วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า "สิน" ทรงพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ปีขาล เดือน 7 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1096 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นบุตรของ "นายไหฮอง" และ "นางนกเอี้ยง" ซึ่งพระยาจักรีได้ขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ยังเยาว์เมื่ออายุได้ 9 ปี พระยาจักรีได้นำไปฝากเรียนกับพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส (วัดคลัง) โดยเรียนหนังสือขอมและหนังสือไทยจนจบบริบูรณ์ แล้วจีงเรียนพระไตรปิฏกจนแตกฉาน เมื่ออายุ ครบ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำตัวเด็กชายสิน ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระธรรมราชาธิราชที่ 3 (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) พระองค์ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำราชการกับหลวงศักดิ์นายเวร ซี่งเป็นบุตรของพระยาจักรี เมื่อมีเวลาว่างจะไปเรียนภาษาจีน ภาษาญวนและภาษาแขก จนสามารถพูดภาษาทั้งสามได้อย่างคล่องแคล่ว





เมื่ออายุครบ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดโกษาวาส พระภิกษุสินอยู่ในสมณเพศได้ 3 พรรษา ก็ลาสิกขาและกลับเข้ารับราชการตามเดิม ด้วยความฉลาด รอบรู้ ขนบธรรมเนียม ภารกิจต่าง ๆ เป็นอย่างดี จนสามารถทำงานต่างพระเนตรพระกรรณได้ จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็กรายงานราชการทั้งหลายในกรมมหาดได้และกรมวังศาลหลวง



สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต้องทรงทำสงครามตลอดรัชกาล





ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในนายสินเป็นหลวงยกกระบัตร เมืองตากและเป็นพระยาตากปกครองเมืองตาก ในเวลาต่อมา พ.ศ. 2308 พระยาตากซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ามาช่วยราชการ สงครามต่อสู้กับพม่าในกรุงศรีอยุธยา





มีความดีความชอบมากได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการสำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร แต่ยังหาได้ปกครองเมืองกำแพงเพชรไม่ เพราะต้องต่อสู้กับข้าศึกเพื่อป้องกันพระนคร พระยาตากได้นำไพร่พลมาป้องกันกรุงศรีอยุธยา และก่อนเสียกรุงแก่ทัพหน้า พระยาตากได้นำกำลังคนทั้งไทยก็สามารถขับไล่กองทัพพม่าออกไปจากแผ่นดินไทยได้ในเวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น และทรงปราบดาภิเษกเสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ทรงผนวช เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2324





สมเด็จพระราชตากสิน ทรงสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สิริพระชนมายุได้ 48 พรรษา ทรงครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี ประชาราษฎร์ผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงยกย่องถวายพระเกียรติพระองค์ท่านว่า "มหาราช"

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต้องทรงทำสงครามตลอดรัชกาล เพราะแม้ว่าจะทรงกอบกู้ชาติได้อิสรภาพ แต่ความระส่ำระสายยังแผ่คลุมทั่วแดนไทย ฉะนั้นนับแต่เสวยราชย์เป็นต้นมา พระองค์ต้องต่อสู้แก้ปัญหาความยากจนข้นแค้นซึ่งคุกคามประชาราษฎร์ของพระองค์ด้วยความอดทน ทรงถึงกับเปล่งพระสัจจะวาจาว่า "มาตรแม้นว่ามีเทพยดาองค์ใดสามารถบันดาลให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหารแก่พสกนิกรของพระองค์อย่างอุดมสมบูรณ์เห็นทันแก่พระเนตรแล้ว แม้จะต้องการเครื่องบวงสรวงด้วยการให้ตัดพระกรของพระองค์เป็นเครื่องสักการะก็จะทรงตัดถวายให้โดยพลัน" นั่นเป็นความรักที่พระองค์มีต่อพสกนิกร นอกจากนี้พระองค์ยังต้องปราบปรามผู้ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่ไม่คิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ชุมนุมต่าง ๆ ถึง 6 ชุมนุมที่เข็มแข็ง ทั้งยังต้องปราบด้านเขมร ลาว ญวน จนพระองค์เองจะหาเวลาประทับภายในเศวตฉัตรไม่ได้เลย แต่ก็ทรงบากบันอดทนมิได้เห็นแก่ความสุขส่วนพระองค์เลย พระราชกรณียกิจขณะทรงดำรงตำแหน่งกษัตราธิราชนั้น นอกเหนือจากการทำศึกสงครามแล้ว พระองค์ยังมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน และยังทรงฟื้นฟูสร้างวรรณกรรมนาฏศิลป์ ทรงพระราชนิพนธ์ตำราพิชัยสงคราม คือยุทธศาสตร์ตำราในการใช้อาวุธ พระราชกฎหมายด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ยังทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น