วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีรุ่นใหม่ชนิดเพาะเลี้ยงในเซลล์ดีอย่างไร?

วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อตายมีประสิทธิภาพดีแต่ทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนมีโอกาสเกิดปฏิกิริยาข้างเคียงทางสมองได้หากฉีดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เพราะเป็นวัคซีนที่ผลิตได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสในสมองลูกหนู

ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดใหม่ โดยเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นแต่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง และมีการเพาะเลี้ยงไวรัสในเซลล์แทนการเพาะเลี้ยงในสมองหนู วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์นี้มีความปลอดภัยสูงและมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้สูง โดยการให้วัคซีนเพียง 1 - 2 เข็มเท่านนั้น

ในระยะเวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ได้มีการใช้วัคซีนชนิดเชื้ออ่อนฤทธิ์ไปแล้วมากกว่า 300 ล้านโด๊สในหลายประเทศที่มีการระบาดของโรคอย่างมากเช่น จีน เกาหลี เนปาล อินเดีย พบว่ามีประสิทธิภาพดีถึง 95 - 100% และมีความปลอดภัยสูง

วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์

  • มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ดี
  • มีความปลอดภัยสูง
  • สะดวกในการรับวัคซีน โดยมีตารางการฉีดเพียง 1 - 2 เข็ม

บุคคลที่ควรได้รับวัคซีนและอายุที่ควรรับวัคซีนโรคไข้สมองอักเสบเจอี

  • เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนนี้โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 1 เข็ม ในเด็กอายุตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไป และฉีดกระตุ้นอีก 1 เข็มหลังจากฉีดเข็มแรกไปแล้ว 3 เดือน ถึง 1 ปี

  • นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้สมองอักเสบเจอี และอาศัยนานกว่า 2 สัปดาห์ โดยให้ฉีดก่อนเดินทาง 1 เข็ม และอาจจะฉีดกระตุ้นอีก 1 เข็มห่างจากเข็มแรก 1 ปี

วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

เราจะป้องกันการเกิดโรคไข้สมองอักเสบเจอีได้อย่างไร?

วิธีป้องกันโรคนี้ให้ได้ผลคือการให้วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีในคน ในประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี มีการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีอย่างกว้างขวางนานหลายสิบปี ทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคไข้สมองอักเสบเจอีลดลงอย่างมาก

สำหรับประเทศไทยเริ่มมีการฉีดวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยเป็นวัคซีนที่ผลิตได้จาการเพาะเลี้ยงไวรัสในสมองหนู แล้วนำสมองหนูมาบดแล้วฆ่าเชื้อด้วยฟอร์มาลิน แยกเชื้อที่ได้มาทำเป็นวัคซีนใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังรวม 3 - 4 ครั้ง

ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีรุ่นใหม่ โดยเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์เพาะเลี้ยงไวรัสในเซลล์แทนการเพาะเลี้ยงในสมองหนู วัคซีนรุ่นใหม่นี้เป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูงและมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันโรค

การับวัคซีนเพียง 1 - 2 เข็ม ก็สามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ถึงร้อยละ 95 - 100 ของผู้ที่ได้รับวัคซีนทั้งหมด

ในขณะนี้ประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีให้เลือกใช้ 2 ชนิด
1. วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อตาย (ผลิตได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสในสมองหนู)
2. วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (ผลิตได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสในเซลล์)

โรคไข้สมองอักเสบเจอีสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่?

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาหรือวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง เนื่องจากยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้ในร่างกายคน การรักษาจึงมุ่งไปที่การดูแลรักษาตามอาการและรักษาแบบประคับประคอง เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนในระยะที่มีอาการทางสมอง

โรคไข้สมองอักเสบเจอีมีอาการอย่างไร?

ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ บางรายอาจมีเพียงไข้สูง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ส่วนผู้ที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการคอแข็ง กระตุก สั่น ชัก พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ซึม และเป็นอัมพาต

แหล่งที่มาการระบาดของโรคไข้สมองอักเสบเจอี

โรคนี้มีรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2468 จากประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันพบโรคนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ ในประเทศไทยพบโรคนี้ได้ทั่วประเทศโดยเฉพาะในบริเวณที่มีการทำนาร่วมกับการเลี้ยงหมู

โรคไข้สมองอักเสบเจอีเป็นอย่างไร?

