วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553

น้ำเขียวทำง่ายเลี้ยงปลาได้โตไว

น้ำเขียวหาได้ที่ไหน

น้ำเขียวหาได้ 2 วิธีคือ
  1. หาได้จากบ่อธรรมชาติที่เลี้ยงสัตว์ทั่วไป เช่น บ่อเลี้ยงหมู บ่อเลี้ยงไก่
  2. ติดต่อได้ที่สถานีประมงทั่วไป พร้อมทั้งคำแนะนำต่าง ๆ

น้ำเขียวทำง่ายเลี้ยงปลาได้โตไว

น้ำเขียวเกิดขึ้นได้อย่างไร

แสงแดด แร่ธาตุ ปุ๋ยที่ใส่ลงในบ่อน้ำจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีละลายในน้ำ แพลงก์ตอนพืชจะนำเอาอาหารเหล่านี้ไปใช้โดยเฉพาะพวกพืชที่มีสีเขียว จะสร้างอาหารได้เองโดยขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งมีปฏิกริยาผลิตออกซิเจนออกมา ส่วนแพลงก์ตอนสัตว์ ต้องอาศัยอาหารจากแพลงก์ตอนพืช ทำให้ในบ่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์ สภาพแวดล้อมดีขึ้น ปลาเติบโตได้ดี

น้ำเขียวทำง่ายเลี้ยงปลาได้โตไว

น้ำเขียว

น้ำเขียว คือ น้ำที่ประกอบด้วยพืชสีเขียวขนาดเล็ก หรือแพลงก์ตอนพืช เป็นอาหารธรรมชาติเบื้องต้นที่จำเป็นของแพลงก์ตอนสัตว์ ซึ่งเป็นอาหารของลูกปลาวัยอ่อน น้ำเขียวช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ทำให้ลูกปลาได้รับออกซิเจนเพียงพอ ลดปัญหาปลาเป็นโรค ทำให้ปลาโตเร็วประหยัดต้นทุนในการเลี้ยงปลา

อาหารกับการควบคุมเบาหวาน

การควบคุมเบาหวานถึงแม้จะมีการรักษาด้วยยาแล้วก็ตาม ยังจำเป็นต้องควบคุมอาหารร่วมด้วย การควบคุมอาหาร คือ การที่รู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนอย่างสมดุล จะช่วยป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาภายหลังได้
  1. อาหารที่รับประทานได้โดยไม่จำกัด ได้แก่ ผัก ประเภทที่มีใยมาก เช่น ผักกาดขาว ผักบุ้งไทย ผักขม แตงกวา บวบ ตำลึง สายบัว กะหล่ำปลี
  2. อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องจำกัดปริมาณ ได้แก่ อาหารประเภทข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว อาหารที่มีไขมันมาก เนื้อสัตว์ติดมัน
  3. อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรงด ได้แก่ น้ำตาลทุกชนิด น้ำหวาน น้ำอัดลม นมปรุงแต่งรส แยม ผลไม้บรรจุกระป๋อง ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน ขนมหวานทุกชนิด เครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์

อาการสำคัญที่พบบ่อยในโรคเบาหวาน

  • ปัสสาวะบ่อย และมีปริมาณน้ำปัสสาวะมาก ถ้าตั้งทิ้งไว้อาจมีมดขึ้น
  • คอแห้ง กระหายน้ำ และดื่มน้ำมาก เป็นผลจากการที่ร่างกายเสียน้ำไปจากการปัสสาวะบ่อยและมาก ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำจึงต้องชดเชยด้วยการดื่มน้ำบ่อย ๆ
  • หิวน้ำบ่อยและรับประทานจุ เนื่องจากร่างกายขาดพลังงาน จึงทำให้รู้สึกหิวบ่อย และรับประทานจุ
  • น้ำหนักลด ผอมลง อ่อนเพลีย
  • คันตามผิวหนังและอวัยวะสืบพันธุ์

ผู้ที่มีอาการบางอย่างดังกล่าว ควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดให้แน่ใจว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ สำหรับบุคคลทั่วไปก็ควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกปี

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

สาเหตุและโอกาสที่ทำให้เป็นเบาหวาน

เบาหวาน สามารถสืบทอดทางกรรมพันธุ์ได้ นอกจากนี้ ยังพบว่า มีอีกหลายปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดเบาหวานได้หลายประการ เช่น


