาและไม่ได้ผลตามเป้าหมาย (Hall, Brandon., 2540)

3. การขาดการติดต่อระหว่างบุคคล (Lock of Human Contact)
ในการเรียนผ่านเว๊บ ครูจะไม่มีโอกาสได้เห็นว่านักเรียนเกิดความสงสัยหรือไม่เข้าใจ และนักเรียนบางคน ก็มีความพึงพอใจกับความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนแบบดั้งเดิมมากกว่า อย่างไรก็ตามมีความพยายามแก้ไขปัญหา โดยการทดแทนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วยการใช้ E – mail หรือการจัดให้มี discussion forum เพื่อที่ผู้เรียนจะสามารถมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ ได้บ้าง

4. แรงจูงใจ (Motivation)
นักเรียนในชั้นเรียนที่มีการสอนผ่านเว๊บต้องมีแรงจูงใจส่วนตัว และมีการจัดระบบการเรียนการขาดการวางแผนการศึกษาจะทำให้นักเรียนไม่ประสบความสำเร็จกับการเรียนและอาจสอบไม่ผ่านในหลักสูตรนั้น ๆ ได้

5. เนื้อหาที่ไม่มีข้อยุติ (Open – Ended Content)
เนื้อหาของการเรียนการสอนผ่านเว๊บที่เสนอให้กับผู้เรียนนั้นบางครั้ง ผู้เรียนจะไม่รู้ขอบเขตของเนื้อหาสิ้นสุดที่ใด และอาจเป็นเหตุให้ผู้เรียนเกิดความสับสนได้

ข้อดีของการเรียนการสอนแบบ E - Learning

ข้อดีของการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เห็นได้ชัด คือ ช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะทางระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เช่น การสอนทางไกลโดยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และอาจใช้เทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ช่วยแก้ปัญหากรณีผู้เรียนและผู้สอนว่างไม่ตรงกัน ซึ่งนับเป็นการช่วยลดช่องว่างทางการศึกษาได้ทางหนึ่ง สำหรับข้อดีของการเรียนการสอนผ่านเว๊บนั้น ซึ่งถือเป็นแกนหลักของ E - Learning ในความหมายปัจจุบันเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบเดิม ๆ แล้วสามารถอธิบายได้หลายประเด็น ดังนี้ (University of North Carolina., 2351)
1. ความยืดหยุ่นและความสะดวก (Flexibility and Convenience)
ผู้เรียน E – Learning สามารถเข้าถึงเนื้อหาหลักสูตร ณ เวลาและสถานที่ใดก็ได้ตามแต่ความสะดวก ซึ่งเป็นการขจัดข้อจำกัดทางกายภาพที่เกิดจากการเรียนในห้องเรียนแบบเดิม การเรียนผ่านทางเว๊บสามารถเรียนได้จากที่บ้าน ที่ทำงาน หรือสถานศึกษาตามความสะดวกของผู้เรียน เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายในการใช้ห้องเรียน (Hall, Brandon., 2540)

2. เรียนได้ทันใจตามความต้องการ (Just in time Learning)
นักเรียนสามารถเรียนผ่านเว๊บได้ทุกขณะที่ต้องการ การเรียนผ่าน E - Learning จึงสามารถชักจูงใจและทำให้ผู้เรียนเรียนได้เป็นเวลานานโดยไม่เบื่อ ผู้เรียนสามารถค้นหาและเข้าถึงความรู้ใหม่ ๆ ได้ทันเวลาและความต้องการ นอกจากนี้เนื้อหาที่เรียนผ่านทางเว๊บที่ถูกปรับปรุงใหม่ทุกขณะ ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และนำไปใช้ได้อย่างทันการณ์ (Kahn, badrul., 2540)

3. ผู้เรียนเป็นฝ่ายควบคุม (Learner control)
ในสภาพการเรียนการสอนผ่านเว๊บ ผู้เรียนจะมีเสรีภาพในการค้นคว้าและเรียนรู้สิ่งที่ตนสนใจซึ่งบางครั้งอาจเป็นสิ่งที่นอกเหนือความคาดหวังของผู้สอนผู้เรียนสามารถตัดสินใจเรื่องจังหวะการเรียนและประเด็นสำคัญของเนื้อหาการเรียน จึงทำให้เส้นทางของการเรียนแบบ E – Learning ของนักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันตามความต้องการของตนเอง ถ้าผู้เรียนมีวินัยในตนเอง มีเป้าหมาย และความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของการเรียนการสอนผ่านเว๊บ จึงทำให้ผู้เรียนควบคุมการเรียนผ่านเว๊บได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Ellis, Risk., 2540)