โรคไข้สมองอักเสบเจอี เป็นโรคที่มีความสำคัญและรุนแรงที่สุดโรคหนึ่งในบรรดาโรคไข้สมองอักเสบที่เกิดขึ้นในแถบทวีปเอเชียมียุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคจากสัตว์ (เช่น หมูและนกป่า) ที่มีเชื้อไวรัสโรคไข้สมองอักเสบเจอีมาสู่คน โรคนี้นับว่าเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศโรคหนึ่ง เพราะนอกจากว่า มีอัตราการตายสูงถึง 10 - 35% และประมาณ 2 ใน 3 ของผู้รอดชีวิตจะมีความพิการทางสมองตามมา

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

เบาหวานขึ้นจอประสาทตา

เบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็นสาเหตุของตาบอดอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย หากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือแม้แต่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีแต่เป็นโรคเบาหวานอยู่นานก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังเส้นเลือดในจอประสาทตาได้ การมีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในระยะแรก ๆ จะไม่มีผลต่อการมองเห็น แต่อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้สายตามีการเปลี่ยนแปลงมีสายตาสั้นได้ ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่าแว่นที่ใช้อยู่มองเห็นไม่ชัด บางคนอาจไปวัดสายตาเปลี่ยนแว่นซึ่งมักบ่นว่าเปลี่ยนแว่นมาหลายอันแต่มองเห็นไม่ชัดสักอัน หากผู้ป่วยรอจนมีการมองเห็นที่ผิดปกติแล้วจึงมาพบจักษุแพทย์อาจมีความผิดปกติของผนังเส้นเลือดมากแล้ว ซึ่งอาจทำให้การรักษาซับซ้อนมากขึ้น และผลการรักษาอาจไม่ดีเท่าที่ควร หรือในบางกรณีถ้าเป็นมาก ๆ อาจเลยระยะที่สามารถรักษาได้ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีซึ่งในปัจจุบันจะรวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปีซึ่งในปัจจุบันจะรวมถึงการตรวจสุขภาพตาร่วมด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้มีคุณภาพชีวิตและคุณภาพการมองเห็นที่ดีอยู่เสมอไปพร้อม ๆ กัน

การตรวจเช็คสุขภาพตาประจำปี

จักษุแพทย์ตรวจอะไรบ้าง

1. ตรวจโครงสร้างของลูกตาทางด้านหน้า ได้แก่ เยื่อบุตา
2. ตรวจการมองเห็นที่ไกล
3. ตรวจวัดความดันภายในลูกตา
4. ตรวจขั้วประสาทตา
5. ตรวจตาบอดสี

กรณีผู้ป่วยเบาหวานต้องการตรวจเช็คสุขภาพตา

การตรวจจะมีการหยอดขยายม่านตา สำหรับตรวจจอประสาทตาซึ่งจักษุแพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่ามีการเปลี่ยนแปลงของผนังเลือดมากน้อยเพียงใด คือมีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาหรือไม่ หากมีเบาหวานขึ้นจอประสาทตามีที่ระยะใดของโรค ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ระยะคือ

1. Non - proliferative Diabetic Retinopathy (NPD)

เบาหวานขึ้นจอประสาทตาในระยะเวลาเริ่มมีการโป่งพองของผนังเลือดมีโปรตีนรั่วจะผนังเส้นเลือด ซึ่งอาจต้องการหรืออาจไม่ต้องการการรักษาด้วยเลเซอร์ก็ได้ต้องพิจารณาตามความรุนแรงของโรค หากมีการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดในจอประสาทตามากขึ้น Severe NPDR (พิจารณาจากการตรวจพบของจักษุแพทย์) จักษุแพทย์จะพิจารณายิงเลเซอร์จอประสาทตา

2. Proliferative Diabetic Retinopathy (PDR)

เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงของผนังเส้นเลือด มีการโป่งพองของผนังเส้นเลือด มีการโป่งพอของผนังเส้นเลือดและมีโปรตีนจากผนังเส้นเลือด เส้นเลือดมีการโป่งพองมากขึ้น เลือดออกนอกจอประสาทตาและในน้ำวุ้นตา ซึ่งในผู้ป่วยรายหากทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาอาจมีพังผืดยึดจอประสาทตา และมีจอประสาทตาหลุดลอกก็ได้ ในระยะนี้ต้องได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์หรือต้องผ่าตัดรักษา

