4. โรงละครเวที
ปัจจุบันนี้โดยไม่มีการยกเว้นโรงละคร คาบูกิ ถูกสร้างขึ้นในแบบตะวันตกมิว่าจะเป็นลักษณะของโรงและเวทีตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ แม้กระนั้นโรงละคร คาบูกิ ก็ยังรักษาจารีตประเพณีของโรงละครเพื่อ "คาบูกิ" ไว้เป็นอย่างดี เช่น แบบ "ฮานามิจิ" (hanamichi) และ "มาวาริ - บูไท" (mawari - butai) เป็นต้น
1) เวทีแบบ "ฮานามิจิ" หรือ "ทางลาดดอกไม้"
เวทีละครแบบนี้สร้างเป็นทางเดินเชื่อมด้านซ้ายของเวทีกับด้านหลังของโรงผ่านที่นั่งของคนดูในระดับศีรษะพอดี มีช่องทางสำหรับให้ตัวละครเข้าออกได้ทางหนึ่ง เป็นช่องทางแยกต่างหากจากทางเดินเข้าออกที่ปีกซ้ายขวาของเวที เวทีแบบนี้ไม่แต่จะมีทางเดินผ่านได้เท่านั้น แต่ยังสร้างทางเดินนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของเวทีอีกด้วย ระหว่างที่ปรากฏตัวออกมาจากทางเข้าออกของตนผ่านทางลาดดอกไม้นี้ ตัวละครจึงมักจะต้องแสดงบทบาทลักษณะเด่นที่สุดของตนไปด้วยเสมอ
2) เวทีแบบ "มาวาริ - บูไท" หรือเวทีหมุน
เวทีละครแบบนี้ประดิษฐ์ใช้กันเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อเกือบ 300 ปีมาแล้ว ต่อมาจึงได้มีผู้นำระบบเวทีหมุนนี้ไปเผยแพร่ยังต่างประเทศ เป็นเวทีที่สามารถเปลี่ยนฉากได้อย่างฉับพลันโดยไม่ทำให้การแสดงขาดตอนเลย
3) คุณลักษณะอื่น ๆ
เวทีหน้าฉากของละคร คาบูกิ มีระดับต่ำกว่าและกว้างกว่าเวทีของโรงละครของอเมริกันและยุโรป ตัวเวทีต้องเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาว แทนที่จะให้มีขนาดเกือบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่นเวทีละครที่ใด ๆ ในโลก
ม่านโรงละคร คาบูกิ เป็นผ้าฝ้ายลายทางสีน้ำตาลแดง, ดำ และเขียว ไม่นิยมใช้วิธีเลิกม่านขึ้นเหมือนละครตะวักตก แต่ให้รูดไปข้าง ๆ เวลาเปิดม่านการแสดง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น