วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ละครคาบูกิ

6. ละครคาบูกิในญี่ปุ่นปัจจุบันนี้





การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ละครของโลกปรากฏว่าศิลปละครโบราณนั้น ทันทีที่รูปแบบศิลปนั้น ๆ มั่นคงในระดับที่เกือบสมบูรณ์ที่สุด ก็จะสามารถผ่านการพิสูจน์ของกาลเวลา แม้ว่าเนื้อเรื่องจะมิอยู่ในสมัยนิยมก็ตาม





ความจริงข้อนี้ได้พิสูจน์ออกมาแล้วด้วยละคร คาบูกิ ในปัจจุบัน ว่าเป็นศิลปการแสดงที่มิใช่สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตปัจจุบันของญี่ปุ่นอันเป็นประเทศที่พลเมืองทุกวันนี้ใช้ชีวิตความเป็นอยู่แบบชาวญี่ปุ่นอันเป็นประเทศที่พลเมืองทุกวันนี้ใช้ชีวิตความเป็นอยู่แบบชาวตะวันตกกันเป็นส่วนใหญ่ และแม้กระนั้นละคร คาบูกิ ก็ยังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมาตลอดเวลาเหตุผลสำคัญก็มาจากข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ว่า ละครคาบูกิ คือศิลปที่ได้ผ่านการเจียรนัยอย่างดี ดังนั้นละครคาบูกิ จึงได้เป็นและจะเป็นความภาคภูมิใจและความหวงแหนของประชาชนญี่ปุ่นต่อไป



วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ละครคาบูกิ

5. ตัวละคร



ลักษณะเด่นที่สุดของ คาบูกิ ในฐานะที่เป็นนาฎศิลป์ เมื่อเทียบกับละครประเภทต่าง ๆ แล้ว อาจจะคือการที่ ละครคาบูกิ ยกความสำคัญให้ตัวละครนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ บทละครขั้นอมตะของ "คาบูกิ" ส่วนใหญ่จึงต้องให้ นักเขียนบทที่ทำงานสังกัดโรงละครคาบูกิ สร้างบทให้โดยเฉพาะ นักเขียนประเภทนี้จึงต้องพิถีพิถันในการศึกษา จุดเด่นและจุดอ่อนของผู้แสดงแต่ละคน เท่า ๆ กับการศึกษาค้นคว้าให้เข้าถึงเรื่องที่จะเขียนบทออกมา และนักเขียนเหล่านี้มักจะต้องประสบกับยากลำบากนานัปการในการสร้างบทออกมาให้เหมาะสมกับอัจฉริยะพิเศษในตัวนักแสดงเหล่านี้ บ่อยครั้งที่นักแสดงเห็นว่าการแสดงเป็นเพียงหนทางเพื่อการนำแสดงของตน จึงได้เปลี่ยนบทเจรจาและ พล้อตเรื่องตามอารมณ์ของตน

กระนั้น จากการวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย ความยิ่งใหญ่ของละครคาบูกิมาจากนักแสดง การพิจารณาคัดเลือกตัวละครคาบูกิก็ยึดหลักเที่ยงตรงที่สุด นับแต่นาฏศิลป์ คาบูกิ ได้อุบัติขึ้นบนรากฐานที่เป็นแบบแผนของตัวเองโดยเฉพาะมาก่อนแล้วทุก ๆ คน วิธีการนี้ได้กลายเป็นกฎตายตัวขึ้นมาเองว่าใครก็ตามที่ใฝ่ฝันใคร่จะเป็นดาราละครคาบูกิจะต้องเริ่มต้นฝึกตั้งแต่เด็ก ๆ เป็นต้นมาเสียก่อนจึงจะมีโอกาส "เข้าถึง" ศิลปการแสดงนี้ได้อย่างแท้จริง เขาจะต้องทำการฝึกฝนนาฎศิลป์สาขาต่าง ๆ ให้มีความรู้ ด้วยเหตุที่คาบูกิคือละครรำประเภทหนึ่ง ดังนั้นการฝึกฟ้อนรำแบบญี่ปุ่นและดนตรีญี่ปุ่นจึงเป็นส่วนสำคัญของการฝึกฝนอบรมดังกล่าว

พึงตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า เทคนิคสำคัญในการแสดงละครคาบูกินั้นมิได้อยู่ที่ดาราในขณะนั้นคิดขึ้นมาด้วยตนเอง แต่เป็นผลิตผลความสามารถต่าง ๆ ที่ได้จากดารารุ่นก่อนนั้น ๆ สร้างไว้ และตกทอดกันมาเรื่อย ๆ หลายชั่วอายุคนและมักเป็นสมบัติตกทอดกันมาเป็นตระกูล ๆ ฉะนั้นปัจจุบันนี้ยังมีตระกูลดาราละครคาบูกิที่สืบวิชากันมาถึง 17 ชั่วอายุคนอยู่หลายตระกูล ในสังคมระบอบฟิวดัลยุค "เอโด" นั้น กฎหมายควบคุมสิทธิการสืบเชื้อสายเกือบมิจำเป็นต้องบัญญัติขึ้น อีกประการหนึ่งคุณลักษณะของศิลปะละครคาบูกิ จำเป็นต้องพึ่งผู้ฝึกและผู้ชำนาญในศิลปการแสดงทางนี้โดยเฉพาะ ดังนั้นระบบภายในครอบครัวจึงเหมาะสมอย่างยิ่ง แม้ทุกวันนี้วงการละครคาบูกิ ก็ยังต้องยึดวิธีการดังกล่าวกันอยู่และยังถือว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าจะไปหาตัวผู้สันทัดกรณีด้านนี้จากวงการอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป เพราะการได้ตัวผู้สันทัดจากตระกูลละครเก่าจะช่วยทำนุบำรุงรักษาศิลป บูกิ ให้คงความยิ่งใหญ่ไว้ได้อย่างแท้จริงต่อไป




มีอยู่ยุคหนึ่งที่ถือกันเป็นประเพณีว่าตัวละครแต่ละคนจะต้องเล่นแต่บทที่ตนมีความสามารถเป็นพิเศษเท่านั้น ประเพณีนี้ทำให้ต้องศึกษาคุณสมบัติลักษณะของชายหญิงประเภทต่าง ๆ ด้วยความพิถีพิถันเป็นพิเศษ การเลือกเฟ้นลักษณะประจำตัวของนักแสดงทำนองนี้ได้ลดความเข้มงวดกันแล้ว นักแสดงคาบูกิ สมัยนี้ส่วนมากล้วนมีความสามารถในการแสดงคนละหลาย ๆ อย่างทั้งนั้น ยกเว้นเฉพาะ "อนนะงาตะ" หรือการแสดงเป็นผู้หญิงในเรื่องนั่นเอง เคล็ดลับความงามของ อนนะงาตะ ที่แสดงออกบนเวทีนั้น ขึ้นอยู่กับการอวดความงามอันละเมียดละไมของอิสตรีที่สร้างขึ้นเทียมความงามตามธรรมชาติ แต่มิใช่ธรรมชาติโดยสายตาของชายที่มองดูอุปนิสัยและจิตวิทยาของเพศตรงข้าม


ในยุคระบอบฟิวดัลนั้น นักแสดงคาบูกิ ถึงแม้จะมีชื่อเสียงโด่งดังในหมู่ประชาชนทั่วไปก็ตามแต่กลับมีสภาพชีวิตอยู่ในฐานะอันต่ำต้อยมาก ทุกวันนี้ฐานะความเป็นอยู่ของนักแสดงคาบูกิได้เขยิบสูงขึ้นมาก ซึ่งดาราเด่น ๆ บางคนได้รับพิจารณาคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกศิลปบัณฑิตยสภาญี่ปุ่น อันเป็นเกียรติสูงสุดสำหรับศิลปิน


นักแสดงละคร คาบูกิ ทุกคนต่างก็มีสร้อยชื่อประจำสำนักโดยเฉพาะต่อท้ายชื่อตัวทุก ๆ คนเรียกว่า "ยาโก" (yago) ตัวอย่างเช่น ดาราชื่อ คันซาบุโร นาคามูระ, โซโรกุ โอโนเอะ และ อูตาเอะมอน นาคามูระ ต่างก็มีสร้อยชื่อต่อท้ายแสดงสำนักไว้ด้วย เช่น "นาคามูระยะ" (nakamuraya), "โอโตวายะ" (otowaya) และ "นาริโกะมายะ" (narikomaya) ธรรมเนียมการใช้สร้อยชื่อเฉพาะนี้ยังมีเป็นการพิเศษประการหนึ่ง คือแฟนละครจะร้องเชียร์สร้อยชื่อประจำสำนักของดารานักแสดงที่เขาติดใจขณะปรากฏตัวออกมาสู่เวที หรือตอนออกโรงแสดงบนเวที


ในการแสดงละคร คาบูกิ นั้น จะมีคนที่มิใช่นักแสดงออกมาปรากฏตัวหน้าเวทีอยู่ตอนหนึ่งโดยเฉพาะในตอนแรกเริ่มทันทีที่เปิดฉาก ผู้ชมจะสังเกตเห็นว่ามีคนแต่งเสื้อคลุมสีดำคลุมตลอดถึงศีรษะออกมาปรากฎตัวทันทีอยู่หลังนักแสดง คนเหล่านี้เรียกว่า "คูโรโกะ" (kurogo) (มนุษย์เงาดำ) มีหน้าที่ออกมาจัดที่ทางให้เข้ากับฉากในขณะที่มีการเปิดม่านออก และทำหน้าที่เป็นผู้บอกบทไปด้วยโดยไม่ได้เข้าร่วมแสดง และคนดูก็ไม่ได้ให้ความสนใจ