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยเบาหวานทุกรายต้องได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์แล้ว หากคุมน้ำตาลได้ไม่ดี ก็อาจทำให้การเปลี่ยนแปลงของผนังเส้นเลือดอีก และอาจต้องรับการรักษาด้วยเลเซอร์ ผู้ป่วยที่ยังไม่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างน้อยปีละครั้งหรือตรวจบ่อยขึ้น ตามการนัดจากอายุรแพทย์และจักษุแพทย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย ส่วนผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาหรือได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์หรือการผ่าตัดแล้วต้องได้รับการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอตามการนัดของจักษุแพทย์

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

การปลูกตำลึง

ตำลึง



เป็นผักพื้นบ้านที่คนทั่วไปรู้จักกันมานานเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการมาก สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น แกงจืด ต้มจิ้มน้ำพริก ใส่ก๋วยเตี๋ยวและต้มเลือดหมูเป็นต้น ในอดีตนั้นเราไม่จำเป็น ต้องปลูกตำลึงเอาไว้รับประทานเอง เนื่องจากตำลึงมักพบเห็นทั่วไปตามเถาไม้เลื้อยอื่น ตามพุ่มไม้เตี้ยหรือพุ่มไม้ แห้งตายรวมทั้งขึ้นตามริมรั้วบ้าน จนมีคำกล่าวถึง "ตำลึงริมรั้ว" อยู่เสมอ


แต่ในปัจจุบันเราไม่ค่อยพบตำลึงตามริมรั้วอีกแล้ว จะเห็นก็เฉพาะในที่รกร้างว่างเปล่าหรือไม่ก็ตามสวนที่ปลูกตำลึงไว้เพื่อการค้า ซึ่งสามารถทำรายได้อย่างงามแก่ผู้ปลูกตำลึงขายเป็นอย่างดี




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์



ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อย เถาตำลึงมีลักษณะกลมสีแยกเพศกันอยู่คนละต้น ปลายดอกแยกออกเป็น 5 แฉก โคนติดกันเป็นกรวย ผลมีรูปร่างกลมรีคล้ายแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลอ่อนมีสีเขียวลายขาวเมื่อแก่กลายเป็นสีแดง




คุณค่าทางอาหาร



ตำลึงเป็นผักใบเขียวเข้ม มีคุณค่าทางอาหารสูงมีทั้งเบต้า - แคโรทีน ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด ทั้งให้แคลเซียมและสารอาหารอื่น ๆ ที่พร้อมกันมาช่วยให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนี้ยังพบว่า ตำลึงยังประกอบได้ด้วยเส้นใย ที่มีความสามารถในการจับไนไตรทได้ดีที่สุด เมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นนี่เป็นคุณลักษณะพิเศษของตำลึง ที่มีเส้นใยคอยจับไนไตรทเพราะเป็นการลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้

ตารางแสดงคุณค่าอาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม






ที่มา กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตารางแสดงคุณค่าอาหารทางโภชนาการของไทย (2535)
* วิเคราะห์โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
RE ไมโครกรัมเทียบหน่วยเรตินัล

การปลูกและการขยายพันธุ์

ตำลึงมีการปลูกและขยายพันธุ์ได้ 2 วิธีคือ
* เพาะเมล็ด
* ปักชำด้วยเถา

การเพาะเมล็ด

มีวิธีการง่ายดังนี้

เตรียมดินเหมือนปลูกผักทั่วไปผสมปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยคอกก็ได้ นำผลตำลึงแก่สีแดง แกะเอาเมล็ดออกมาโรยบนดินที่เตรียมไว้ โรยดินกลบหรือใช้ใบไม้แห้งกลบบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตำลึงชอบดินชุ่มแต่อย่าให้แฉะเพราะจะเกิดโรคโคนเน่าได้เมื่อต้นงอกขึ้นมาสักประมาณ 5 ซ.ม. เริ่มมีมือเกาะให้ทำค้าง (เนื่องจากตำลึงไต่ขึ้นสู่ที่สูงเพื่อรับแดด) เหมาะที่สุดคือ ความสูงระดับ 1 เมตรขึ้นไปแต่ไม่ควรสูงเกิน 3 เมตร เพราะไม่สะดวกในการเก็บยอดตำลึง โดยใช้ไม้ไผ่ต้นเล็ก 3 ต้นปักเป็น 3 เส้า รอบปลายเชือกเข้าไว้ด้วยกัน ผูกด้วยเชือกกล้วยหรือเชือกปอ ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเพื่อช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง หรือหากมีรั้วไม้ระแนงก็ถือโอกาสใช้ประโยชน์โดยโรยเมล็ดไปตามริมรั้วเลยทีเดียว


