วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การติดต่อของโรควัณโรค

สามารถแพร่กระจายจากปอดของผู้ป่วยวัณโรค ทางละอองเสมหะเมื่อ ไอ จาม โดยไม่ใช้ผ้าปิดปาก

วัณโรค คือ

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ มัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส Mycobacterium tuberculosis หรือ ทีบี (TB)

วันโรคเป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เช่น ปอด ลำไส้ ไต กระดูก ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง และเยื้อหุ้มสมอง

วัณโรคที่พบบ่อย และเป็นปัญหา คือ วัณโรคปอด

วัณโรคสามารถรักษาหายได้ โดยการกินยาทุกวันอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 - 8 เดือน

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เอชไอวีหรือเอดส์ คืออะไร?


  • เอช ไอ วี เป็นโรคติดต่อที่สำคัญยิ่งในประเทศของเรา

  • เอช ไอ วี เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัส คนที่ติดเชื้อเอช ไอ วี ในช่วงปีแรกยังมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย แต่คนที่ติดเชื้อนานหลายปีจะเริ่มมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีเชื้อราในปาก มีไข้ ท้องเสีย ตุ่มคันบริเวณผิวหนัง เป็นต้น เมื่อเขาเจ็บป่วยมาก ๆ เราจะเรียกคนที่ติดเชื้อเอช ไอ วี ว่า เอดส์ "เอดส์" หมายถึง คนที่ติดเชื้อเอช ไว วี ที่มีอาการรุนแรงมาก
  • คนติดเชื้อเอช ไอ วี ได้โดยการร่วมเพศกับคนที่ไม่รู้ว่าติดเอช ไอ วี หรือไม่ หรือมีการร่วมเพศโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
  • การติดยาเสพติดชนิดฉีดเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้คนติดเชื้อเอช ไอ วี เพราะใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • เด็กได้รับเชื้อเอช ไอ วี จากแม่ได้ โดยแม่จะแพร่เชื้อไวรัสให้ลูกขณะท้อง โดยเฉพาะในช่วงคลอดลูก หรือในช่วงให้นมแม่แก่ลูก

วัณโรค คืออะไร?

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า และติดต่อกันได้โดยการหายใจเอาหยดฝอยเสมหะขนาดเล็ก ที่พาเอาเชื้อวัณโรคออกมาโดยการไอ จาม พูดดัง ๆ หรือร้องเพลงของผู้ป่วยที่มีแผลวัณโรคปอด โดยหยดฝอยเสมหะที่มีเชื้อวัณโรคนี้ เมื่อแห้งจะลอยอยู่ในอากาศได้นานเป็นชั่วโมง ทั้งนี้เนื่องจากตัวเชื้อโรคเคลื่อนไหวด้วยตัวเองไม่ได้ และไม่ออกมากับลมหายใจผู้ป่วยที่หายใจตามปกติอยู่ได้

คนที่ป่วยเป็นโรควัณโรคส่วนใหญ่มีอาการเหล่านี้
  • ไอ ติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์
  • มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน
  • มีไข้
  • ไอเลือดออก
  • เบื่ออาหาร (น้ำหนักลด)
  • อ่อนเพลีย

หากมีอาการไอนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรรีบหาหมอเพื่อรักษา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก

ถ้าคนที่เจ็บป่วยด้วยวัณโรคกินยาให้ครบถ้วนสม่ำเสมอ จึงจะหายจากวัณโรค

ดังนั้น การมาหาหมอเพื่อรักษาเร็วเท่าไร ยิ่งทำให้ผลการรักษาดีขึ้น

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง

  1. ลดอาหารเค็ม ของหมักดอง
  2. ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) โดยการรับประทานผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น งดของหวาน มัน ของทอด แป้ง
  3. งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา
  4. ทำให้จิตใจให้เบิกบานแจ่มใสอยู่เสมอ
  5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  6. ออกกำลังกายเป็นประจำ
  7. รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  8. หมั่นสังเกตอาการตนเอง วัดความดันโลหิตเป็นประจำ และมาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง
  9. เมื่อมีอาการผิดปกติ ควรมาพบแพทย์

อันตรายของโรคความดันโลหิตสูง

หลอดเลือดแดง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ สมอง ไต โดยทำให้ผนังด้านในหนา แข็งตัว ขาดความยืดหยุ่น ขรุขระ ผนังหลอดเลือดไม่แข็งแรงโปร่งแตกง่าย

หัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้เกิดโรคหัวใจโต

สมอง ความดันโลหิตสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดหนา ขรุขระ ตีบแคบ เลือดผ่านไม่สะดวกเกิดภาวะหลอดเลือดแดงอุดตันหรือหลอดเลือดแดงในสมองแตก ซึ่งทำให้เป็นโรคอัมพาต อัมพาตแบบชั่วคราว, อัมพาตแบบถาวร หรือถึงแก่ความตายได้

ไต ผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตจะหนาแข็ง รูบตีบแคบ ขรุขระ เลือดเลี้ยงไตไม่พอ ทำให้โตมีขนาดเล็กลง หรือฝ่อลงเสื่อมสมรรถภาพการทำงาน จนเกิดภาวะไตวาย

จอตา เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงตา ทำให้สายตาเสียหรือตาบอด

การป้องกันความดันโลหิดสูง

โรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ แต่ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดโรค เป็นวิธีที่เราสามารถป้องกันได้ ดังนี้
  • ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน
  • ไม่รับประทานอาหารเค็มจัด
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนไห้เพียงพอ
  • ลดความเครียดความกังวลทำให้จิตใจแจ่มใส
  • งดสูบบุหรี่ งดการดื่มสุรา

ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้หรือผู้ที่มีอายุ 40 ขึ้นไป ควรได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 3 เดือนครั้ง

ผู้ใดบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง

  1. ผู้ที่มีประวัติความดันโลหิตสูงในครอบครัว เช่น บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น
  2. ผู้ที่อ้วน, น้ำหนักตัวมาก
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิดมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เช่น โรคเบาหวาน, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคไต
  4. ผู้ที่เครียดมาก คิดมากก็อาจจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงในระยะต่อมา
  5. ผู้ที่สูบบุหรี่

ความดันโลหิตสูง

ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่ หัวใจบีบตัวเป็นจังหวะ เพื่อให้เลือดที่อยู่ในหัวใจและหลอดเลือด ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

แรงดันที่เกิดขึ้น เมื่อหัวใจบีบตัวจะเป็นแรงดันอันหนึ่งเป็นค่าสูง และเมื่อหัวใจคลายตัวจะได้แรงดันอีกอันหนึ่งเป็นค่าต่ำ

ความดันโลหิตของคนปกติ จะไม่เกิน 140/90 มม.ปรอท ถ้าสูงกว่านี้จะถือว่าเป็นความดันโลหิตสูง