4. รูปแบบมัลติมีเดีย (Multimedia Format)
เวิลด์ ไวด์ เว๊บ ช่วยให้การนำเสนอเนื้อหามีรูปแบบที่หลากหลาย รวมทั้งตัวอักษร เสียง วีดีทัศน์ และการติดต่อสื่อสาร ณ เวลาจริง คุณสมบัตินี้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกรูปแบบการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพต่อการเรียนของคนมากที่สุด และครูผู้สอนก็สามารถเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับหลักสูตรมากที่สุดได้ (Kahn, badrul., 2540)

5. แหล่งทรัพยากรข้อมูล (Information Resource)
มีปัจจัย 2 ประการที่ทำให้เว๊บเป็นแหล่งทรัพยากรทางข้อมูลที่สำคัญ ประการแรกคือทุกวันนี้ข้อมูลที่หลากหลายจำนวนมหาศาลอยู่บนเว๊บ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากแหล่งการศึกษา ธุรกิจหรือจากแหล่งการศึกษา ธุรกิจหรือจากภาครัฐทั่วโลก (McManus, T.F. 2539) ปัจจัยประการที่ 2 คือ รูปแบบ “hypertext” ของเวิลด์ ไวด์ เว๊บ ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคลิกเชื่อมไปสู่เว๊บอื่นได้ นักเรียนจึงสามารถก้าวผ่านห้องเรียนออกไปสู่แหล่งข้อมูลภายนอกได้ง่ายดาย โดยการเรียนผ่านเว๊บนี้เอง

6. ความทันสมัย (Currency)
เนื้อหาที่ใช้ในการเรียนบนเว๊บนั้นสามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่ายเมื่อเปรียบเทียบกับหนังสือเรียน จึงทำให้ครูสามารถนำเสนอข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดเท่าที่มีอยู่ให้แก่ผู้เรียน (Kahn, badrul., 2540)

7. ช่วยเผยแพร่ผลงาน (Publishing Capabilities)
นักเรียนที่ส่งงานไว้บนเว๊บ ถือว่าเป็นโอกาสที่จะได้เผยแพร่ผลงานของตนเองออกสู่สาธารณะเว๊บเป็นแหล่งประกาศผลงานที่ดีเลิศ เพราะคนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยไม่มีข้อมูลจำกัดด้านเวลาและสถานที่และผู้เรียนก็มีโอกาสได้เห็นผลงานของผู้อื่นบนเว๊บด้วยเช่นกัน (Hunnum, W., 2541)

8. เพิ่มทักษะทางเทคโนโลยี (Increase Technology Skills)
การเรียนผ่านทางเว๊บทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและเพิ่มพูนความสามารถในการใช้เทคโนโลยียิ่งขึ้นโดยลำดับ เพราะนักเรียนจะได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ และฝึกฝนทักษะได้จากเทคโนโลยีอันหลากหลาย (hunnum,W., 2541)