ตำลึงต้องได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ลมโกรกผ่านได้ ตำลึงจะสังเคราะห์แสงแดดคายไอน้ำได้เต็มที่ ควรปล่อยให้มดแดงขึ้น เพราะจะช่วยกินเพลี้ยและแมลงที่จะมากัดกินตำลึง

ปักชำด้วยเถา

การปลูกตำลึงเพื่อการค้านั้นนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้เนื่องจากตำลึงจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการเพาะด้วยเมล็ด

วิธีการปักชำ

ให้นำเถาที่แก่พอสมควรมาตัดให้ยาว 15 - 20 ซม. ปักชำในหลุมปลูกที่ได้เตรียมไว้แล้ว (ลักษณะขั้นตอนการปลูกเหมือนกับหัวข้อการเพาะเมล็ด) พอเจริญเติบโตเต็มที่ประมาณ 1 เดือนก็สามารถเก็บยอดมาปรุงอาหารได้

ทั้งนี้ เพื่อให้ตำลึงแตกยอดใหม่ทยอยออกมาตลอดปี ต้องหมั่นเก็บมาบริโภคอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันให้ใส่ปุ๋ยคอก ช่วยเพิ่มเติมอาหารในดินประมาณเดือนละครั้ง ต้องหมั่นรดน้ำสม่ำเสมอในหน้าแล้งและหน้าหนาวส่วนหน้าฝนจะเว้นได้บ้างแต่ต้องช่วยรดน้ำในขณะที่ฝนทิ้งช่วง



จังหวัดและประเทศที่อยู่ติดกับจังหวัดตาก

ทิศเหนือ จดจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง
ทิศตะวันออก จดจังหวัดสุโขทัย
ทิศตะวันตก จดประเทศสหภาพพม่า โดยมีแม่น้ำเมยและทิวเขาตะนาวศรี เป็นเส้นกั้นพรมแดน
ทิศใต้ จดจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี นครสวรรค์และกำแพงเพชร

จังหวัดตาก

จากหลักฐานศิลปะมอญปรากฎอยู่ ทำให้ทราบว่าที่เมืองตากนี้เคยมีชาวมอญอยู่มาก่อน ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตากสร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ต่อมาเมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองตากจึงมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านตะวันตกที่สำคัญ ในสมัยกรุงรัตโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดให้ย้ายตัวเมืองตากจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงมายัฝั่งตะวันออกจนกระทั่งทุกวันนี้ สภาพภูมิประเทศของจังหวัดตากนี้โดยทั่วไปเป็นป่าไม้ และภูเขามีเนื้อที่ประมาณ 16,406 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผาง อำเภอพบพระ และอำเภอวังเจ้า

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

ธงประจำจังหวัด


ตราประจำจังหวัด


รูปพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงช้างเหนือครุฑหลั่งน้ำทักษิโณฑก
หมายถึง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกกองทัพไปช่วยพระเจ้าหงสาวดีรบอังวะนั้น พระมหาอุปราชเมืองพม่า สั่งให้ทหารคู่ใจคอยตี ขนาบ และปลงพระชนม์เสียให้ได้ ความแตกรู้ถึงพระกรรณสมเด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง จึงทรงประชุมชาวเมือง และบรรดาแม่ทัพนายกอง เมื่อเดือน 2 ปีวอก พ.ศ. 2127 ทรงหลั่งน้ำทักษิโณฑกเหนือแผ่นดิน ประกาศอิสระภาพไม่ยอมขึ้นกับเมืองอังวะ อีกต่อไป จังหวัดตากเป็นด่านแรก ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง ยกกองทัพกลับเข้ามาถึงราชอาณาจักรไทย เช่นเดียวกับที่เมืองนี้เคยเป็นทางผ่าน ที่ชาวอินเดียเดินทางเข้าเมืองไทยในสมัยโบราณ