ละครคาบูกิ

4. โรงละครเวที

ปัจจุบันนี้โดยไม่มีการยกเว้นโรงละคร คาบูกิ ถูกสร้างขึ้นในแบบตะวันตกมิว่าจะเป็นลักษณะของโรงและเวทีตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ แม้กระนั้นโรงละคร คาบูกิ ก็ยังรักษาจารีตประเพณีของโรงละครเพื่อ "คาบูกิ" ไว้เป็นอย่างดี เช่น แบบ "ฮานามิจิ" (hanamichi) และ "มาวาริ - บูไท" (mawari - butai) เป็นต้น

1) เวทีแบบ "ฮานามิจิ" หรือ "ทางลาดดอกไม้"

เวทีละครแบบนี้สร้างเป็นทางเดินเชื่อมด้านซ้ายของเวทีกับด้านหลังของโรงผ่านที่นั่งของคนดูในระดับศีรษะพอดี มีช่องทางสำหรับให้ตัวละครเข้าออกได้ทางหนึ่ง เป็นช่องทางแยกต่างหากจากทางเดินเข้าออกที่ปีกซ้ายขวาของเวที เวทีแบบนี้ไม่แต่จะมีทางเดินผ่านได้เท่านั้น แต่ยังสร้างทางเดินนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของเวทีอีกด้วย ระหว่างที่ปรากฏตัวออกมาจากทางเข้าออกของตนผ่านทางลาดดอกไม้นี้ ตัวละครจึงมักจะต้องแสดงบทบาทลักษณะเด่นที่สุดของตนไปด้วยเสมอ

2) เวทีแบบ "มาวาริ - บูไท" หรือเวทีหมุน

เวทีละครแบบนี้ประดิษฐ์ใช้กันเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อเกือบ 300 ปีมาแล้ว ต่อมาจึงได้มีผู้นำระบบเวทีหมุนนี้ไปเผยแพร่ยังต่างประเทศ เป็นเวทีที่สามารถเปลี่ยนฉากได้อย่างฉับพลันโดยไม่ทำให้การแสดงขาดตอนเลย

3) คุณลักษณะอื่น ๆ

เวทีหน้าฉากของละคร คาบูกิ มีระดับต่ำกว่าและกว้างกว่าเวทีของโรงละครของอเมริกันและยุโรป ตัวเวทีต้องเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาว แทนที่จะให้มีขนาดเกือบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่นเวทีละครที่ใด ๆ ในโลก

ม่านโรงละคร คาบูกิ เป็นผ้าฝ้ายลายทางสีน้ำตาลแดง, ดำ และเขียว ไม่นิยมใช้วิธีเลิกม่านขึ้นเหมือนละครตะวักตก แต่ให้รูดไปข้าง ๆ เวลาเปิดม่านการแสดง

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ละครคาบูกิ

3. ธาตุแท้ทางหลักแห่งความงาม














1) แบบแผนการแสดง









โดยเหตุที่ความงามตามแบบแผนคือศิลปพื้นฐานของหลักแห่งความงามที่สำคัญประการหนึ่งของละคร "คาบูกิ" ดังนั้น จึงต้องแสดงออกมาทางบทบาทมากที่สุด - จึงจะถือเห็นหัวใจสำคัญของละคร "คาบูกิ" ที่จะรับบทในเรื่องที่เป็นอมตะจึงจำเป็นต้องมีการค้นคว้าศึกษาแบบแผนการแสดงที่สมบูรณ์แบบจากนักแสดงรุ่นก่อน ๆ ไว้ด้วยตั้งแต่แรก แบบของแนวการแสดงดังกล่าวนี้ ถึงแม้ในแรกเริ่มกำหนดไว้สำหรับการแสดงละครแนวสัจจะนิยาย ก็ยังถือเป็นแบบแผนชั้นสูงและยอมรับนับถือว่าเป็นสัญญลักษณ์ของการพัฒนาละครคาบูกิ อย่างหนึ่ง แม้แต่ในละครสัจจะ นิยายคาบูกิ เอง ข้อสังเกตเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มักจะพบบ่อย ๆ ก็คือเน้นการแสดงบท "ฟ้อนรำ" ไว้มากกว่า "บทบาท"การออกท่าออกทางทุกอิริยาบถตามบทบาทของตัวละครนั้นอาศัยประกอบด้วยทั้งสิ้น มีหลายกรณีที่สัญญลักขณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องแสดงให้เห็นความขัดแย้งกัน ดังนั้น แบบแผนของบทบาทตัวละครจึงไม่ให้แสดงกันนานนักเพื่อมิให้ขัดกับบทบาทในท้องเรื่องจนเห็นได้ชัด







เทคนิคเฉพาะในละคร "คาบูกิ" อย่าง "มิเอะ" (Mie) เกือบจะถือเป็นเครื่องรักษาแบบแผนหลักทางความงามของละครนี้ "มิเอะ" นี้ถูกจัดไว้ในตอนที่สำคัญของเรื่องโดยเฉพาะ หรือในตอนใกล้จบการแสดงเรื่อง อะตมโดยดาราเอกที่ทางการละครนำภาพบทบาทของเขาออกโฆษณา บทบาทเช่นนี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง ละครคาบูกิ นิยมจัดขึ้นเพื่อแสดงถึงขึดความสำคัญทางความงามของการแสดง







แบบแผนนี้ยังแสดงลักษณะประจำตัวทางความสามารถในบทเจรจาของตัวละครคาบูกิ อีกด้วย แม้ในการแสดงเรื่องประเภทสัจจะนิยายพื้นบ้าน บทเจรจาก็หาได้กำหนดให้พูดกันตามธรรมดาในท้องเรื่องไม่ แต่เป็นบทพูดแบบนิยายโดยเฉพาะ บทเจรจาใน "คาบูกิ" เฉพาะอย่างยิ่งบทเจรจายาว ๆ มักเป็นบทร้อยกรองกึ่งร้องกึ่งเจรจาที่มีศิลปการกวีผสมผสานอย่างน่าประทับใจอยู่ด้วย ยิ่งกว่านี้ยังมีอยู่บ่อย ๆ ที่ละครคาบูกิประเภทนี้มีดนตรีบรรเลงประกอบบทเจรจาเดี่ยวของตัวละครไปด้วย ซึ่งปรากฎว่าได้รับความนิยม ทำให้การแสดงบนเวทีมีลักษณะกลมกลืนเป็นลีลาตามบทกลอนได้อย่างสนิทโดยอาศัยบทบาทการเคลื่อนไหว การออกท่าออกทางให้เข้าจังหวะกับบทเจรจากึ่งเพลงผสมดนตรีที่แสดงออกในรูปแบบของการฟ้อนรำอีกแนวหนึ่ง











2) หลักการเล่นสี








รูปแบบแห่งความงามในการแสดงออกซึ่งลักษณะพื้นฐานเฉพาะของละคร "คาบูกิ" ยังมีอีกหลายอย่าง ได้แก่ ฉาก เครื่องแต่งตัว และการแต่งหน้าของตัวละคร "คาบูกิ" เป็นที่ยอมรับจากผู้ชมโดยทั่ว ๆ ไปว่าเป็นการตกแต่งที่สิ้นเปลืองและโอ่อ่าหรูหราที่สุดในโลก อาจกล่าวได้ว่าความมีชื่อเสียงโด่งดังของ "คาบูกิ" ทุกวันนี้ขึ้นอยู่กับการแสดงออกทางภาพแห่งความงามเหล่านี้เป็นใหญ่ ทั้งนี้เพราะได้อาศัยการเล่นสีสวยสดประกอบภาพน่าทัศนาที่ชวนให้ทึ่งอย่างมโหฬารนี้เอง ที่สามารถตรึงความสนใจของผู้ดูอย่างเต็มที่ แม้ว่าไม่ชื่นชมกับความสนุกสนานของท้องเรื่อง



3) หลักการให้เสียงประกอบ



ดังได้กล่าวไว้แต่ต้นแล้วว่า ดนตรีก็เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในศิลปการละคร "คาบูกิ" แม้จะใช้เครื่องดนตรีหลายชนิดบรรเลง แต่ก็จะต้องให้ได้จังหวะเหมาะสมกับบทร้องและแสดงเอกลักษณะของมันไปในตัวด้วย เครื่องดนตรีหลักชนิดหนึ่งได้แก่ซอสามสาย เครื่องดนตรีคล้านพิณบาลาไลก้าที่ต้องดีดด้วยงาช้างหรือแผ่นโลหะที่เรียกกันพื้น ๆ ว่า "ชามิเซน" (Shamisen) สรุปแล้ววงดนตรีที่ใช้เล่นประกอบละคร คาบูกิ เรียกันว่า ดนตรีชามิเซน