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

โรคตาแดง

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส เกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น ก็อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้ตาพิการได้
โรคตาแดงเป็นโรคระบาดในกลุ่มคนที่อยู่รวมกันอย่างแออัด โดยอาจแพร่ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับน้ำตา ขี้ตาของผู้ป่วย
· ใช้มือสกปรกที่มีเชื้อโรคขยี้ตา
· ใช้สิ่งของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา ขันน้ำ และของใช้อื่น ๆ ร่วมกับผู้ที่เป็นโรค
· แมลงวันหรือแมลงหวี่ตอมตา
อาการ
หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าตาประมาณ 24 – 28 ชั่วโมง จะมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา มีน้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวจะอักเสบ แดง ซึ่งอาจเริ่มที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน หรือเป็นทั้ง 2 ข้างพร้อมกันก็ได้ อาจมีไข้ต่ำ ๆ หรือครั่นเนื้อครั่นตัว หรืออาการปวดเสียวที่แขนขาด้วย ผู้ป่วยมักจะหายได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ ถ้าไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
เมื่อเป็นโรคตาแดงควรปฏิบัติ ดังนี้
· เมื่อมีอาการตามที่กล่าวมา ควรรีบไปพบแพทย์ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะชนิดหยอดหรือป้ายตา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย ป้ายตาติดต่อกันประมาณ 7 วัน สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีไข้ ปวดศีรษะ ก็ใช้ยาลดไข้แก้ปวดตามอาการถ้ามีอาการรุนแรงขึ้นต้องรีบไปพบแพทย์อีกครั้ง
· ควรพักสายตา ไม่ใช้สายตามากนัก
· ควรหยุดเรียนหรือหยุดงานประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าอาการตาแดงจะหายเป็นปกติ และไม่ควรไปในที่ชุมชน เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เพราะอาจนำโรคไปแพร่ติดต่อให้ผู้อื่นได้
· แยกของใช้ส่วนตัวของผู้ป่วย อย่าให้ผู้อื่นใช้ร่วมด้วย
· ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากถูกต้องตาม และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ
วิธีป้องกันไม่ให้ติดโรคตาแดง
โรคนี้ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่
· หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ใช้มือที่ไม่ได้ล้างให้สะอาดขยี้ตา
· เมื่อฝุ่นละอองเข้าตา ไม่ขยี้ตาให้ล้างด้วยน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว
. ไม่ใช้สิ่งของ เช่น แว่นตา ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดมือ หรือถ้วยล้างตา ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อมีโรคตาแดงระบาดต้องระวังให้มากยิ่งขึ้น
. ซักเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ฯลฯ ผึ่งแดดให้สะอาดอยู่เสมอ
. ในสถานที่ที่คนอยู่รวมกันอย่างแออัดควรจัดหาน้ำสะอาดให้เพียงพอสำหรับการล้างมือล้างหน้า และใช้อาบ

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

สำนวนไทย

มี 3 ชนิดคือ
· ประเภทพูดคล้องจองกัน
· สำนวนไทยประเภทพูดเปรียบเทียบ
· สำนวนไทยประเภทคำซ้ำ

ลักษณนามใช้เพื่อบอกอาการ

กลุ่ม ของที่ทำเป็นกลุ่ม ด้าย ไหม สายสิญจน์
กำ ของที่เป็นกำ เช่น ดอกไม้ ดอกบัว ผักบุ้ง
ขด ของที่ใช้เป็นขด เช่น ลวด สายไฟ
จีบ ของที่จับจีบ เช่น พลู
จับ ของที่เป็นจับ เช่น ขนมจีน
พับ ของที่พับไว้ เช่น ผ้าไหม ผ้า
ฟ่อน ของที่ทำเป็นฟ่อน เช่น หญ้า ฟาง
มวน บุหรี่
มัด ของที่ทำเป็นมัด เช่น ฟืน ข้าวต้มมัด
ห่อ ของที่ทำเป็นห่อ เช่น แหนม ขนม ห่อหมก
ตั้ง ของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น กระดาษ สมุด

ลักษณนามใช้เพื่อบอกสัณฐาน

ก้อน กรวด หิน ดิน ถ่าน
กระบอก ปืน ไม้ไผ่ ข้าวหลาม พลุ ไฟฉาย
ก้าน ไม้ขีด ธูป ก้านพูล
กลีบ ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ
กอ ไม้ไผ่ ผักตบชวา
คัน เบ็ด ร่ม กระบวย ฉัตร ธนู ขอ ไถ รถ ของที่มีส่วนสำหรับถือหรือลาก เป็นรูปยาว ๆ
ซี่ รอยด่าง ตรา เกลื้อน ตะวัน ดาว จิต วิญญาณ ตราไปรษณียากร ของที่เป็นรอยกลม ๆ ของที่มีแสงสว่างเป็นดวงกลม ๆ
ต้น ต้นไม้ เสา ซุง
แถบ ของที่มีลักษณะแบน บาง และแคบ เช่น ผ้าแถบ
แท่ง ของที่ทึบหนามีรูปยาว ๆ
บาน ของที่เป็นแผ่นที่มีกรอบ
ปาก เครื่องดักสัตว์ที่มีรูปเป็นปากกว้าง
ปื้น ของที่มีลักษณะแบน กว้างติดกันเป็นพืช เช่น เลื่อย
ผืน ผ้า เสื่อ พรม
แผ่น ของที่มีลักษณะแบนบาง
ลำ ของกลม ยาวเป็นปล้อง เช่น ไม้ไผ่ อ้อย เรือ
วง ของที่มีลักษณะเป็นวง เช่น แหวน กำไล