คำขวัญจังหวัดตาก

ธรรมชาติน่ายล
ภูมิพลเขื่อนใหญ่
พระเจ้าตากเกรียงไกร
เมืองไม้และป่างาม

ประวัติเมืองตาก

เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการ อพยพ ของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้าน อำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”
ผู้นำกลุ่มคนไทยที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองตากในยุค นั้น ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อเนื่อง กันมาจนถึงปี พ.ศ. 560 รัชสมัยพระเจ้าสักดำ ซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองตากที่ยิ่งใหญ่มาก มีอาณาเขตที่อยู่ในอำนาจแผ่ไปจนจรดทะเลอันดามันดังมีบันทึกในพงศาวดารเหนือกล่าวว่าในรัชสมัยพระเจ้าสักดำนั้นเมืองตากมีการค้าขายกับเมืองอินเดียด้วย
เมืองตากคงจะเสื่อมลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิสผู้เป็นกษัตริย์เมืองตากที่อพยพมาจาก ตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ได้โยกย้ายไปสร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองละโว้ทางตอนใต้ของเมืองตากลงไปอีก
มีบางยุคเมืองตากถูกทอดทิ้ง กลายเป็นเมืองร้างดังในพงศาวดารเหนือได้ กล่าวถึงการเสด็จทางชลมารคของพระนางจามเทวี พระราชธิดากษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) เพื่อไปปกครองแคว้นหริภุญไชย (ลำพูน) ในราว พ.ศ. 1176 โดยทาง ลำน้ำปิง พระนางจามเทวีขึ้นไปสำรวจบนฝั่งแม่น้ำพบร่องรอยกำแพงเมืองเก่าๆ ถูกทิ้งร้าง จึงโปรดให้สร้างเป็นบ้านเมืองใหม่ชื่อว่า “เมืองตาก”
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 1805 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพ มาประชิดเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงจัดกองทัพออกไปรบ โดยมีพระราชโอรสองค์เล็กซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 พรรษา ติดตามไปด้วย กองทัพ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่บริเวณเชิงดอยนอกเมืองตากประมาณกิโลเมตรเศษ ราชโอรสองค์เล็กได้ทรงชนช้าง กับขุนสามชนกระทำยุทธหัตถีกัน ขุนสามชนสู้ไม่ได้แตกพ่ายไป ต่อมาภายหลังทรงพระนามว่า “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” และได้โปรดสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นที่ระลึกถึงชัยชนะในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้น องค์หนึ่งเป็นศิลปแบบสุโขทัย ซึ่งเจดีย์ยุทธหัตถีนี้อยู่ที่วัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก ห่างจากตัวเมืองไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงราว 31 กิโลเมตร
ต่อมาในแผ่นดินมหาธรรมราชา ได้ย้ายเมืองตากลงมาทางตอนใต้ตามลำน้ำปิง ไปตั้งอยู่ที่ป่ามะม่วง ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำปิง ซึ่งอยู่ในเขตตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตากในปัจจุบัน
เมืองตากที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้มิใช่เมืองหน้าด่าน สำหรับป้องกันกองทัพพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่กองทัพไทยใช้เป็นที่ชุมนุมพลในเวลา ที่จะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกด้วย ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้ทุกพระองค์
โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชสมบัตินั้น พระองค์ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร ให้เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ ไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือและต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ปลัดเมืองตาก พระยาวชิรปราการแล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยลำดับ
กล่าวโดยสรุป จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ ควรค่าแก่การสนใจ เป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้แล้วถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง และทรงยกทัพกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้สร้างวัดพระนารายณ์ที่เชิงสะพานกิตติขจรปัจจุบัน และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก และเป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่า ครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

พระวีรมหากษัตราธิราชเจ้า

อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
แด่ศาสนา สมถะ พระพุทธโคดม

ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
สมถะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นมชม
ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา

คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พระพุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือที่เรียกกันสั้นว่า "ศาลตากสินฯ" เป็นศาลาจัตุรมุข หน้าศาลแขวนโคมจีนสีแดง ภายในมีภาพพระราชประวัติพระเจ้าตาก ด้านหลังศาลมีรูปปั้น และตุ๊กตาม้าศึก ช้างศึกจำนวนมากที่ผู้คนนำมาถวาย ตั้งอยู่ที่สี่แยก ถนนตากสินดัดกับถนนมหาดไทยบำรุง ใกล้สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยใกล้ศาลากลางจังหวัดตาก

ภายในประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศาลนี้แต่เดิมอยู่บนวัดดอยข่อยเขาแก้ว ฝั่งตรงข้ามกับตัวเอง ต่อมาปี 2490 ชาวเมืองเห็นว่าศาลไม่สมพระเกียรติ จึงช่วยกันสร้างขึ้นใหม่ พร้อมกับให้กรมศิลปกรหล่อ พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริงเล็กน้อย ในพระอิริยาบถที่กำลังประทับอยู่บนราชอาสน์ มีพระแสงดาบพาดอยู่ที่พระเพลา ที่ฐานพระบรม ที่ฐานพระบรมรูปมีคำจารึกว่า "พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชสมภพ เมื่อ 2277 สวรรคต 2325 รวม 42 พรรษา" เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป และทุกปีระหว่างสิ้นปีและวันปีใหม่จะมีงานฉลองเป็นประเพณี จัดขึ้นบริเวณศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพิธีบวงสรวจพระวิญญาณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีการจัดขบวนแห่ เครื่องเซ่นสังเวย การออกร้านและการแสดงมหรสพต่าง ๆ

ประวัติย่อพระสยามเทวาธิราช

ปูชนียวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ทรงคุ้มครองชาวไทยให้รอดพ้นจากผองภัยพิบัติทั้งปวงตลอดมา

เป็นเทวรูปที่หล่อด้วยทองคำทั้งองค์ สูง 20 ซม. ทรงเครื่องต้นแบบพระมหากษัตริย์ พระหัตถ์ขวาทรงถือพระขรรค์ และพระหัตถ์ซ้ายทรงยกขึ้นจิบเสมอพระอุระประดิษฐานอยู่ในพระวิมานไม้จันทน์ ภายในพระวิมานมีคำจารึกเป็นอักษรจึน แปลได้ความว่า "สถิตแห่งพระสยามเทวาธิราช" แม้เทวรูปจะมีขนาดเล็กแต่ได้สัดส่วนงดงาม เน้นรายละเอียดลวดลายของเครื่องทรงได้อย่างคมชัด สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีหม่อมเจ้า ประดิษฐ์วรการ เป็นช่างเอกในนาม "กรมสิบหมู่"

พระราชอาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแผ่ไพศาลมากที่สุด

ทิศเหนือ ได้ดินแดนเวียงจันทน์ หลวงพระบาง

ทิศใต้ ได้ดินแดนกะลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี

ทิศตะวันออก ได้ลาว เขมร ทางฝั่งแม่น้ำโขงจรดอาณาเขตญวน

ทิศตะวันตก จรดดินแดนเมาะตะมะ ทะวาย มะริด และตะนาวศรี

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

สดุดีพระวีรมหากษัตราธิราชเจ้า

พระทรงดาบ รบรุก ทรงบุกบัน
ทรงประจัญ ศึกเสือ ทั้งเหนือใต้
เอาเลือดเนื้อ และชีวิต พิชิตชัย
กู้ให้ไทย คืนไทย ทุกวันมา
เมืองสยาม ยับแยก เคยแตกย่อย
พระประสาน รวมรอย เป็นหนึ่งหล้า
ให้ลูกหลาน ทุกรุ่น อุ่นอุรา
ได้ภูมิใจ ในคุณค่า ของแผ่นดิน
พระทรงดาบ รบรุก ไปทุกทิศ
ประกาศิต จากฟ้า ว่า "ตากสิน"
รำลึกองค์ พระผู้ กู้ธรณินทร์
ถวายชีวิน ไว้บูชา ทั่วฟ้าเอยฯ

พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า "สิน" ทรงพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ปีขาล เดือน 7 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1096 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นบุตรของ "นายไหฮอง" และ "นางนกเอี้ยง" ซึ่งพระยาจักรีได้ขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ยังเยาว์เมื่ออายุได้ 9 ปี พระยาจักรีได้นำไปฝากเรียนกับพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส (วัดคลัง) โดยเรียนหนังสือขอมและหนังสือไทยจนจบบริบูรณ์ แล้วจีงเรียนพระไตรปิฏกจนแตกฉาน เมื่ออายุ ครบ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำตัวเด็กชายสิน ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระธรรมราชาธิราชที่ 3 (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) พระองค์ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำราชการกับหลวงศักดิ์นายเวร ซี่งเป็นบุตรของพระยาจักรี เมื่อมีเวลาว่างจะไปเรียนภาษาจีน ภาษาญวนและภาษาแขก จนสามารถพูดภาษาทั้งสามได้อย่างคล่องแคล่ว





เมื่ออายุครบ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดโกษาวาส พระภิกษุสินอยู่ในสมณเพศได้ 3 พรรษา ก็ลาสิกขาและกลับเข้ารับราชการตามเดิม ด้วยความฉลาด รอบรู้ ขนบธรรมเนียม ภารกิจต่าง ๆ เป็นอย่างดี จนสามารถทำงานต่างพระเนตรพระกรรณได้ จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็กรายงานราชการทั้งหลายในกรมมหาดได้และกรมวังศาลหลวง



สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต้องทรงทำสงครามตลอดรัชกาล





ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในนายสินเป็นหลวงยกกระบัตร เมืองตากและเป็นพระยาตากปกครองเมืองตาก ในเวลาต่อมา พ.ศ. 2308 พระยาตากซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ามาช่วยราชการ สงครามต่อสู้กับพม่าในกรุงศรีอยุธยา





มีความดีความชอบมากได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการสำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร แต่ยังหาได้ปกครองเมืองกำแพงเพชรไม่ เพราะต้องต่อสู้กับข้าศึกเพื่อป้องกันพระนคร พระยาตากได้นำไพร่พลมาป้องกันกรุงศรีอยุธยา และก่อนเสียกรุงแก่ทัพหน้า พระยาตากได้นำกำลังคนทั้งไทยก็สามารถขับไล่กองทัพพม่าออกไปจากแผ่นดินไทยได้ในเวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น และทรงปราบดาภิเษกเสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ทรงผนวช เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2324





สมเด็จพระราชตากสิน ทรงสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สิริพระชนมายุได้ 48 พรรษา ทรงครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี ประชาราษฎร์ผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงยกย่องถวายพระเกียรติพระองค์ท่านว่า "มหาราช"

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต้องทรงทำสงครามตลอดรัชกาล เพราะแม้ว่าจะทรงกอบกู้ชาติได้อิสรภาพ แต่ความระส่ำระสายยังแผ่คลุมทั่วแดนไทย ฉะนั้นนับแต่เสวยราชย์เป็นต้นมา พระองค์ต้องต่อสู้แก้ปัญหาความยากจนข้นแค้นซึ่งคุกคามประชาราษฎร์ของพระองค์ด้วยความอดทน ทรงถึงกับเปล่งพระสัจจะวาจาว่า "มาตรแม้นว่ามีเทพยดาองค์ใดสามารถบันดาลให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหารแก่พสกนิกรของพระองค์อย่างอุดมสมบูรณ์เห็นทันแก่พระเนตรแล้ว แม้จะต้องการเครื่องบวงสรวงด้วยการให้ตัดพระกรของพระองค์เป็นเครื่องสักการะก็จะทรงตัดถวายให้โดยพลัน" นั่นเป็นความรักที่พระองค์มีต่อพสกนิกร นอกจากนี้พระองค์ยังต้องปราบปรามผู้ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่ไม่คิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ชุมนุมต่าง ๆ ถึง 6 ชุมนุมที่เข็มแข็ง ทั้งยังต้องปราบด้านเขมร ลาว ญวน จนพระองค์เองจะหาเวลาประทับภายในเศวตฉัตรไม่ได้เลย แต่ก็ทรงบากบันอดทนมิได้เห็นแก่ความสุขส่วนพระองค์เลย พระราชกรณียกิจขณะทรงดำรงตำแหน่งกษัตราธิราชนั้น นอกเหนือจากการทำศึกสงครามแล้ว พระองค์ยังมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน และยังทรงฟื้นฟูสร้างวรรณกรรมนาฏศิลป์ ทรงพระราชนิพนธ์ตำราพิชัยสงคราม คือยุทธศาสตร์ตำราในการใช้อาวุธ พระราชกฎหมายด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ยังทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา