วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

เบาหวานขึ้นจอประสาทตา

เบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็นสาเหตุของตาบอดอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย หากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือแม้แต่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีแต่เป็นโรคเบาหวานอยู่นานก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังเส้นเลือดในจอประสาทตาได้ การมีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในระยะแรก ๆ จะไม่มีผลต่อการมองเห็น แต่อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้สายตามีการเปลี่ยนแปลงมีสายตาสั้นได้ ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่าแว่นที่ใช้อยู่มองเห็นไม่ชัด บางคนอาจไปวัดสายตาเปลี่ยนแว่นซึ่งมักบ่นว่าเปลี่ยนแว่นมาหลายอันแต่มองเห็นไม่ชัดสักอัน หากผู้ป่วยรอจนมีการมองเห็นที่ผิดปกติแล้วจึงมาพบจักษุแพทย์อาจมีความผิดปกติของผนังเส้นเลือดมากแล้ว ซึ่งอาจทำให้การรักษาซับซ้อนมากขึ้น และผลการรักษาอาจไม่ดีเท่าที่ควร หรือในบางกรณีถ้าเป็นมาก ๆ อาจเลยระยะที่สามารถรักษาได้ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีซึ่งในปัจจุบันจะรวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปีซึ่งในปัจจุบันจะรวมถึงการตรวจสุขภาพตาร่วมด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้มีคุณภาพชีวิตและคุณภาพการมองเห็นที่ดีอยู่เสมอไปพร้อม ๆ กัน

การตรวจเช็คสุขภาพตาประจำปี

จักษุแพทย์ตรวจอะไรบ้าง

1. ตรวจโครงสร้างของลูกตาทางด้านหน้า ได้แก่ เยื่อบุตา
2. ตรวจการมองเห็นที่ไกล
3. ตรวจวัดความดันภายในลูกตา
4. ตรวจขั้วประสาทตา
5. ตรวจตาบอดสี

กรณีผู้ป่วยเบาหวานต้องการตรวจเช็คสุขภาพตา

การตรวจจะมีการหยอดขยายม่านตา สำหรับตรวจจอประสาทตาซึ่งจักษุแพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่ามีการเปลี่ยนแปลงของผนังเลือดมากน้อยเพียงใด คือมีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาหรือไม่ หากมีเบาหวานขึ้นจอประสาทตามีที่ระยะใดของโรค ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ระยะคือ

1. Non - proliferative Diabetic Retinopathy (NPD)

เบาหวานขึ้นจอประสาทตาในระยะเวลาเริ่มมีการโป่งพองของผนังเลือดมีโปรตีนรั่วจะผนังเส้นเลือด ซึ่งอาจต้องการหรืออาจไม่ต้องการการรักษาด้วยเลเซอร์ก็ได้ต้องพิจารณาตามความรุนแรงของโรค หากมีการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดในจอประสาทตามากขึ้น Severe NPDR (พิจารณาจากการตรวจพบของจักษุแพทย์) จักษุแพทย์จะพิจารณายิงเลเซอร์จอประสาทตา

2. Proliferative Diabetic Retinopathy (PDR)

เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงของผนังเส้นเลือด มีการโป่งพองของผนังเส้นเลือด มีการโป่งพอของผนังเส้นเลือดและมีโปรตีนจากผนังเส้นเลือด เส้นเลือดมีการโป่งพองมากขึ้น เลือดออกนอกจอประสาทตาและในน้ำวุ้นตา ซึ่งในผู้ป่วยรายหากทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาอาจมีพังผืดยึดจอประสาทตา และมีจอประสาทตาหลุดลอกก็ได้ ในระยะนี้ต้องได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์หรือต้องผ่าตัดรักษา

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยเบาหวานทุกรายต้องได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์แล้ว หากคุมน้ำตาลได้ไม่ดี ก็อาจทำให้การเปลี่ยนแปลงของผนังเส้นเลือดอีก และอาจต้องรับการรักษาด้วยเลเซอร์ ผู้ป่วยที่ยังไม่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างน้อยปีละครั้งหรือตรวจบ่อยขึ้น ตามการนัดจากอายุรแพทย์และจักษุแพทย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย ส่วนผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาหรือได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์หรือการผ่าตัดแล้วต้องได้รับการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอตามการนัดของจักษุแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น