วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ละครคาบูกิ

3. ธาตุแท้ทางหลักแห่งความงาม














1) แบบแผนการแสดง









โดยเหตุที่ความงามตามแบบแผนคือศิลปพื้นฐานของหลักแห่งความงามที่สำคัญประการหนึ่งของละคร "คาบูกิ" ดังนั้น จึงต้องแสดงออกมาทางบทบาทมากที่สุด - จึงจะถือเห็นหัวใจสำคัญของละคร "คาบูกิ" ที่จะรับบทในเรื่องที่เป็นอมตะจึงจำเป็นต้องมีการค้นคว้าศึกษาแบบแผนการแสดงที่สมบูรณ์แบบจากนักแสดงรุ่นก่อน ๆ ไว้ด้วยตั้งแต่แรก แบบของแนวการแสดงดังกล่าวนี้ ถึงแม้ในแรกเริ่มกำหนดไว้สำหรับการแสดงละครแนวสัจจะนิยาย ก็ยังถือเป็นแบบแผนชั้นสูงและยอมรับนับถือว่าเป็นสัญญลักษณ์ของการพัฒนาละครคาบูกิ อย่างหนึ่ง แม้แต่ในละครสัจจะ นิยายคาบูกิ เอง ข้อสังเกตเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มักจะพบบ่อย ๆ ก็คือเน้นการแสดงบท "ฟ้อนรำ" ไว้มากกว่า "บทบาท"การออกท่าออกทางทุกอิริยาบถตามบทบาทของตัวละครนั้นอาศัยประกอบด้วยทั้งสิ้น มีหลายกรณีที่สัญญลักขณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องแสดงให้เห็นความขัดแย้งกัน ดังนั้น แบบแผนของบทบาทตัวละครจึงไม่ให้แสดงกันนานนักเพื่อมิให้ขัดกับบทบาทในท้องเรื่องจนเห็นได้ชัด







เทคนิคเฉพาะในละคร "คาบูกิ" อย่าง "มิเอะ" (Mie) เกือบจะถือเป็นเครื่องรักษาแบบแผนหลักทางความงามของละครนี้ "มิเอะ" นี้ถูกจัดไว้ในตอนที่สำคัญของเรื่องโดยเฉพาะ หรือในตอนใกล้จบการแสดงเรื่อง อะตมโดยดาราเอกที่ทางการละครนำภาพบทบาทของเขาออกโฆษณา บทบาทเช่นนี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง ละครคาบูกิ นิยมจัดขึ้นเพื่อแสดงถึงขึดความสำคัญทางความงามของการแสดง







แบบแผนนี้ยังแสดงลักษณะประจำตัวทางความสามารถในบทเจรจาของตัวละครคาบูกิ อีกด้วย แม้ในการแสดงเรื่องประเภทสัจจะนิยายพื้นบ้าน บทเจรจาก็หาได้กำหนดให้พูดกันตามธรรมดาในท้องเรื่องไม่ แต่เป็นบทพูดแบบนิยายโดยเฉพาะ บทเจรจาใน "คาบูกิ" เฉพาะอย่างยิ่งบทเจรจายาว ๆ มักเป็นบทร้อยกรองกึ่งร้องกึ่งเจรจาที่มีศิลปการกวีผสมผสานอย่างน่าประทับใจอยู่ด้วย ยิ่งกว่านี้ยังมีอยู่บ่อย ๆ ที่ละครคาบูกิประเภทนี้มีดนตรีบรรเลงประกอบบทเจรจาเดี่ยวของตัวละครไปด้วย ซึ่งปรากฎว่าได้รับความนิยม ทำให้การแสดงบนเวทีมีลักษณะกลมกลืนเป็นลีลาตามบทกลอนได้อย่างสนิทโดยอาศัยบทบาทการเคลื่อนไหว การออกท่าออกทางให้เข้าจังหวะกับบทเจรจากึ่งเพลงผสมดนตรีที่แสดงออกในรูปแบบของการฟ้อนรำอีกแนวหนึ่ง