ตามแบบละครประวัติศาสตร์หรือตามแบบละครพื้นบ้านนั้น ขณะที่เปิดม่านเผยให้เห็นฉาก ๆ หนึ่งนั้น ดนตรีก็จะเริ่มบรรเลงไปด้วยทันที เพื่อเร้าให้ผู้ชมเกิดความทึ่งในบรรยากาศบนเวทีตั้งแต่แรกเมื่อยังไม่มีตัวละครใด ๆ ปรากฏตัวกันเลยทีเดียว จะมีการจัดให้นักดนตรีนั่งอยู่ในหลืบฉากมุมซ้ายของเวทีไม่ให้คนดูเห็น เพลงที่เล่นเป็นเพลงโหมโรงสำหรับเรื่องนั่น ๆ ไปด้วย ในกรณีที่เป็นละครรำ เขาจะจัดที่ตั้งวงดนตรีออกโชว์ฝีมือให้คนดูเห็นกันทั่ว ๆ บนเวทีด้วย และการบรรเลงก็ต้องให้สอดคล้องกับลีลาการแสดงยิ่งขึ้น

ดนตรี "คาบูกิ" กอปรไปด้วยเพลงแบบต่าง ๆ ราว ๆ สิบกว่าประเภท ซึ่งต่างครูก็ต่างหลักกันที่นิยมเล่นกันมากที่สุดในปัจจุบันได้แก่ เพลง "นางาอุตะ" (nagauta), "โตกิวาซึ" (tokiwazu), "คิโยโมโต" (kiyomoto) และ "กิดายุ" (gidayu) เพลงหลังนี้มักนิยมใช้เล่นในละครที่ปรับปรุงมาจากหุ่นกระบอก

นอกจากความสำคัญของดนตรีแล้ว ละคร "คาบูกิ" ยังมีคุณลักษณะพิเศษด้านความละเมียดละไมในการจัดระดับเสียงอีกหลายชนิดนับไม่ถ้วนด้วย ที่สำคัญและเป็นจุดเด่นที่สุดคือเสียง "กลับ" ที่ใช้เป็นจังหวะบอกสัญญาณการเปิดและปิดฉาก ซึ่งกำหนดให้ดังเป็นจังหวะซ้ำ ๆ ขาดเป็นห้วง ๆ กลับไม้นี้ยังใช้เป็นสัญญาณเสียงบอกจังหวะประกอบลีลาการแสดงด้วย


วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ละครคาบูกิ

บทการแสดง







มีการแสดงในละคร "คาบูกิ" อยู่ราว ๆ 300 บท ในจำนวนนี้มีบทแสดงใหม่ ๆ กำลังได้รับการปรับปรุงผนวกเข้าไว้ด้วยในปัจจุบัน โดยความเรียกร้องจากบุคคลผู้สันทัดที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับวงการละคร "คาบูกิ" มาเมื่อเร็ว ๆ นี้ บทการแสดง "คาบูกิ" มักเขียนขึ้นโดยนักเขียนบทละครของคณะละคร "คาบูกิ" เองทั้งสิ้น




มีกลุ่มละครแบบ "โชซา - โกโต" (Shosa - goto) อยู่อีกประเภทหนึ่ง หรือที่เรียกว่ากลุ่ม "ละครรำ" อันเป็นการฟ้อนรำแบบฉบับโดยเฉพาะอีกประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น ในบทละครรำชนิดนี้ตัวละครต้องแสดงบทบาทการรำตามบทร้องและดนตรีตลอดเรื่อง มีละครรำชนิดนี้ตัวละครต้องแสดงบทบาทการรำตามบทร้องและดนตรีตลอดเรื่อง มีละครรำอยู่หลายเรื่องบรรยายเนื้อเรื่องจนจบขณะที่อีกหลายเรื่องคือการแสดงรำเป็นตอน ๆ ละครประเภทนี้ส่วนมากมีต้นแบบการแสดงมาจาก "โนห์" และ "เกียวเงน" ดังเช่นละครรำเรื่อง "ดันจิโช" (Kanjincho) (วิหารบวงสรวง), "มูซึเมะ โดโจจิ" (Musume Dojoji) (วิหารสาวพรหมจารีย์แห่งโดโจจิ), "มิงาวาริ ซาเซน" (Migawari Zazen) (ตัวแทน) และ "ทากาสึกะ" (Takatsuka) (รำสวมเกือกไม้) เป็นต้น




นอกจากนั้น บทละคร "คาบูกิ" ยังอาจแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ จากจุดยืนของเรื่องและต้วแสดงเฉพาะบท




1. ละครประวัติศาสตร์ (Jidai-mono)



ละครประเภทนี้อาศัยข้อเท็จจริงในประวัดิศาสตร์เป็นหลัก หรือถือเอาเรื่องราวเกี่ยวกับนักรบหรือหรือขุนน้ำขุนนางเป็นต้น โดยหลายเรื่องเป็นเรื่องโศกนาฏกรรมหนัก ๆ แทรกบทตลกขบขันไว้บ้าง เพื่อผ่อนคลายความหนักอึ้งของเรื่อง เนื้อเรื่องที่ดัดแปลงมาจากละครหุ่นกระบอกก็มีมาก และมักจะกำหนดให้ตัวเอกของเรื่องทำการเสียสละสูงสุด เช่นเรื่อง "ชูชินงุระ" (Chushingura) ซึ่งเป็นละคร "คาบูกิ" ที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องหนึ่งที่ดัดแปลงมากจาก "บุนระกุ" เป็นเรื่องแสดงถึงเกียรติคุณของอัศวินขาดเจ้า 47 คนที่ช่วยกันวางแผนเป็นเวลาหลายปีเพื่อต่อสู้แก้แค้นแทนเจ้านายของตนผู้ถูกบังคับให้สละตำแหน่ง ตามบทบาทในท้องเรื่องนี้คนทั้ง 47 ถึงกับยอมฆ่าตัวตาย





2. ละครพื้นบ้าน (Sewe - mono)



ละครประเภทนี้แสดงให้เห็นสภาพชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ของสามัญชนคนธรรมดา ตัวอย่างของเรื่องทำนองนี้ที่เด่นมี อาทิเช่นเรื่อง "คาโงทสีรูเบะ" (The Courtesan) และ "ทสีโบซากา - เดระ" (Miracle at Tsubosaka) ละครพื้นบ้านนั้นถือเอาสัจจะนิยายเป็นพื้น จึงมักไม่ใคร่มีบทบาทให้ตัวละครแสดงความเก่งกล้าสามารถเกินมนุษย์ ความสำคัญของละครประเภทนี้จึงขึ้นอยู่กับบทบาทการเจรจาและสีสันของตัวละคร มากกว่าจะเน้นหนักไปในด้านการแสดงกำลังภายในของตัวละคร ที่หมายถึงความเก่งกล้าสามารถตามท้องเรื่อง





ละครคาบูกิ ตามหลักต้นตำรานั้นอาจแยกออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้


1) บทละครที่ปรับปรุงมาจากละคร "โนห์" และ "เกียวเงน"

มีการปรับปรุงแบบอย่างการฟ้อนรำตลกจากละครเกียวเงนเข้ามารวมอยู่ด้วย เช่น บทละครรำเรื่อง "มิงาวาริ ซาเซน" (Migawari Zazen) ละครรำที่มีลักษณะจริงจังมากกว่า เช่น "คันจินโซ" (Kanjincho) และ "มุซึเมะ โดโจจิ" ก็ปรับปรุงมาจากละคร โนห์ คุณลักษณะเหล่านี้ได้รับการแก้ไขปรับปรุงขึ้นมาใหม่ให้มีลักษณะงดงามอ่อนช้อยและโอ่อ่าสะท้อนให้เห็นบรรยากาศอันภูมิฐานของต้นตำรับได้เป็นอย่างดี ฉากของละครจำพวกนี้หลายเรื่องได้รับการปรับปรุงมาจากฉากละคร โนห์ โดยตรง กอปรไปด้วยแผ่นภาพเป็นภูมิหลังเพียงแผ่นเดียวเป็นภาพต้นสนเก่าแก่ต้นหนึ่ง กับฉากด้านข้างสองด้านเป็นรูปกอไผ่เท่านั้น

2) บทละครที่ปรับปรุงมาจากละครหุ่นกระบอก

บทละครประเภทนี้ส่วนใหญ่ลอกแบบมาจากต้นตำหรับแทบทั้งดุ้น เพื่อรักษาแบบฉบับละครหุ่นกระบอกไว้ กล่าวคิอให้นักร้องกับผู้ช่วยเป็นผู้ร้องคำบรรยายเรื่องโดยจะนั่งบนยกพื้นด้านขวาเวที แบบเดียวกับละครหุ่นกระบอก แต่บทเจรจานั้นตัวละครจะกล่าวเองโดยมอบการพรรณาเรื่องให้เป็นหน้าที่ของคนร้อง ละครจำพวกนี้ก็มีอาทิเช่นเรื่อง "ชูชินกูระ" (Chushingura) และ "ทสึโบซากา - เดระ" (Tsubosaka - Dera) เป็นต้น

3) บทละคร "คาบูกิ" โดยเฉพาะ

บทละครจำพวกนี้เขียนขึ้นมาสำหรับ "คาบูกิ" โดยเฉพาะ ผลงานชั้นเยี่ยมในบรรดาละครแบบนี้มีอยู่จำนวนหนึ่งที่ยอมรับนับถือกันมาก เช่นเรื่อง "คาโงทสึรูเบ"






วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ละครคาบูกิ

ประวัติเดิม









"คาบูกิ" เป็นนาฎศิลป์ประจำชาติอีกชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น มีประวัติย้อนหลังไปถึงสมัยปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งได้มีการปรับปรุงและวิวัฒนาการเรื่อยมาจนกระทั่งกลายเป็นนาฎศิลป์อันวิจิตรของประเทศอย่างสมบูรณ์ในปัจจุบัน ถึงแม้จะไม่ขึ้นหน้าขึ้นตาเหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต แต่ทุกวันนี้ละคร คาบูกิ ยังคงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนชาวญี่ปุ่น และแม้ในปัจจุบันนี้การแสดงคงยังดึงดูดผู้ชมเป็นจำนวนมากเสมอ




ระหว่างที่ละครนี้เคยเฟื่องฟู เช่น ในยุค "เอโด" (Yedo) อันเป็นสมัยที่ละคร คาบูกิ ได้รับการปรับปรุงกันอย่างขนานใหญ่ ตรงกับสมัยที่ชนชั้นนักรบกับสามัญชนมีการแบ่งแยกชั้นกันอย่างเข้มงวดยิ่งกว่าสมัยใด ๆ ในประวัติศาสตร์ชาติญี่ปุ่น ศิลปการละคร "คาบูกิ" กลับกลายเป็นเครื่องมืออำนวยประโยชน์ให้แก่พ่อค้าวานิชน์อย่างเป็นกอบเป็นกำในยุคโน้น ซึ่งนับวันก็ยิ่งมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังคงถูกจัดชั้นเข้าในระดับสามัญชนอยู่นั่นเอง "คาบูกิ" สำหรับชนชั้นพ่อค้าดูจะกลายเป็นศิลปสัญญลักขณ์เด่นที่สุดที่ส่อให้เห็นจินตนาการของพ่อค้าในยุคดังกล่าว การแสดงละครในยุคนั้นจึงยึงคติส่อถึงความขัดแย้งระหว่างมนุษยธรรมกับระบอบฟิวดัล จากผลของศิลปการแสดงในด้านมนุษยธรรมนี้เอง ที่ช่วยให้ละคร "คาบูกิ" ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปในยุคนั้นตราบกระทั่งมาถึงปัจจุบัน



หลักสำคัญที่เป็นศิลป "คาบูกิ" ซึ่งน่าจะถือเป็นสัญญลักขณ์อันแท้จริงที่แสดงถึงแก่นแท้แห่งวิญญาณนาฏศิลป์นี้ก็คือ ไม่มีการใช้ผู้หญิงแสดงเลย บทบาทของตัวละครหญิงในเรื่องทุกเรื่องของ "คาบูกิ" แสดงโดยผู้ชายผู้มีฝีมือในด้านนี้โดยเฉพาะ เรียกกันว่า "อนนะงาตะ " (onnagata) ตัวละคร "คาบูกิ" ในยุคเริ่มแรกนั้นส่วนใหญ่ใช้ผู้หญิงแสดง ต่อมาเมื่อมีผู้นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นักแสดงผู้หญิงก็เริ่มมีผู้ชายที่หลงใหลในบทบาทของเธอเข้ามาพัวพันในชีวิตส่วนตัวเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทางการวิตกว่าสภาพการณ์ดังกล่าวนี้หากปล่อยทิ้งไว้ต่อไป วงการนาฏศิลป์ คาบูกิ อาจจะเสื่อมความนิยมจากประชาชนไปก็ได้ ในปี พ.ศ. 2172 จึงได้มีการประกาศห้ามมิให้ใช้ผู้หญิงแสดงในละครชนิดนี้โดยเด็ดขาด



แต่ละ คาบูกิ ในรูปของนาฏศิลป์ได้เป็นที่ยอมรับแก่สาธารณชนอยู่แล้ว แม้ผู้ชายจะเข้ามาแสดง "คาบูกิ" แทนผู้หญิงโดยทันที ประชาชนก็ยังคงนิยมละครคาบูกิแสดงโดยผู้ชายตลอดมาจนปัจจุบันนี้ การห้ามผู้หญิงเข้าแสดงในละครชนิดนี้มีผลมาราว ๆ 250 ปี ขณะเดียวกันนั้นเอง "คาบูกิ" ก็มีการปรับปรุงวิวัฒนาการมาสู่นาฏศิลป์ "อนนะงาตะ" โดยสมบูรณ์ กลายเป็นศิลปการแสดงที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้าร่วมแสดงด้วยอีกเลย แม้เมื่อได้มีการยกเลิกคำสั่งนี้ห้ามนี้ไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นศิลป "อนนะงาตะ" ได้กลายเป็นองค์ประกอบอันสมบูรณ์ของละคร "คาบูกิ" ซึ่งหากตัดศิลปนี้ออกไปเสียคุณลักษณะประจำของ "คาบูกิ" ก็จะหมดไปโดยสิ้นเชิงทีเดียว