  • ความอ้วน เนื่องจากในคนอ้วน เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย มีการตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินลดน้อยลง อินซูลินจึงไม่สามารถพาน้ำตาลเข้าไปในเนื้อเยื่อได้ดีเช่นเดิม จึงมีน้ำตาลส่วนเกินอยู่ในกระแสเลือด
  • สูงอายุ ตับอ่อนจะสังเคราะห์และหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลง ในขณะที่ได้รับน้ำตาลเท่าเดิม จึงมีน้ำตาลส่วนเกินในกระแสเลือด
  • ตับอ่อนได้รับความกระทบกระเทือน เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจากการดื่มสุรามากเกินไป หรือ ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจากการดื่มสุราเกินไป หรือ ตับอ่อนบอบช้ำจากการประสบอุบัติเหตุ ซึ่งมีความจำเป็นต้องผ่าตัดเอาตับอ่อนบางส่วนออก สำหรับคนที่มีความโน้มเอียงที่จะเป็นเบาหวานอยู่แล้ว ปัจจัยดังกล่าวนี้จะกล่าวนี้จะเป็นตัวชักนำให้อาการของเบาหวานแสดงออกเร็วขึ้น
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น คางทูมและหัดเยอรมัน เป็นต้น
  • ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนหลายชนิดที่รกสังเคราะห์ขึ้น มีผลยับยั้งการทำงานของอินซูลิน

โรคเบาหวาน

คืออะไร

โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากขาดฮอร์โมนเรียกว่า อินซูลิน ทำให้การเผาผลาญอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลในร่างกายมีน้อยจึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่าง ๆ เมื่อมีน้ำตาลคั่งในเลือดมาก ๆ ก็เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา

อินซูลิน เป็นสารที่สร้างจากตับอ่อน ทำหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติแม้หลังรับประทานอาหาร

มะเร็งเต้านม

เมื่อใดสงสัยเป็นมะเร็ง
  • มะเร็งระยะเริ่มต้น ไม่เจ็บ
  • พบก้อนที่เต้านม
  • ขนาด รูปร่าง และผิวหนังเต้านมเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ มีสะเก็ด หัวนมหดตัว คันแดงผิดปกติ
  • มีเลือด/น้ำออกจากหัวนม
  • รักแร้บวม คลำได้ก้อนต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งเต้านม

ป้องกันอย่างไร
  • เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เคลื่อนไหวออกแรงเป็นประจำ
  • ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา กินอาหารจากไขมันพืช
  • ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใส

มะเร็งเต้านม

ใครเสี่ยง
  • หญิงทุกคน
  • หญิงที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม มีโอกาสเป็นซ้ำ
  • หญิงที่ญาติใกล้ชิด เช่น แม่ พี่สาว เป็นมะเร็งเต้านม
  • หญิงที่กินฮอร์โมนเพศหญิง
  • หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดนาน ๆ

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

โรคตาแดง

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส เกิดขึ้นได้บ่อยโดยเฉพาะในเด็กเล็ก และเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น ก็อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้ตาพิการได้



โรคตาแดงติดต่อกันได้อย่างไร

โรคมักระบาดในกลุ่มคนที่อยู่รวมกันอย่างแออัดโดยอาจแพร่ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับน้ำตา ขี้ตาของผู้ป่วย ส่วนมากมักติดกันทางอ้อมโดย




  • ใช้มือสกปรกที่มีเชื้อโรคขยี้ตา

  • ใช้สิ่งของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา ขันน้ำ และของใช้อื่น ๆ ร่วมกับผู้ที่เป็นโรค

  • แมลงหวี่หรือแมลงวันตอมตา

อาการของโรคตาแดงเป็นอย่างไร


หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าตา ประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง จะมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา มีน้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวจะอักเสบ แดง ซึ่งอาจเริ่มที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน หรือเป็นทั้ง 2 ข้างพร้อมกันก็ได้ อาจมีไข้ต่ำ ๆ หรือครั่นเนื้อครั่นตัว หรืออาการปวดเสียวที่แขนขาด้วย ผู้ป่วยมักจะหายได้เอง ภายใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน


เมื่อเป็นโรคตาแดงควรปฎิบัติตัวอย่างไร

  • เมื่อมีอาการตามที่กล่าวมา ควรรีบไปพบแพทย์ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะชนิดหยอดหรือป้ายตา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย ป้ายตาติดต่อกันประมาณ 7 วัน สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีไข้ ปวดศีรษะก็ใช้ยาลดไข้แก้ปวดตาอาการ ถ้ามีอาการรุนแรงขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์อีกครั้ง
  • ควรพักสายตา ไม่ใช้สายตามากนัก
  • ควรหยุดเรียนหรือหยุดงานประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือจนกว่าอาการตาแดงจะหายเป็นปกติ และไม่ควรไปในที่ชุมชน เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เพราะอาจนำโรคไปแพร่ติดต่อให้ผู้อื่นได้
  • แยกของใช้ส่วนตัวของผู้ป่วย อย่าให้ผู้อื่นใช้รวมด้วย
  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากถูกต้องตาและหมั่นล้างมือบ่อย ๆ

มีวิธีการป้องกันไม่ให้ติดโรคตาแดงไหม

โรคนี้ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่

  • หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ใช่มือที่ไม่ได้ล้างให้สะอาดขยี้ตา
  • เมื่อฝุ่นละอองหรือผงเข้าตา ไม่ขยี้ตาให้ล้างด้วยน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว
  • ไม่ใช้สิ่งของ เช่น แว่นตา ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดมือ หรือถ้วยล้างตา ร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะเมื่อมีโรคตาแดงระบาด ต้องระวังให้มากยิ่งขึ้น
  • ซักเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ฯลฯ ผึ่งแดดให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ในสถานที่ที่คนอยู่ร่วมกันอย่างแออัด ควรจัดหาน้ำสะอาดให้เพียงพอสำหรับการล้างมือ ล้างหน้า และใช้อาบ


วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง



ตรวจทุกเดิอน หลังประจำเดือนหมด 3 - 7 วัน ในสตรีอายุ 20 ปีขึ้นไป




ยืนหน้ากระจก

  • ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย เปรียบเทียบเต้านมทั้งสองว่า มีการบิดเบี้ยวของหัวนม หรือมีสิ่งผิดปกติหรือไม่ และดูว่ามีของเหลวไหลออกมาหรือไม่
  • ยกมือสองข้างเหนือศีรษะ มองด้านหน้าและด้านข้างเต้านม ดูความสมดุลของรูปทรง มองหารอยบุ๋มรอยนูนบนเต้านม
  • วางมือที่เอว เกร็งอก มองหาก้อน ผิวหนังผิดปกติ ดึงรั้ง ก้มมาข้างหน้า ดูตำแหน่งหัวนม ความสมดุลของรูปทรง ดูเต้านมทั้งสองข้างห้อยลงเหมือนที่เคยเห็นหรือไม่

นอนราบ

  • นอนสบาย ๆ ตรวจเต้านมขวา ให้สอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ขวา
  • ยกแขนขวาเหนือศีรษะให้เต้านมแผ่ราบ จะคลำหาก้อนเนื้องอกได้ง่ายขึ้น
  • ใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางมือซ้ายคลำเต้านมขวา ให้วนสามนิ้วมือเป็นวงกลมก้นหอย ไม่ยกนิ้วมือขึ้น คลำเต้านมทั้งหมดจนถึงรักแร้ไหปลาร้า ที่สำคัญไม่ควรบีบหรือขยำเต้านม เพราะอาจเข้าใจผิดว่าเป็นก้อนเนื้องอก
  • ตรวจเต้านมซ้าย ด้วยวิธีเดียวกัน

ท่าขณะอาบน้ำ

  • ถ้าเต้านมเล็ก วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ตรวจบนศีรษะ ใช้ 3 นิ้วมืออีกข้างคลำเต้านม คลำวนเป็นวงกลมก้นหอยเหมือนท่านอนราบ
  • ถ้าเต้านมใหญ่ วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่จะตรวจ ประคอง และตรวจจากด้านล่าง ใช้สามนิ้วมืออีกข้างตรวจคลำจากด้านบน

สามสัมผัส

  1. กดเบาให้รู้สึกบริเวณใต้ผิวหนัง
  2. กดปานกลาง ให้รู้สึกถึงกึ่งกลางเนื้อนม
  3. กดหนัก ให้รู้สึกถึงส่วนลึกเนื้อนมใกล้กระดุกหน้าอก