2) หลักการเล่นสี








รูปแบบแห่งความงามในการแสดงออกซึ่งลักษณะพื้นฐานเฉพาะของละคร "คาบูกิ" ยังมีอีกหลายอย่าง ได้แก่ ฉาก เครื่องแต่งตัว และการแต่งหน้าของตัวละคร "คาบูกิ" เป็นที่ยอมรับจากผู้ชมโดยทั่ว ๆ ไปว่าเป็นการตกแต่งที่สิ้นเปลืองและโอ่อ่าหรูหราที่สุดในโลก อาจกล่าวได้ว่าความมีชื่อเสียงโด่งดังของ "คาบูกิ" ทุกวันนี้ขึ้นอยู่กับการแสดงออกทางภาพแห่งความงามเหล่านี้เป็นใหญ่ ทั้งนี้เพราะได้อาศัยการเล่นสีสวยสดประกอบภาพน่าทัศนาที่ชวนให้ทึ่งอย่างมโหฬารนี้เอง ที่สามารถตรึงความสนใจของผู้ดูอย่างเต็มที่ แม้ว่าไม่ชื่นชมกับความสนุกสนานของท้องเรื่อง



3) หลักการให้เสียงประกอบ



ดังได้กล่าวไว้แต่ต้นแล้วว่า ดนตรีก็เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในศิลปการละคร "คาบูกิ" แม้จะใช้เครื่องดนตรีหลายชนิดบรรเลง แต่ก็จะต้องให้ได้จังหวะเหมาะสมกับบทร้องและแสดงเอกลักษณะของมันไปในตัวด้วย เครื่องดนตรีหลักชนิดหนึ่งได้แก่ซอสามสาย เครื่องดนตรีคล้านพิณบาลาไลก้าที่ต้องดีดด้วยงาช้างหรือแผ่นโลหะที่เรียกกันพื้น ๆ ว่า "ชามิเซน" (Shamisen) สรุปแล้ววงดนตรีที่ใช้เล่นประกอบละคร คาบูกิ เรียกันว่า ดนตรีชามิเซน

ตามแบบละครประวัติศาสตร์หรือตามแบบละครพื้นบ้านนั้น ขณะที่เปิดม่านเผยให้เห็นฉาก ๆ หนึ่งนั้น ดนตรีก็จะเริ่มบรรเลงไปด้วยทันที เพื่อเร้าให้ผู้ชมเกิดความทึ่งในบรรยากาศบนเวทีตั้งแต่แรกเมื่อยังไม่มีตัวละครใด ๆ ปรากฏตัวกันเลยทีเดียว จะมีการจัดให้นักดนตรีนั่งอยู่ในหลืบฉากมุมซ้ายของเวทีไม่ให้คนดูเห็น เพลงที่เล่นเป็นเพลงโหมโรงสำหรับเรื่องนั่น ๆ ไปด้วย ในกรณีที่เป็นละครรำ เขาจะจัดที่ตั้งวงดนตรีออกโชว์ฝีมือให้คนดูเห็นกันทั่ว ๆ บนเวทีด้วย และการบรรเลงก็ต้องให้สอดคล้องกับลีลาการแสดงยิ่งขึ้น

ดนตรี "คาบูกิ" กอปรไปด้วยเพลงแบบต่าง ๆ ราว ๆ สิบกว่าประเภท ซึ่งต่างครูก็ต่างหลักกันที่นิยมเล่นกันมากที่สุดในปัจจุบันได้แก่ เพลง "นางาอุตะ" (nagauta), "โตกิวาซึ" (tokiwazu), "คิโยโมโต" (kiyomoto) และ "กิดายุ" (gidayu) เพลงหลังนี้มักนิยมใช้เล่นในละครที่ปรับปรุงมาจากหุ่นกระบอก

นอกจากความสำคัญของดนตรีแล้ว ละคร "คาบูกิ" ยังมีคุณลักษณะพิเศษด้านความละเมียดละไมในการจัดระดับเสียงอีกหลายชนิดนับไม่ถ้วนด้วย ที่สำคัญและเป็นจุดเด่นที่สุดคือเสียง "กลับ" ที่ใช้เป็นจังหวะบอกสัญญาณการเปิดและปิดฉาก ซึ่งกำหนดให้ดังเป็นจังหวะซ้ำ ๆ ขาดเป็นห้วง ๆ กลับไม้นี้ยังใช้เป็นสัญญาณเสียงบอกจังหวะประกอบลีลาการแสดงด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น