ลักษณะประจำที่สำคัญของละคร "คาบูกิ" อีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นละครที่ผสมผสานเอาการเล่นต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เป็นแบบเฉพาะอย่างหนึ่ง นับแต่มีการริเริ่มขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ละคร "คาบูกิ" ได้ถือกำเนิดขึ้นมาด้วยการผสมผสานเอาการแสดงในรูปแบบต่าง ๆ ของญี่ปุ่นในสมัยก่อน ๆ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในบรรดานาฎศิลป์ประจำชาติที่ละคร "คาบูกิ" ได้รวบรวมเอาเทคนิคการแสดงและการกำกับมาใช้ ก็ได้ละคร "โนห์" (Noh) และการเล่นที่เรียกว่า "เกียวเงน" (Kyogen) หรือการเล่นตลกสลับฉากระหว่างการแสดงละคร "โนห์" ทุกวันนี้จำนวนชาวญี่ปุ่นที่มองเห็นคุณค่าของละคร "โนห์" อันแท้จริงนับวันก็จะลดน้อยลงไปกว่าจำนวนผู้ที่โปรดปรานการแสดง "คาบูกิ" ไปทุกขณะ แต่การแสดง "คาบูกิ" ที่ปรับปรุงหรือนำเอารูปแบบของละคร "โนห์" เข้ามารวมไว้ด้วยกลับได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และกลายเป็นรูปแบบการแสดงอย่างหนึ่งที่จะขาดไปจากคุณลักษณะทั้งหมดของ "คาบูกิ" เสียมิได้

การเล่นอีกชนิดหนึ่งที่กลมกลืนอยู่ในนาฎศิลป์ "คาบูกิ" ก็คือหุ่นกระบอก หรือที่เรียกกันว่า "บุนระกุ" (Bunraka) เป็นการเล่นที่เกิดขึ้นไล่ ๆ กับละคร "คาบูกิ" ในระยะแรก ๆ นั้นเอง การแสดงละคร "คาบูกิ" นั้น ถือเอาตัวละครเป็นหลักสำคัญมากกว่าหลักอื่นใด เช่น คุณค่าทางบทละครที่นำมาเล่น เป็นต้น ระหว่างต้น ๆ ศตวรรษที่ 17 มีนักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่บางท่านรวมทั้งมอนซาเอมอน ชิคามัตสุ ผู้ได้รับฉายาว่า "เชคสเปรียร์แห่งญี่ปุ่น" ได้วางมือจากการแต่งบทละครคาบูกิที่ยึดให้ตัวแสดงเป็นเอก หันมาแต่งบทละครหุ่นกระบอกซึ่งไม่เข้มงวดนักในด้านการเน้นบทบาทของตัวแสดงเอกเหมือน "คาบูกิ" ด้วยเหตุนี้ จึงมีอยู่ยุคหนึ่งที่การเล่นหุ่นกระบอกกลายเป็นการแสดงที่บดบังความสามารถของนักแสดงละครไประยะหนึ่ง และเป็นยุคที่หุ่นกระบอกได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายยิ่งกว่าละคร "คาบูกิ" เพื่อเอาชนะการเล่นชนิดนี้ จึงได้มีการปรับปรุงละคร "คาบูกิ" โดยรับเอาการเล่นแบบหุ่นกระบอกเข้ามารวมไว้ด้วยทั้งหมด ฉะนั้น ทุกวันนี้ละคร "คาบูกิ" ที่แสดงอยู่มากกว่าครึ่งยกเว้นกลุ่มละครรำรวมจึงกำหนดให้มีการแสดงนาฏศิลป์ต้นแบบ "บุนระกุ" เข้าไว้ด้วย ตัวอย่างอันสมบูรณ์จากการแสดงผสมผสานต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็น "คาบูกิ" ในบั้นปลายได้มีขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งรวบรวมเอาจินตนิยายเข้ามาผสมจนกลายเป็นศิลปการแสดงของละครชนิดนี้ขึ้นด้วย

ประชาชนญี่ปุ่นยังไม่เคยได้ชมละครชนิดใดที่จะแสดงทั้งสีสันอันวิจิตรตระการตา งามโอ่อ่าตื่นเต้นประทับใจครบทุกรส เหมือนการชมละคร "คาบูกิ" มาก่อนเลย โดยคุณลักษณะเหล่านี้ อาจกล่าวได้ว่า คงไม่มีละครแบบใด ๆ ในโลกที่จะอาจเทียบได้กับละคร "คาบูกิ" ของญี่ปุ่น