วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ละครคาบูกิ

บทการแสดง







มีการแสดงในละคร "คาบูกิ" อยู่ราว ๆ 300 บท ในจำนวนนี้มีบทแสดงใหม่ ๆ กำลังได้รับการปรับปรุงผนวกเข้าไว้ด้วยในปัจจุบัน โดยความเรียกร้องจากบุคคลผู้สันทัดที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับวงการละคร "คาบูกิ" มาเมื่อเร็ว ๆ นี้ บทการแสดง "คาบูกิ" มักเขียนขึ้นโดยนักเขียนบทละครของคณะละคร "คาบูกิ" เองทั้งสิ้น




มีกลุ่มละครแบบ "โชซา - โกโต" (Shosa - goto) อยู่อีกประเภทหนึ่ง หรือที่เรียกว่ากลุ่ม "ละครรำ" อันเป็นการฟ้อนรำแบบฉบับโดยเฉพาะอีกประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น ในบทละครรำชนิดนี้ตัวละครต้องแสดงบทบาทการรำตามบทร้องและดนตรีตลอดเรื่อง มีละครรำชนิดนี้ตัวละครต้องแสดงบทบาทการรำตามบทร้องและดนตรีตลอดเรื่อง มีละครรำอยู่หลายเรื่องบรรยายเนื้อเรื่องจนจบขณะที่อีกหลายเรื่องคือการแสดงรำเป็นตอน ๆ ละครประเภทนี้ส่วนมากมีต้นแบบการแสดงมาจาก "โนห์" และ "เกียวเงน" ดังเช่นละครรำเรื่อง "ดันจิโช" (Kanjincho) (วิหารบวงสรวง), "มูซึเมะ โดโจจิ" (Musume Dojoji) (วิหารสาวพรหมจารีย์แห่งโดโจจิ), "มิงาวาริ ซาเซน" (Migawari Zazen) (ตัวแทน) และ "ทากาสึกะ" (Takatsuka) (รำสวมเกือกไม้) เป็นต้น




นอกจากนั้น บทละคร "คาบูกิ" ยังอาจแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ จากจุดยืนของเรื่องและต้วแสดงเฉพาะบท




1. ละครประวัติศาสตร์ (Jidai-mono)



ละครประเภทนี้อาศัยข้อเท็จจริงในประวัดิศาสตร์เป็นหลัก หรือถือเอาเรื่องราวเกี่ยวกับนักรบหรือหรือขุนน้ำขุนนางเป็นต้น โดยหลายเรื่องเป็นเรื่องโศกนาฏกรรมหนัก ๆ แทรกบทตลกขบขันไว้บ้าง เพื่อผ่อนคลายความหนักอึ้งของเรื่อง เนื้อเรื่องที่ดัดแปลงมาจากละครหุ่นกระบอกก็มีมาก และมักจะกำหนดให้ตัวเอกของเรื่องทำการเสียสละสูงสุด เช่นเรื่อง "ชูชินงุระ" (Chushingura) ซึ่งเป็นละคร "คาบูกิ" ที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องหนึ่งที่ดัดแปลงมากจาก "บุนระกุ" เป็นเรื่องแสดงถึงเกียรติคุณของอัศวินขาดเจ้า 47 คนที่ช่วยกันวางแผนเป็นเวลาหลายปีเพื่อต่อสู้แก้แค้นแทนเจ้านายของตนผู้ถูกบังคับให้สละตำแหน่ง ตามบทบาทในท้องเรื่องนี้คนทั้ง 47 ถึงกับยอมฆ่าตัวตาย





2. ละครพื้นบ้าน (Sewe - mono)



ละครประเภทนี้แสดงให้เห็นสภาพชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ของสามัญชนคนธรรมดา ตัวอย่างของเรื่องทำนองนี้ที่เด่นมี อาทิเช่นเรื่อง "คาโงทสีรูเบะ" (The Courtesan) และ "ทสีโบซากา - เดระ" (Miracle at Tsubosaka) ละครพื้นบ้านนั้นถือเอาสัจจะนิยายเป็นพื้น จึงมักไม่ใคร่มีบทบาทให้ตัวละครแสดงความเก่งกล้าสามารถเกินมนุษย์ ความสำคัญของละครประเภทนี้จึงขึ้นอยู่กับบทบาทการเจรจาและสีสันของตัวละคร มากกว่าจะเน้นหนักไปในด้านการแสดงกำลังภายในของตัวละคร ที่หมายถึงความเก่งกล้าสามารถตามท้องเรื่อง





ละครคาบูกิ ตามหลักต้นตำรานั้นอาจแยกออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้


1) บทละครที่ปรับปรุงมาจากละคร "โนห์" และ "เกียวเงน"

มีการปรับปรุงแบบอย่างการฟ้อนรำตลกจากละครเกียวเงนเข้ามารวมอยู่ด้วย เช่น บทละครรำเรื่อง "มิงาวาริ ซาเซน" (Migawari Zazen) ละครรำที่มีลักษณะจริงจังมากกว่า เช่น "คันจินโซ" (Kanjincho) และ "มุซึเมะ โดโจจิ" ก็ปรับปรุงมาจากละคร โนห์ คุณลักษณะเหล่านี้ได้รับการแก้ไขปรับปรุงขึ้นมาใหม่ให้มีลักษณะงดงามอ่อนช้อยและโอ่อ่าสะท้อนให้เห็นบรรยากาศอันภูมิฐานของต้นตำรับได้เป็นอย่างดี ฉากของละครจำพวกนี้หลายเรื่องได้รับการปรับปรุงมาจากฉากละคร โนห์ โดยตรง กอปรไปด้วยแผ่นภาพเป็นภูมิหลังเพียงแผ่นเดียวเป็นภาพต้นสนเก่าแก่ต้นหนึ่ง กับฉากด้านข้างสองด้านเป็นรูปกอไผ่เท่านั้น

2) บทละครที่ปรับปรุงมาจากละครหุ่นกระบอก

บทละครประเภทนี้ส่วนใหญ่ลอกแบบมาจากต้นตำหรับแทบทั้งดุ้น เพื่อรักษาแบบฉบับละครหุ่นกระบอกไว้ กล่าวคิอให้นักร้องกับผู้ช่วยเป็นผู้ร้องคำบรรยายเรื่องโดยจะนั่งบนยกพื้นด้านขวาเวที แบบเดียวกับละครหุ่นกระบอก แต่บทเจรจานั้นตัวละครจะกล่าวเองโดยมอบการพรรณาเรื่องให้เป็นหน้าที่ของคนร้อง ละครจำพวกนี้ก็มีอาทิเช่นเรื่อง "ชูชินกูระ" (Chushingura) และ "ทสึโบซากา - เดระ" (Tsubosaka - Dera) เป็นต้น

3) บทละคร "คาบูกิ" โดยเฉพาะ

บทละครจำพวกนี้เขียนขึ้นมาสำหรับ "คาบูกิ" โดยเฉพาะ ผลงานชั้นเยี่ยมในบรรดาละครแบบนี้มีอยู่จำนวนหนึ่งที่ยอมรับนับถือกันมาก เช่นเรื่อง "คาโงทสึรูเบ"






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น