ลักษณนามที่ใช้เพื่อบอกชนิดที่เป็นหมวดหมู่

กอง ขยะ ไฟ ฟาง ทัพ อิฐ
กลุ่ม คน ด้าย ไหม สายสิญจน์
โขลง ช้าง
คณะ กรรมการ ลิเก
ตับ จาก พลุ ลูกปืน ปลาย่าง ประทัด
นิกาย ศาสนา
ผูก หนังสือโบราณ ใบลาน
ฝูง ปลา นก
พวก เหล่า นักเลง นักเรียน สัตว์
พรรค พรรคการเมือง
โรง ละคร ลิเก โขน
วง ตะกร้อ ดุริยางค์ แตรวง มโหรี ดนตรี
หมู่ คน สัตว์ สิ่งของที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

ลักษณนามที่ใช้เพื่อบอกชนิดของ

ขนาน ยา
ฉบับ กฎหมาย แถลงการณ์ คำร้อง ฉลาก โฉนด เช็ค โทรเลข จดหมาย หนังสือพิมพ์
เชือก ช้าง
ตน ยักษ์ ภูตผีปิศาจ ฤษี วิทยาธร
ตัว สัตว์ต่าง ๆ เช่น แมว สุนัข หนู สิ่งของบางชนิด เช่น เครื่องเรือน เสื้อ กางเกง กระโปรง
เถา ไม้เลื้อย เช่น เถาวัลย์
บท กาพย์ กลอน คาถา ทฤษฎี บทความ
ใบ ภาชนะต่าง ๆ เช่น กระถาง กระจาด แจกัน ตะกร้อ
เครื่องดนตรี เช่น กลอง ตะโพน
เครื่องแต่งกาย เช่น หมวก
เครื่องใช้ เช่น นามบัตร สลากกินแบ่ง เซียมซี
ราย ลูกหนี้ เจ้าหนี้ คนใช้ เจ้าภาพ อุบัติเหตุ
รูป พระภิกษุ ชี สามเณร รูปวาด รูปถ่าย
เรื่อง คดี เรื่องราว ข้อความ ข่าว
เล่ม กรรไกร เกวียน เข็ม หนังสือ เทียน มีด สิ่ว พาย
เลา ปี่ ขลุ่ย
อัน กรวย กระชอน กล้อง เข็มกลัด เขียง ซิป ตะหลิว ฝาชี

ลักษณนามที่พระยาอุปกิตศิลปะสารได้รวบรวมไว้

มี 4 ประเภท คือ
· ลักษณนามที่ใช้เพื่อบอกชนิดของ
· ลักษณนามที่ใช้เพื่อบอกชนิดที่เป็นหมวดหมู่
· ลักษณนามใช้เพื่อบอกสัณฐาน
· ลักษณนามใช้เพื่อบอกอาการ

ลักษณนาม

ลักษณนาม
ภาษาไทยมีลักษณะนามใช้ การใช้ภาษาไทยโดยลักษณะนามถือเป็นข้อบกพร่อง คำลักษณนาม หมายถึง คำที่บอกลักษณนามทั้งหลาย เพื่อให้รู้ว่านามนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร ลักษณะนามมีที่ใช้ดังนี้
1. ใช้ตามหลังคำนาม เพื่อบอกจำนวนนับ
· บ้าน 1 หลัง
· รถ 10 คัน
· ช้าง 2 เชือก

2. ใช้ตามหลังคำนาม เมื่อต้องการจะเน้นข้อความ
· วิทยุเครื่องนี้เสียงชัดดี
· บ้านหลังนี้ใหญ่มาก
· แก้วใบนั้นแม่ทำแตก